สถานศึกษา...จะรับมืออย่างไร กับการประเมินคุณภาพรอบสี่
ข้อมูลที่มา อธิวรรธน์
พยอมใหม่
สถานศึกษาทุกระดับ
ทุกประเภทต้องเข้าสู่โหมดการประเมินคุณภาพสถานศึกษารอบสี่อย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะกฎหมายบังคับไว้ สถานศึกษาจะต้องเตรียมตัวกันอย่างไร... บอก ณ จุดนี้เลยว่าแทบจะไม่ต้องเตรียมอะไรใหม่เลย...หากสถานศึกษามั่นใจว่าระบบการประกันคุณภาพภายในของท่านปฏิบัติได้อย่างครอบคลุม
ครบถ้วน ถูกต้อง เป็นไปตามระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ทางสถานศึกษากำหนดไว้...
แต่มีข้อสังเกตจากกฎกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
2561 ล่าสุด ...กำหนดให้สถานศึกษาจัดทามาตรฐาน
ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด ตามบริบทของสถานศึกษาเอง... นี่คือ เรื่องท้าทาย
... และในระบบการประเมินภายนอกจาก สมศ. ก็จะเข้าไปตรวจเยี่ยมสถานศึกษา โดยไม่มีมาตรฐานในมือเข้าไปหาท่าน จะมีก็แต่เกณฑ์พิจารณา
4 มิติ 5 ระดับคุณภาพ เพื่อยืนยันสภาพจริงของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
เพื่อยืนยันระบบการประกันคุณภาพภายในของท่านว่า มีระบบ มีความเหมาะสม มีความน่าเชื่อถือได้
มีพัฒนาการหรือไม่ อย่างไร สถานศึกษามีอะไรบ้างที่เป็นนวัตกรรม หรือเป็นแบบอย่างที่ดีบ้าง
ไม่มีการรับรองมาตรฐาน แต่เป็นการสะท้อนระดับคุณภาพเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
และยั่งยืน
ดังนั้น
สถานศึกษาจะต้องเตรียมสำรวจตัวเองว่ามีสิ่งเหล่านี้ ครบถ้วน ครอบคลุม มากน้อยเพียงไร
1.
คู่มือหรือแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1) มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด อันเป็นเป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามบริบทของตนเอง
2) ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพ 3) เครื่องมือประกอบการประเมิน
เป็นต้น
2. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ที่สอดคล้อง สะท้อนเป้าหมายตามมาตรฐานของสถานศึกษา ตอบสนองนโยบายภาครัฐ
ต้นสังกัด
3. แผนปฏิบัติการประจำปี
และแผนงบประมาณประจาปี ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
โครงการ / กิจกรรม ในแผนปฏิบัติการมีเป้าหมายชัดเจนตรง หรือสอดคล้องกับมาตรฐาน
ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบในโครงการ / กิจกรรม การจัดสรรงบประมาณ
มีความเหมาะสม เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
4. สถานศึกษาวางระบบบริหารจัดการภายในสถานศึกษาเป็นไปตามหลักการประกันคุณภาพภายใน เป็นระบบหรือไม่อย่างไร
( ดำเนินงานบริหารจัดการด้วยหลักการควบคุบตรวจสอบคุณภาพ P D
C A )
5. ผลการดาเนินงานตามแผน
โครงการ / กิจกรรม มีผลสาเร็จบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องอยู่ในระดับใด ซึ่งเป็นการแสดงถึงการดาเนินงานที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา
และสถานศึกษาได้ใช้ผลการดาเนินงานนี้เป็นประโยชน์ต่อการประกันคุณภาพภายในอย่างไรบ้าง
6. การดาเนินงานมีประสิทธิภาพเพียงใด สถานศึกษามีการดาเนินงาน ติดตามตรวจสอบ มีผลการดาเนินงาน เป็นไปตามแผนงาน
โครงการ / กิจกรรม การใช้งบประมาณ ( ตามปฏิทินการปฏิบัติงาน
)
7. การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ครอบคลุมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้เสีย
ทั้งด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ หรือไม่ อย่างไร
8.
การรายงานผลการประเมินภายในประจาปี มีความเหมาะสม
เป็นไปได้ มีระบบ มีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิผล มีพัฒนาการ สอดคล้อง
ครอบคลุม
ถูกต้อง ตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัดในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจาปี
แผนงบประมาณประจาปี รวมทั้งระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด