แผนการจัดการเรียนรู้
กศน.อำเภอระโนด
รายวิชา ภาษาไทย พท 31001 (5 หน่วยกิต) ระดับ ม.ปลาย ภาคเรียนที่ 1/2561
วันที่ ..........................
(6 ชั่วโมง)
ครั้งที่
|
เนื้อหาวิชา (ชม.)
|
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
|
กิจกรรมการเรียนรู้
|
สื่อการเรียนรู้
|
วัดผลประเมินผล
|
|
1
|
การฟัง การดู
1. หลักการฟัง และดู
2. สรุปความ
จับประเด็นใจความสำคัญของเรื่อง
ที่ฟังและดู
3. การวิเคราะห์ข้อเท็จจริง
ข้อคิดเห็นและสรุปความ
4. มารยาทในการฟังและดู
|
1. เห็นคุณค่าของสื่อในการฟังและดู
2. วิจารณ์ความสมเหตุสมผล
การลำดับความและความเป็นไปได้ของเรื่องที่ฟังและดู
3. นำเสนอความรู้
ความคิดเห็นที่ได้จากการฟังและดู
4. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาท
ในการฟังและดู
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
google classroom
|
-คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
-การตอบคำถาม
-การอภิปรายกลุ่ม
-การตอบคำถาม
|
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
(60 นาที)
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักศึกษาทราบ
สอนการใช้ google classroom และนำนักศึกษาเข้าร่วม
2. ครูให้ผู้เรียนทดสอบก่อนเรียน
3. ครูสอบถามผู้เรียนเรื่องความรู้พื้นฐานหลักการใช้ภาษาไทย
4. ครูยกตัวอย่างบทความภาษาไทยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ว่าบทความร่วมกับครู
5.
ครูซักถามนักศึกษาเพื่อเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจจากคำถามที่ครูกำหนด เช่น
- การดูภาพยนตร์มีจุดมุ่งหมายอย่างไร
- การดูป้ายโฆษณาขณะนั่งรถโดยสาร จัดเป็นการดูประเภทใด เพราะเหตุใด
- การจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังหรือดูมีความจำเป็นหรือไม่ เพราะเหตุใด
- การดูโดยมีข้อมูลล่วงหน้าก่อน มีประโยชน์ต่อผู้ดูอย่างไร
- หากมีข้อสงสัยขณะที่ฟังการบรรยายควรปฏิบัติอย่างไร
ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้ (180 นาที)
1. ครูให้นักศึกษารวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 6 คน เมื่อรวมกลุ่มกันแล้วให้เข้าแถวตอนลึกโดยสมาชิกในกลุ่มจะต้องยืนห่างกัน 1 ช่วงแขน
2. ให้ตัวแทนที่ยืนอยู่หัวแถวของแต่ละกลุ่มออกมาอ่านข้อความในแถบประโยคที่ครูกำหนดให้ แล้วกลับไปกระซิบบอกคนที่ 2 แล้วคนที่ 2 กระซิบบอกข้อความกับคนที่ 3 ต่อๆ ไปจนถึงคนที่ 6 โดยคนที่ 6 ของแต่ละกลุ่มออกมายืนหน้าชั้นเรียน แล้วเขียนข้อความที่ได้ยินลงบนกระดาน 3. ครูเฉลยข้อความที่ถูกต้องในแถบประโยคบนกระดาน แล้วให้นักศึกษาอ่านออกเสียงพร้อมกัน ตัวอย่างประโยค หาดทรายขาวสะอาดตากับผืนฟ้าสีน้ำเงิน คุณย่ากับคุณหญิงใหญ่ฝากผ้าไหมมาให้ใช้ กล้วยตานีหวีใหญ่ขึ้นอยู่ใกล้ข้างฝาบ้าน 4. ครูชมเชยกลุ่มนักศึกษาที่ตอบได้ถูกต้องและสอบถามถึงสาเหตุหรือข้อผิดพลาดของกลุ่มที่ตอบผิดว่าเกิดจากอะไร เช่น กระซิบด้วยเสียงที่เบา พูดเร็วจนเกินไป ออกเสียงผิด หรือเพี้ยน ตื่นเต้น เป็นต้น 5. ครูและนักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อผิดพลาดในการร่วมกิจกรรม 6. ครูช่วยชี้แนะให้นักศึกษาเห็นว่าการฟัง การพูดเป็นการส่ง-รับสารที่มีความสำคัญ ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับทักษะการพูดและการฟัง รวมทั้งทักษะอื่นๆ ด้วย
7.ครูเปิด VDO แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ให้ผู้เรียนวิเคราะห์เป็นรายกลุ่มจากสื่อในหัวข้อ
ได้แนวคิดเรื่องอะไรบ้าง , ให้ยกตัวอย่างประกอบ
แล้วส่งตัวแทนอภิปรายหน้าชั้นเรียน และครูเพิ่มเติมเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
8. ครูให้นักศึกษาศึกษาความรู้เรื่อง
การสื่อสารจากการฟังและการดู จากหนังสือเรียน/ใบความรู้
9. ให้นักศึกษาสรุปสาระสำคัญลงในสมุดบันทึก แล้วให้นักศึกษาช่วยกันยกตัวอย่างสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด
10. ครูสุ่มเรียกนักศึกษา
ออกมาร่วมกันตรวจความความถูกต้องของตัวอย่าง
11. ครูอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจว่า การฟัง และการดูเป็นทักษะการรับสารที่มีจุดมุ่งหมาย
คือ ผู้รับสารจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการรับสารนั้นๆ
12. ครูเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามข้อสงสัย
13. ครูมอบหมายให้นักศึกษาทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง สาระจากสื่อ
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
(120 นาที)
1 ครูอธิบายให้ผู้เรียนนำความรู้ประยุกต์ใช้ในการการฟังการดูสื่อในชีวิตประจำวัน
3. ครูให้ผู้เรียนบันทึกจากการรับชมสื่อส่งครูในสัปดาห์ถัดไป
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้
1.โดยใช้ google classroom 10 คะแนน
2. การอภิปรายกลุ่ม 10 คะแนน
3. การมาพบกลุ่ม 10 คะแนน
|
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
1. นักศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้
2. นักศึกษาทำทดสอบก่อนเรียน
3. นักศึกษาตอบคำถามครูเรื่องความรู้พื้นฐานหลักการใช้ภาษาไทย
4. นักศึกษาวิเคราะห์บทความร่วมกับครู
5. นักศึกษาตอบคำถามที่ครูกำหนด
ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้
1. นักศึกษาแบ่งกลุ่มที่ครูกำหนด
2. ตัวแทนที่ยืนอยู่หัวแถวของแต่ละกลุ่มออกมาอ่านข้อความในแถบประโยคที่ครูกำหนดให้ แล้วกลับไปกระซิบบอกคนที่ 2 แล้วคนที่ 2 กระซิบบอกข้อความกับคนที่ 3 ต่อๆ ไปจนถึงคนที่ 6 โดยคนที่ 6 ของแต่ละกลุ่มออกมายืนหน้าชั้นเรียน แล้วเขียนข้อความที่ได้ยินลงบนกระดาน 3. นักศึกษาอ่านออกเสียงพร้อมกันตามครู 4. นักศึกษาและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อผิดพลาดในการร่วมกิจกรรม 5.นักศึกษาชม VDOแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
6. นักศึกษาวิเคราะห์เป็นรายกลุ่มจากสื่อแล้วส่งตัวแทนอภิปรายหน้าชั้นเรียน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้
7. นักศึกษาศึกษาความรู้เรื่อง
การสื่อสารจากการฟังและการดู จากหนังสือเรียน/ใบความรู้
8. นักศึกษาสรุปสาระสำคัญลงในสมุดบันทึก แล้วให้นักศึกษาช่วยกันยกตัวอย่างสถานการณ์การสื่อสารที่ครูกำหนด
9.
นักศึกษาตอบคำถามส่งให้ครูประเมินความรู้ความเข้าใจและซักถามข้อสงสัย
10. นักศึกษาทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง สาระจากสื่อ
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
1 ผู้เรียนนำความรู้ประยุกต์ใช้ในการการฟังการดูสื่อในชีวิตประจำวัน
2. ผู้เรียนบันทึกจากการรับชมสื่อส่งครูในสัปดาห์ถัดไป
|
แผนการจัดการเรียนรู้
กศน.อำเภอระโนด
รายวิชา ภาษาไทย พท 31001 (5 หน่วยกิต)ระดับ ม.ปลาย ภาคเรียนที่ 1/2561
วันที่ ..........................
(6 ชั่วโมง)
ครั้งที่
|
เนื้อหาวิชา (ชม.)
|
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
|
กิจกรรมการเรียนรู้
|
สื่อการเรียนรู้
|
วัดผลประเมินผล
|
|
2
|
การอ่าน
1. หลักการตีความ
แปลความและขยายความ
2.
การอ่านบทประพันธ์ที่ไพเราะทั้งร้อยแก้ว
ร้อยกรอง
3. การอ่านวรรคตอนในวรรณคดี
จากเรื่อง
ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา
นิทานเวตาล นิราศ พระบาท นิราศภูเขา
ทอง ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
มัทนพาธา พระมหาชนก
(ทศชาติชาดก)
|
1. ตีความ แปลความ
และขยายความเรื่องที่อ่าน
2. วิเคราะห์
วิจารณ์ความสมเหตุสมผลการลำดับความคิด และความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน
3. อธิบายความหมายของภาษาถิ่น
สำนวน สุภาษิตที่ปรากฏในวรรณคดี
วรรณกรรมปัจจุบัน วรรณกรรมท้องถิ่น
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
-VDO
-ใบความรู้
-แบบเรียน
-ใบความรู้การอ่าน
-ใบงาน การอ่าน
-นิทานทำไมช้างถึงตาเล็กและเสือถึงมีลาย
-กระดาษปรู๊ฟ
-บทวรรคตอนจากวรรณคดีไทย
|
-การตอบข้อซักถาม
-การอภิปราย
-การวิเคราะห์นิทาน
-การแต่งบทความ นิทาน
|
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
(60 นาที)
1.ครูและนักศึกษาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับการอ่านประเภทต่างๆเช่น
การอ่านนวนิยาย การอ่านบทความ การอ่านคำประพันธ์
2.ครูให้นักศึกษาดูตัวอย่างการอ่านวรรณกรรมจากVDO
3.ครูแนะนำการอ่านที่ถูกต้องและรวบรวมปัญหาต่างๆที่พบจากการอ่านในชีวิตประจำวันโดยเปิดสื่อVDO
ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้ (180 นาที)
๑ ครูสนทนากับนักศึกษาเกี่ยวกับนิทาน ว่ามีเรื่องใดที่น่าสนใจบ้างและนิทานเรื่องใด ที่นักศึกษาชอบ ให้นักศึกษาแต่ละคนแสดงความคิดเห็นของตนเอง
๒ ครูอธิบายวิธีการอ่านนิทานเกี่ยวกับวิธีสังเกตและวิธีคิดให้นักศึกษาเข้าใจ
๓ ครูโยงเข้าสู่เนื้อหาการอ่านเชิงวิเคราะห์จากนิทาน เรื่อง “ทำไมช้างถึงตาเล็กและเสือถึงมีลาย”
4 ครูเตรียมใบความรู้ให้นักศึกษา
5 แบ่งนักศึกษาออกเป็น ๑๐ กลุ่ม ๆ ละ ๔ คน โดยคละความสามารถทั้งคนเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน
6 ให้นักศึกษาอ่านจากเนื้อหาที่กำหนดให้ เริ่มจากการอ่านคร่าวๆ
โดยตลอดก่อน แล้วอ่านโดยละเอียดอีกรอบ และอ่านซ้ำในเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ
7 ครูให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดวิเคราะห์จำแนก และจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และเป็นผลอย่างไร
8 ครูให้นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหาจากนิทาน เรื่อง
ทำไมช้างถึงตาเล็กและเสือถึงมีลาย แล้วสรุปเรื่องโดยเขียนเป็นแผนผังความคิดลงบนกระดาษปรู๊ฟ
9.ให้นักศึกษาส่งตัวแทนอภิปราย
10.ครูและผู้เรียนแลกเปลี่ยนความรู้
และอภิปรายสรุปร่วมกัน
11.ครูให้ผู้เรียนแต่ละคนแต่งนิทานขึ้นเองพร้อมวาดภาพประกอบให้สวยงามและอ่านเป็นภาษาถิ่นของตัวผู้เรียนเอง
12.ครูและผู้เรียนแลกเปลี่ยนความรู้
และอภิปรายสรุปร่วมกัน
13.ครูสรุปถึงวิธีการอ่านกับผู้อีกครั้งพร้อมกับแจกใบงานการอ่าน
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
(120 นาที)
1.ครูยกตัวอย่างนิราชภูเขาทองให้นักศึกษาดูและอ่านพร้อมๆกันละช่วยกันแปลงเป็นร้อยแก้ว
2.ครูแจกบทวรรคตอนจากวรรณคดีให้แต่ละกลุ่มแล้วถอดเป็นรอยแก้วและอ่านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
3.ครูให้ผู้เรียนค้นคว้าวรรณคดีไทย ๑ เรื่อง เช่น
ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา
นิทานเวตาล นิราศ พระบาท นิราศภูเขา
ทอง ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
มัทนพาธา พระมหาชนก (ทศชาติชาดก)
เพื่อมาเรียนรู้ในการพบกลุ่มครั้งถัดไป
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้
1.ประเมินการวิเคราะห์จาก
1.การอ่านบทความใน google classroom 10 คะแนน
2.กิจกรรมกลุ่ม 10 คะแนน
3.ใบงาน 10 คะแนน
4.การมาพบกลุ่ม 10 คะแนน
|
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
1.นักศึกษาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับการอ่านประเภทต่างๆ
2.นักศึกษาดูตัวอย่างการอ่านวรรณกรรมจากVDO
3.ครูแนะนำการอ่านที่ถูกต้องและรวบรวมปัญหาต่างๆที่พบจากการอ่านในชีวิตประจำวันโดยเปิดสื่อ VDO
ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้
๑ นักศึกษาร่วมสนทนาเกี่ยวกับนิทาน
ว่ามีเรื่องใดที่น่าสนใจบ้างและนิทานเรื่องใด
๒.นักศึกษารับใบความรู้
๓.นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ ๔ คน
๔.
นักศึกษาอ่านจากเนื้อหาที่กำหนดให้
๕.
นักศึกษาช่วยกันคิดวิเคราะห์จำแนก และจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และเป็นผลอย่างไร
๖. นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหาจากนิทาน เรื่อง
ทำไมช้างถึงตาเล็กและเสือถึงมีลาย แล้วสรุปเรื่องโดยเขียนเป็นแผนผังความคิดลงบนกระดาษปรู๊ฟ
๗.นักศึกษาส่งตัวแทนอภิปราย
๘.นักศึกษาแต่งนิทานขึ้นเองพร้อมวาดภาพประกอบให้สวยงามและอ่านเป็นภาษาถิ่นของตัวผู้เรียนเอง
๙.ครูและผู้เรียนแลกเปลี่ยนความรู้ และอภิปรายสรุปร่วมกัน
10.ครูสรุปถึงวิธีการอ่านกับผู้อีกครั้งพร้อมกับแจกใบงานการอ่าน
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
1.นักศึกษาดูตัวอย่างนิราชภูเขาทองและอ่านพร้อมๆกันละช่วยกันแปลงเป็นร้อยแก้ว
2.นักศึกษารับบทวรรคตอนจากวรรณคดีให้แต่ละกลุ่มแล้วถอดเป็นรอยแก้วและอ่านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
3.นักศึกษาค้นคว้านวรรณคดีไทย ๑ เรื่อง เช่น
ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา
นิทานเวตาล นิราศ พระบาท นิราศภูเขา
ทอง ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
มัทนพาธา พระมหาชนก (ทศชาติชาดก)
เพื่อมาเรียนรู้ในการพบกลุ่มครั้งถัดไป
|
แผนการจัดการเรียนรู้
กศน.อำเภอระโนด
รายวิชา ภาษาไทย พท 31001 (5 หน่วยกิจ)ระดับ ม.ปลาย ภาคเรียนที่ 1/2561
วันที่ ..........................
(6 ชั่วโมง)
ครั้งที่
|
เนื้อหาวิชา (ชม.)
|
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
|
กิจกรรมการเรียนรู้
|
สื่อการเรียนรู้
|
วัดผลประเมินผล
|
|
3
|
หลักภาษา
1. ธรรมชาติของภาษา
2. การใช้ถ้อยคำ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
3.โครงสร้างของประโยค รูปประโยค และชนิดของประโยค
4. ระดับภาษา
5. คำสุภาพ
6. การแต่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง
|
1. อธิบายธรรมชาติของภาษา
และใช้ประโยคตามเจตนา
ของการสื่อสาร
2. เลือกใช้ถ้อยคำ สำนวน
สุภาษิต คำพังเพยให้
ตรงความหมาย
3. ใช้ประโยคได้ถูกต้อง
ตามเจตนาของผู้ส่งสาร
4. แต่งคำประพันธ์ประเภท
ร้อยกรอง
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
-คำขวัญวันเด็ก
-วรรณกรรม
-บัตรคำการต่อประโยค
-บัตรคำรูปภาพการแต่งประโยค
-ใบงานหลักภาษา
-บัตรคำสุภาษิต คำพังเพย
-แบบเรียน
-ใบงานบทร้อยแก้ว
-บัตรอวยพรปีใหม่
|
-การตอบข้อซักถาม
-การอภิปราย
-การวิเคราะห์รูปภาพ
-การแต่งประโยค
-การเขียนแต่งคำปะพันธ์ประเภทร้อยแก้ว
|
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
(60 นาที)
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักศึกษาทราบ
2. ครูและนักศึกษาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับกลักภาษา
3. ครูให้นักศึกษาอ่านประโยค
ที่ประกอบไปด้วยคำภาษาไทย ภาษาเขมร ภาษาบาลีสันสกฤต ให้นักเรียนสังเกตว่า คำใดเป็นคำไทย
และคำใดเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น
ประโยคที่ 1 บุปผาและบุษบาเปิดสมาคมพุทธศาสนานานาทัศนะ ให้สมาชิกปฏิบัติธรรมเสาร์อาทิตย์
ประโยคที่ 2 พ่อกับแม่ทำไร่เลื่อนลอยอยู่ชานเมือง
ลูกชายก็ถีบสามล้อพอมีพอกินไปวันๆ
ประโยคที่ 3 สมเด็จผกามาศเสวยสลาน่าสนุก เสด็จประทับบนตำหนัก นางอัปสรมีระเบียบ 4. นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่าเหตุใดจึงคิดว่าแถบประโยคที่ 2เป็นคำไทยสังเกตจากลักษณะใด 5. ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน เรื่องลักษณะของภาษาไทย
6.
ครูยกตัวอย่างคำขวัญวันเด็กปี2558
ให้ผู้เรียนอ่านพร้อมๆกันแล้ววิเคราะห์ถึงความหมาย
ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้ (180 นาที)
1..ครูเชื่อมโยงถึงวรรณกรรมจากงานครั้งก่อนแล้วให้ผู้เรียนค้นคว้าแล้วให้ยกบทข้อความที่ชอบหนึ่งหัวข้อแลกเปลี่ยนความรู้
2.ครูอธิบายเรื่องโครงสร้างประโยค,ข้อความสั้นที่มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า
ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
3.ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มๆละ 4-8คน ส่งตัวแทนหน้าชั้นเรียน กลุ่มละ 1
คน
4. ครูนำบัตรคำมาแสดงหน้าชั้นเรียนแล้วให้ตัวแทน
ต่อประโยคทีละคนต่อกันจากบัตรคำโดยให้เนื้อหาต่อเนื่องกันเพื่อให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง เช่น ถ้าฉันบินได้
5.ครูกำหนดประโยคและให้แต่ละกลุ่มเขียนแล้วส่งต่อให้เป็นเรื่องเดียวกันโดยกำหนดกลุ่มตามกฎกติกาที่ครูกำหนดเช่น กำหนดจำนวนพยางค์ กำหนดจำนวนพยัญชนะขึ้นต้น , กำหนดสระ,กำหนดประโยคความเดียว,ความรวม, ความซ้อน ให้มีในประโยค
6.ครูสรุปองค์ความรู้ของรูปประโยค
7.ครูแจกบัตรคำรูปภาพให้แต่ละกลุ่มแต่งประโยคจากรูปภาพโดยครูกำหนดในหัวข้อ
ภาคประธาน ภาคแสดง,บทกรรม , กิริยา
8.
ครูสรุปความรู้เรื่องส่วนประกอบประโยค
9. ครูกำหนดคำพังเพยแล้วซักถามผู้เรียน
10.ครูแจกบัตรคำพังเพยให้ผู้เรียนนำพยัญชนะหน้าคำในกลุ่มคำ
ออกมาสร้างคำใหม่แล้วนำคำใหม่ไปแต่งประโยคให้ได้ใจความสมบูรณ์
11. ครูร่วมกับนักศึกษา
โดยครูให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับบัตรคำในแต่ละคู่ว่ามีความสอดคล้องกันอย่างไร
12. ครูอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจความสำคัญของภาษา ซึ่งเป็นการสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตรงตามความต้องการ 13. ให้นักศึกษาศึกษาความรู้เรื่อง การใช้ภาษาประกอบ จากหนังสือเรียน และแจกใบงานเรื่องหลักภาษา
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
(120 นาที)
1. ครูให้ผู้เรียนเขียนเลือกเขียนคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วในหัวข้อเรื่อง
อาหารไทยเพื่อสุขภาพ,เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน, ธรรมชาติกับชีวิต , ความรักของพ่อแม่
2. ครูมอบหมายให้นักศึกษาออกแบบและเขียนบัตรอวยพรปีใหม่ ถ้อยคำที่เป็นมงคล พร้อมระบายสี และตกแต่งให้สวยงาม 3. นักศึกษาและครูร่วมกันกำหนดระยะเวลาในการส่งผลงานร่วมกัน
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนนจาก
1.การเขียนบทความใน google classroom 10 คะแนน
2.กิจกรรมกลุ่ม 10 คะแนน
3.ใบงาน 10 คะแนน
4.การมาพบกลุ่ม 10 คะแนน
|
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
1. ร่วมตอบข้อซักถามครู
2.อ่านประโยคที่ครูกำหนด
3.วิเคราะห์ประโยค
2.อ่านท่องจำแปลวิเคราะห์คำขวัญวันเด็กปี2559
ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้
1.นักศึกษาเลือกบทความจากวรรณกรรมที่ไปศึกษามาแลกเปลี่ยนความรู้
2.นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรม
4-8 คน ต่อกลุ่ม
3.นักศึกสาธิตการเล่นเกมส์บัตรคำการต่อประโยค
4.นักศึกษาแต่ละกลุ่มต่อคำจากบัตรคำที่ครูกำหนด
5.ร่วมสรุปความรู้ในเรื่องประโยคความเดียว,ความซ้อน,ความรวม
6.นักศึกษาเล่นเกมส์แต่งประโยคจากรูปภาพ
7.นักศึกษาร่วมสรุปความรูปเรื่องประโยคประธาน
กิริยา กรรม
8.ตอบข้อซักถามครูเรื่องสำนวนสุภาษิต คำพังเพย
9. นักศึกษาแต่ละกลุ่มรับบัตรคำสุภาษิตเพื่อนำคำไปแต่งประโยคใหม่ให้ได้ใจความสมบูรณ์
10.นักศึกษาร่วมสรุปความรู้ในเรื่องคำสุภาษิตคำพังเพย
11.นักศึกษารับใบงานจากครู
12.นักศึกษาเพิ่มเติมจากแบบเรียน
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
1.ผู้เรียนเลือกหัวข้อเขียนคำประพันธ์เป็นร้อยแก้ว
2.นักศึกษาออกแบบบัตรอวยพรปีใหม่ส่งครู
|
แผนการจัดการเรียนรู้
กศน.อำเภอระโนด
รายวิชา ภาษาไทย พท 31001 (5 หน่วยกิต)ระดับ ม.ปลาย ภาคเรียนที่ 1/2561
วันที่ ..........................
(6 ชั่วโมง)
ครั้งที่
|
เนื้อหาวิชา (ชม.)
|
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
|
กิจกรรมการเรียนรู้
|
สื่อการเรียนรู้
|
วัดผลประเมินผล
|
|
4
|
วรรณคดีและ
วรรณกรรม
1. ความหมายของวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบัน
และวรรณกรรมท้องถิ่น
2. คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมด้านวรรณศิลป์และด้านสังคม
3. แนวคิดและค่านิยมที่ปรากฏในวรรณคดี
และวรรณกรรม
|
อธิบายคุณค่าวรรณคดี
วรรณกรรมปัจจุบัน
และวรรณกรรมท้องถิ่น
|
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
- หนังสือเรียนหมวดวิชาภาษาไทย ม.ปลาย
google classroom
- หนังสือเรียน
- ใบงาน สนุก
กับวรรณกรรมไทย
-แบบทดสอบ
-ผู้สูงอายุในชุมชน
-บัตรคำบทวรรคตอนในวรรณกรรม วรรณคดี
-กระดาษบรู๊ค
|
- สังเกตการซักถามและ
-การสรุปใจความสำคัญ
-สังเกตการฟังและการจดบันทึก
- การนำเสนอผลงานและชิ้นงาน
- สังเกตการซักถามในประเด็นที่สงสัย
- การอภิปรายกลุ่ม
-การตอบคำถาม
- สังเกตการซักถามและการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
- การทดสอบย่อย
- ผลงานจาก กรต.
- ใบงาน
|
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
(60 นาที)
1.1 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบ
1.2 ครูสอบถามถึงหนังในโรงภาพยนตร์ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์โลตัสกระบี่เรื่องพันท้ายนรสิงค์
แล้วกำหนดให้คนที่ชม เล่าเรื่องอย่างย่อให้เพื่อน ๆ ฟัง
1.3 ครูสอบถามผู้เรียนถึงข้อคิดและใจความความสำคัญของเรื่อง
และชื่อหรือบทบาทตัวบทละคร
1.4 ครูและผู้เรียนร่วมกันสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวรรณคดี
วรรณกรรมปัจจุบันและวรรณกรรมท้องถิ่น
ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้ (180 นาที)
2.1 ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มละ 4-8 คน
2.2 ครูให้ตัวแทนออกมาอ่านบทกลอนของที่เป็นวรรคทองจากวรรณคดีเรื่องต่างๆ
แล้วให้แต่ละกลุ่มบอกชื่อเรื่องเพื่อแข่งขันกัน
2.3 ครูให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษา“วรรณคดีไทย”เรื่องขุนช้าง ขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา นิทานเวตาล นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง
ร่ายยาว มหาเวสสันดรชาดก
มัทนพาธา พระมหาชนก
(ทศชาติชาดก)
เลือกศึกษาวรรณคดีที่ชอบจำนวน 1 เรื่องในประเด็นต่าง
ๆ ดังนี้
- ประวัติและลักษณะของเรื่องที่อ่าน
-
วิเคราะห์วิจารณ์ตัวละครสำคัญของเรื่องแนวคิด
ค่านิยมและคุณค่าต่าง ๆ
- ยกตัวอย่างบทกลอน
วรรคทองในวรรณคดีที่ชอบ
- จัดทำเป็นรายงานพร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน
และครูร่วมสรุปผลการอภิปรายของผู้เรียน
2.4 ครูกำหนดให้ผู้เรียนไปสืบเสาะหาเรื่องเล่า
นิยาย นิทาน ตำนาน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
จากผู้สูงอายุในชุมชน
แล้วนำเรื่องเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นลายลักษณ์แล้วจัดทำเป็นรูปเล่มจัดวางเป็นสารสนเทศใน
กศน.ตำบล (เป็นกรต)
2.5 ครูกำหนดให้ผู้เรียนเลือกบทวรรคตอนจากวรรณกรรมที่ตนเองสนใจเขียนลงในกระดาษที่ครูแจกและวาดภาพและตกแต่งให้สวยงามประกอบจัดทำเป็นสารสนเทศภายใน
กศน
2.6 ครูแจกใบงานเรื่องวรรณกรรมเพื่อเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติม
2.7 ครูให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบรายวิชา
ภาษาไทย
2.8 ครูเฉลยข้อสอบพร้อมให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนกันตรวจข้อสอบ
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
(120 นาที)
3.1
ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดี
วรรณกรรมที่อ่านและนำแนวคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้
4.1 ครูให้ผู้เรียนร่วมกันประเมินผลพร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง สรุปและจัดทำเป็นรายงานเผยแพร่ กศน.ตำบล
4.2 ครูประเมินผลการเรียนรู้ผลของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.3 เกณฑ์ที่กำหนด
- มาพบกลุ่ม 10 คะแนน
- แบบทดสอบ 20 คะแนน
- บัตรคำสารสนเทศ
/
- วรรณกรรมท้องถิ่นใน google classroom 10 คะแนน
- ใบงาน 10 คะแนน
|
ขั้นที่ 1 กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการ
1.1 นักศึกษาทำความเข้าใจจุดประสงค์การเรียนรู้
1.2 นักศึกษาส่งตัวแทนสรุปหนังเรื่องพันท้ายนรสิงค์ที่กำลังฉายในโรงภาพยตร์จังหวัดกระบี่
1.3 นักศึกษาอธิบายถึงข้อคิดและใจความความสำคัญของเรื่อง
และชื่อหรือบทบาทตัวบทละครเรื่องพันท้ายนรสิงค์
1.4 นักศึกษาร่วมกันสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวรรณคดี
วรรณกรรมปัจจุบันและวรรณกรรมท้องถิ่น
ขั้นที่ 2 ขั้นแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้
2.1 นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 4-8 คน
2.2 นักศึกษาออกมาอ่านบทกลอนครั้งละคนมาอ่านวรรคตอนจากวรรณคดีเรื่องต่างๆ
แล้วให้แต่ละกลุ่มบอกชื่อเรื่องเพื่อแข่งขันกัน
2.3 นักศึกษาแต่ละกลุ่ม
ตอบชื่อเรื่องที่ตัวแทนอ่านแข่งขันกัน
2.4 นักศึกษาศึกษาวรรณคดีที่ชอบจำนวน1 เรื่องในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
- ประวัติและลักษณะของเรื่องที่อ่าน
-
วิเคราะห์วิจารณ์ตัวละครสำคัญของเรื่องแนวคิด
ค่านิยมและคุณค่าต่าง ๆ
- ยกตัวอย่างบทกลอน
วรรคทองในวรรณคดีที่ชอบ
-
จัดทำเป็นรายงานพร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
2.5 นักศึกษาไปสืบเสาะหาเรื่องเล่า นิยาย
นิทาน ตำนาน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
จากผู้สูงอายุในชุมชน
แล้วนำเรื่องเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นลายลักษณ์จัดทำเป็นรูปเล่มจัดวางเป็นสารสนเทศใน กศน.ตำบล
(เป็นกรต)
2.6 นักศึกษาเลือกบทวรรคตอนจากวรรณกรรมที่ตนเองสนใจเขียนลงในกระดาษที่ครูแจกและวาดภาพและตกแต่งให้สวยงามประกอบจัดทำเป็นสารสนเทศภายใน
กศน
2.7 นักศึกษารับใบงานเรื่องวรรณกรรมเพื่อเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติม
2.8 นักศึกษาทำแบบทดสอบรายวิชา ภาษาไทย
2.9 นักศึกษาตรวจข้อสอบพร้อมกับอ่านทีละคน
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้
3.1 นักศึกษาร่วมกันสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดี
วรรณกรรมที่อ่านและนำแนวคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
|