31 พฤษภาคม 2561

แบบหนังสือขอลาออกของพนักงานราชการ



สอนอย่างนี้ เด็กมีแน่นอน

ถ้าครูสอนโดนใจ ต่อให้คาบนั้นจะเรียนติดต่อกันหลายชั่วโมง เรียนก่อนทานข้าวหรือหลังทานข้าวมาอิ่มๆ หนังตาจวนจะปิด เราก็พร้อมเรียนเสมอ เอ? กฎข้อนี้จะใช้ได้รึเปล่าน้าาา ตามพี่เมก้าไปดู 10 วิธีการสอนของคุณครูที่เด็กมัธยมฯ เลิฟมากๆ กันเลยดีกว่า

1. สอนแบบเก็บทุกมุก
การที่เราจะชอบเรียนวิชาใดสักวิชาหนึ่ง พี่เมก้าคิดว่าครูผู้สอนมีส่วนสำคัญมากเลยนะคะ ต่อให้วิชานั้นจะเป็นวิชาที่เรารู้สึกว่ายิ่งเรียนยิ่งโง่ก็ตาม หืม? (-_-‘) แต่ถ้าครูสอนแบบเป็นกันเองสบายๆ เห็นเด็กตาใกล้จะปิดเมื่อไหร่ ก็ขยันรับส่งมุกตลกตลอด มันจะเป็นการเปิดสวิตซ์ให้เราตื่นตัวพร้อมเรียนอยู่เสมอ ส่วนใหญ่แล้ววิธีการสอนของครูที่น้องๆ มักจะเทใจให้ จึงเป็นการสอนในแบบที่ทำให้นักเรียนรู้สึกรีแลกซ์ แล้วก็สนุกตามไปด้วยนี่แหละ อะไรที่เคร่งเครียดน่าเบื่อ เด็กๆ ไม่ค่อยชอบหรอกเนอะ คลาสเรียนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มนี่สิ ความสุขของจริง!

2. สอนแบบเจาะสูตรเฉพาะ
บางทีเวลาที่เรามาเรียน ก็แอบคาดหวังไปถึงตอนทำข้อสอบด้วย เรากับเพื่อนจะกระตือรือร้นเป็นพิเศษ เวลาครูบอกว่า “เอ้า! หยิบปากกามาจดเลย สูตรนี้สูตรเดียว ใช้ทำมาหากินได้ตลอดชีวิต” หรือ “เรื่องนี้มีทริกการจำง่ายๆ ท่องตามครู” หรือ “เรื่องนี้ออกสอบบ่อย อย่าพลาดนะ” เราอยากมาเรียนเพื่อโกยสูตรสำเร็จของความรู้แต่ละเรื่อง แล้วเอาไปปรับใช้ มากกว่าเรียนอะไรที่เนื้อหาเยอะแยะไปหมด แต่จับต้องไม่ได้เลย อาจารย์ที่มีเทคนิคเด็ดๆ มาฝากแบบนี้ จะทำให้เด็กรู้สึกว่า การเรียนเป็นเรื่องสนุก แล้วก็ทำความเข้าใจตามได้ไม่ยากนัก

3. สอนแบบเล่าเรื่อง

         เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มั้ยคะน้องๆ “เปิดหนังสือหน้า 627 O_O! บลาๆๆ ขีดเส้นใต้ตามครูเลย” หรือ “เริ่มสไลด์แรก (อ่านๆๆ กด Next รัวๆ)”  เรียนแบบนี้รู้สึกล้ามือที่จดตามยิกๆ แล้วก็เหนื่อยแทนคุณครูมากเลยค่ะ ขอลากลับบ้านไปอ่านเองก็ได้ =__=’ ส่วนใหญ่แล้ว เด็กๆ จะชอบเวลาที่ครูมาเล่าเรื่องเป็นเกร็ดความรู้ให้ฟังมากกว่า อย่างประวัติศาสตร์ที่เนื้อหาบางพาร์ท อาจจะเยอะ เข้าใจยาก แต่ครูบางท่านกลับหยิบยกเหตุการณ์สำคัญๆ มาเล่าให้ฟังเป็นฉาก ๆ จนเราจินตนาการตามได้เลยค่ะ ทั้งสนุก ทั้งตื่นเต้น ทั้งได้ความรู้ จำยาวนานแบบไม่ต้องท่องเลย

4. สอนแบบแชร์ประสบการณ์
ไม่รู้ว่าน้องๆ เป็นเหมือนกันไหม? เราจะมีความอยากรู้เรื่องราวชีวิตของคนอื่นอยู่ในสายเลือดอะค่ะ เวลาครูสอนเรื่องไหน แล้วมีสอดแทรกชีวิตคนอื่นที่อาจจะเป็นอุทาหรณ์สอนใจ หรือเป็นแรงบันดาลใจให้ข้อคิดกับเราได้ เรามักจะนั่งหลังตรง จ้องคุณครูตาแป๋วเลย วิธีการสอนแบบแชร์ประสบการณ์นี้ อาจจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ตอบโจทย์เด็กๆ ก็ได้นะคะ เพราะความรู้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ในห้องเรียน ประสบการณ์ชีวิตต่างหากที่ยั่งยืน เชื่อว่าร้อยทั้งร้อย น้องๆ ฟังแล้วนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้แน่นอน แอบกระซิบว่าบางทีครูก็ชอบเม้าท์เพลินจนลืมดูเวลา แล้วก็จะถามเราว่า “เอ๊ะ? เมื่อกี้เราเรียนถึงไหนแล้วนะ พวกเธออะชอบชวนครูคุย” อ้าว! ความผิดหนูซะงั้น ^^

5. สอนแบบออกไปท่องโลก
อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ วิธีสอนแบบออกไปท่องโลกนี้ ไม่ใช่ว่าครูจะส่งพวกเราไปนอกโลกนะคะ T^T เราจะออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียนกันต่างหากค่ะ เป็นเหมือนกันไหม? เรียนมาตลอดเทอม เรากับเพื่อนก็จะชอบลุ้นว่า ปีนี้จะได้ไปทัศนศึกษาหรือไปออกค่ายที่ไหน ไปเมื่อไหร่ ตื่นเต้นๆ ทั้งที่สถานที่ที่ครูมักจะพาไปบ่อยๆ ก็มีอยู่ไม่กี่ที่ ถ้ายกตามรายวิชาเลย “วิทยาศาสตร์”  ไม่พาไปท้องฟ้าจำลอง ก็พิพิธภัณฑ์อะค่ะ “สังคม” ก็ต้องแหล่งมรดกโลกที่สำคัญๆ ของไทยเลย ส่วนค่ายก็น่าจะมีอยู่ 2 อย่าง “ค่ายทหาร” ไม่ก็ “ค่ายลูกเสือ” เอาจริง แค่ได้ออกไปเที่ยวข้างนอก แล้วไม่ต้องกลับมานั่งทำการบ้าน ก็ดีใจแล้วนะคะ

6. สอนแบบได้ลงมือจริง
         เรียนเนื้อหา ลงทฤษฎี กันมาแบบแน่นๆ แล้ว เราก็อยากจะลองอะไรที่จับต้องได้บ้าง หลายๆ คนเลยชอบเรียนอะไรที่เน้นการปฏิบัติมาก เพราะได้ลงมือทำจริงๆ เห็นผลจริงๆ สนุกสุดเหวี่ยงจริงๆ อย่างวิทยาศาสตร์ก็ได้ลงแล็บทดลองอะไรใหม่ๆ ที่น่ามหัศจรรย์เยอะแยะ หรืออย่างวิชาที่ต้องอาศัยการฏิบัติอยู่แล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ คหกรรม พลศึกษา วาดรูป ดนตรี นาฏศิลป์ ฯลฯ วิชาเหล่านี้เหมือนเป็นวิชาช่วยชีวิต หลังจากเรียนอะไรที่เป็นวิชาการหนักหน่วง มาตลอดสัปดาห์ T__T การได้หันมาเรียนวิชาที่คล้ายกับงานอดิเรกของเราบ้าง อาจเป็นหนึ่งในวิธีค้นหาตัวเองด้วยก็ได้นะคะ

7. สอนแบบใช้สื่อจูงใจ
บางทีการสอนแบบจดตามกระดานหรือสไลด์ ก็ธรรมดาไปสำหรับเด็กยุคนี้ค่ะ เราชอบอะไรที่ตื่นเต้นๆ เรียนเหมือนไม่ได้เรียน เอ๊ะ? ยังไง ก็คือเรียนสนุกมาก จนเหมือนกับว่าตอนนี้เราไม่ได้เรียนอยู่เลยไงคะ อย่างตอนเรียนมัธยมฯ พี่เมก้าสังเกตว่าตัวเองกับเพื่อนจะตื่นเต้นมากเป็นพิเศษ เวลาอาจารย์บอกว่า “วันนี้ปิดหนังสือไปได้เลย ครูจะให้ดูหนัง” แค่ได้ยินคำว่าดูหนังก็สนุกแล้วค่ะ วิชาภาษาอังกฤษครูให้ดูแฮรี่พอตเตอร์ Eng Sub ส่วนวิทยาศาสตร์ให้ดูคลิปกำเนิดเอกภพ อื้อหือ! เห็นอะไรที่เป็นภาพเคลื่อนไหวแล้วมีชีวิตชีวาดีนะคะ เวลาผ่านไปเร็วมาก ขอบอก!

8. สอนแบบมีเกมชิงรางวัล
ข้อนี้หลายคนอาจจะเถียงว่า “ไม่จริง! ไม่ชอบอะไรที่แข่งขันเลย คำว่าชนะสะกดไม่เคยเป็น แพ้ตลอด!” ใจเย็นนะคะน้องๆ วิธีการสอนของครูแนวนี้ น่าจะโดนใจสำหรับเด็กๆ ที่ไม่ชอบถูกถามคำถามจี้คนเดียวค่ะ เพราะครั้งนี้ครูจะถาม แล้วให้น้องๆ ผลัดกันยกมือตอบ เหมือนเล่นเกมเลย มีของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ มาเรียกคะแนนความสนใจ เช่น ช็อกโกแลต O_O! “คิดว่าเห็นแก่กินเหรอ? ถูกต้องแล้ว! อิอิ หรือจะเป็นการเล่นเกมแจกสติกเกอร์ แจกบัตรคำ สะสมคะแนนเก็บเป็นห้องๆ ถ้าช่วยกันตอบก็จะได้คะแนนความสามัคคี เป็นการกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เจ๋งปะล่ะ?

9. สอนแบบจบในคาบ

         การสอนให้ครบ ให้เข้าใจ เบ็ดเสร็จในคาบแบบไม่มีนัดเรียนนอกรอบ นับได้ว่าเป็นชีวิตจิตใจของเด็กๆ มัธยมฯเลยค่ะ เพราะแค่เหมาเรียนรายวิชาใน 1 สัปดาห์นี้ ก็เยอะจนหัวสมองแทบระเบิดแล้ว เกิดนัดเรียนต่อหลังเลิกเรียน หรือให้ออกจากบ้านวันเสาร์-อาทิตย์อีก ต้องตายแน่ๆ เพราะไหนจะต้องแบ่งเวลามาเรียน แล้วยังต้องแบ่งเวลามาเคลียร์การบ้านที่หนักและเยอะจนแทบจะท่วมตัวอีก TT__TT ดังนั้นจึงขอสรุปว่า การวางแผนการสอนมาในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงกำหนดเวลาการเรียนแบบพอดีๆ เป็นอะไรที่นักเรียนเลิฟๆ มากที่สุดแล้วค่ะ

10. สอนแบบรู้ลิมิตนักเรียน
ประเด็นสุดท้ายนี้แสดงให้เห็นว่า คุณครูเข้าถึงจิตใจและความรู้สึกของนักเรียนมากๆ วิธีการสอนแบบนี้คือครูจะเปิดใจและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด โดยไม่ตะลุยป้อนเนื้อหาอย่างเดียว แบบไม่สนใจเลยว่าเด็กเข้าใจไหม ครูที่สอนดีมักจะเปิดช่องทางให้นักเรียนได้ซักถามเนื้อหาที่ไม่เข้าใจค่ะ แล้วพอนักเรียนถามก็สามารถตอบข้อสงสัยได้ชัดเจนตรงไปตรงมา โดยไม่มีการบอกว่า “เมื่อกี้ครูอธิบายแล้ว เธอไม่ได้ตั้งใจฟังเหรอ?” แบบนี้เด็กจะเงิบ กลัว แล้วก็เกิดอาการงอแง ไม่อยากเรียนแล้วนะคะ TOT สิ่งสำคัญมากที่สุดคือ ครูจะรู้ขีดจำกัดของเด็กค่ะว่า เนื้อหาวันนี้แน่นเกินไปแล้ว ควรจะพอแค่นี้ก่อน แล้วก็ให้เด็กได้พักซะทีนั่นเอง ^W^

ทั้งหมดนี้ก็เป็น  10 วิธีการสอนของครูที่นักเรียนเลิฟมาก ๆ  ไม่รู้ว่าตรงใจน้อง ๆ รึเปล่า แต่ที่แน่ ๆ ถ้าคุณครูมีวิธีสอนได้ครบทั้ง 10 แบบนี้ มีหวังพี่เมก้ารักตาย แล้วก็อยากมาโรงเรียนทุกวันแน่เลย น้องคนไหนอยากแชร์ให้โลกรู้ ถึงวิธีสอนของคุณครูในโรงเรียนที่เราประทับใจม้ากมาก แวะมาแบ่งปันได้นะ รออ่านด้วยใจจดจ่อค่าาา ^^

ที่มา https://www.dek-d.com/

สถานศึกษา...จะรับมืออย่างไร กับการประเมินคุณภาพรอบสี่



 สถานศึกษา...จะรับมืออย่างไร กับการประเมินคุณภาพรอบสี่
ข้อมูลที่มา อธิวรรธน์ พยอมใหม่

สถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทต้องเข้าสู่โหมดการประเมินคุณภาพสถานศึกษารอบสี่อย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะกฎหมายบังคับไว้ สถานศึกษาจะต้องเตรียมตัวกันอย่างไร... บอก ณ จุดนี้เลยว่าแทบจะไม่ต้องเตรียมอะไรใหม่เลย...หากสถานศึกษามั่นใจว่าระบบการประกันคุณภาพภายในของท่านปฏิบัติได้อย่างครอบคลุม ครบถ้วน ถูกต้อง เป็นไปตามระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ทางสถานศึกษากำหนดไว้... แต่มีข้อสังเกตจากกฎกระทรวงศึกษาธิการ พ.. 2561 ล่าสุด ...กำหนดให้สถานศึกษาจัดทามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด ตามบริบทของสถานศึกษาเอง... นี่คือ เรื่องท้าทาย ... และในระบบการประเมินภายนอกจาก สมศ. ก็จะเข้าไปตรวจเยี่ยมสถานศึกษา โดยไม่มีมาตรฐานในมือเข้าไปหาท่าน จะมีก็แต่เกณฑ์พิจารณา 4 มิติ 5 ระดับคุณภาพ เพื่อยืนยันสภาพจริงของสถานศึกษาแต่ละแห่ง เพื่อยืนยันระบบการประกันคุณภาพภายในของท่านว่า มีระบบ มีความเหมาะสม มีความน่าเชื่อถือได้ มีพัฒนาการหรือไม่ อย่างไร สถานศึกษามีอะไรบ้างที่เป็นนวัตกรรม หรือเป็นแบบอย่างที่ดีบ้าง ไม่มีการรับรองมาตรฐาน แต่เป็นการสะท้อนระดับคุณภาพเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
ดังนั้น สถานศึกษาจะต้องเตรียมสำรวจตัวเองว่ามีสิ่งเหล่านี้ ครบถ้วน ครอบคลุม มากน้อยเพียงไร

1. คู่มือหรือแนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1) มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด อันเป็นเป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามบริบทของตนเอง 2) ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพ 3) เครื่องมือประกอบการประเมิน เป็นต้น

2. แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่สอดคล้อง สะท้อนเป้าหมายตามมาตรฐานของสถานศึกษา ตอบสนองนโยบายภาครัฐ ต้นสังกัด

3. แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนงบประมาณประจาปี ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โครงการ / กิจกรรม ในแผนปฏิบัติการมีเป้าหมายชัดเจนตรง หรือสอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบในโครงการ / กิจกรรม การจัดสรรงบประมาณ มีความเหมาะสม เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

4. สถานศึกษาวางระบบบริหารจัดการภายในสถานศึกษาเป็นไปตามหลักการประกันคุณภาพภายใน เป็นระบบหรือไม่อย่างไร ( ดำเนินงานบริหารจัดการด้วยหลักการควบคุบตรวจสอบคุณภาพ P D C A )

5. ผลการดาเนินงานตามแผน โครงการ / กิจกรรม มีผลสาเร็จบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องอยู่ในระดับใด ซึ่งเป็นการแสดงถึงการดาเนินงานที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา และสถานศึกษาได้ใช้ผลการดาเนินงานนี้เป็นประโยชน์ต่อการประกันคุณภาพภายในอย่างไรบ้าง

6. การดาเนินงานมีประสิทธิภาพเพียงใด สถานศึกษามีการดาเนินงาน ติดตามตรวจสอบ มีผลการดาเนินงาน เป็นไปตามแผนงาน โครงการ / กิจกรรม การใช้งบประมาณ ( ตามปฏิทินการปฏิบัติงาน )

7. การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ครอบคลุมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้เสีย ทั้งด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ หรือไม่ อย่างไร

8. การรายงานผลการประเมินภายในประจาปี มีความเหมาะสม เป็นไปได้ มีระบบ มีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิผล มีพัฒนาการ สอดคล้อง

ครอบคลุม ถูกต้อง ตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัดในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจาปี แผนงบประมาณประจาปี รวมทั้งระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด


แนวทางที่น่าจะเป็น การประเมินคุณภาพสถานศึกษา รอบ 4


 แนวทางที่น่าจะเป็น การประเมินคุณภาพสถานศึกษา รอบ 4

ข้อมูลที่มา   อธิวรรธน์ พยอมใหม่ รุ่น 6 ณ โรงแรมไมด้า นนทบุรี
ก่อนเข้ารับการอบรม...ล้างข้อมูลให้สมองมันว่างจากข้อมูลความรู้เดิม ความเข้าใจเดิม (เก็บมันไว้ในแก้วอีกใบหนึ่ง ) ... เข้าอบรมมีแก้วที่ว่างเปล่าเตรียมรับน้าที่เป็นความรู้ความเข้าใจใหม่...คอยเฝ้าดูว่าสิ่งใหม่ๆที่เข้ามามันต่างจากสิ่งเก่าๆที่เรามีอย่างไรบ้าง...เอาสิ่งที่ได้รับมาใหม่ ผสมกับสิ่งเก่าๆที่มีอยู่สร้างเป็นองค์ความรู้อีกชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นชุดความรู้ที่จะนาพาให้เราเผชิญกับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ได้อย่างสบายๆ

1. แนวทางการประเมินรอบสี่ ( ..2559 – 2563 ) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1 เน้นประเมินผลลัพธ์จากการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
1.2 ผลการประเมินไม่ตัดสิน ได้ ตก แต่มุ่งให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ
1.3 การตรวจสอสอบเน้นเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ
1.4 ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ( Expert judgment )
1.5 ผลการประเมินมีระดับคุณภาพ 5 ระดับ พิจารณาจากเกณฑ์ 4 มิติ
1.6 กระบวนการประเมิน 3 ขั้นตอน ( ก่อนประเมิน ระหว่างประเมิน หลังประเมิน )

2. หัวใจหลักในการประเมินรอบสี่
2.1 การวิเคราะห์ SAR : การวิเคราะห์SAR รอบสี่นี้วิเคราะห์ก่อนการประเมินโดยใช้หลักการเชื่อมโยงระหว่าง IQA กับ EQA นั่นคือ ประเด็นจากSAR วิเคราะห์ผ่านเกณฑ์พิจารณา 4 มิติของ สมศ. แล้วเทียบกับเกณฑ์ระดับคุณภาพภายนอก 5 ระดับ เพื่อทารายงานขอเข้าตรวจเยี่ยมสถานศึกษาใน 3 รูปแบบ และเพื่อยืนยันผลลัพธ์จากการประกันคุณภาพภายใน จากคณะผู้ประเมิน ( 3 องค์ประกอบ )
1) ประเด็นจาก SAR คือ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และตัวชี้วัด ของสถานศึกษา ( กฎกระทรวงฯ กำหนดให้สถานศึกษาจัดทำมาตรฐาน ตัวชี้วัด ตามบริบทของสถานศึกษาเอง )
2) เกณฑ์การพิจารณา 4 มิติ ได้แก่

มิติที่ 1 ความเป็นระบบ เหมาะสม เป็นไปได้ ( ด้านผู้เรียนไม่ต้องพิจารณาระบบ )
หลักการพิจารณา พิจารณาจากความครบถ้วน ถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐาน/นโยบายต้นสังกัด / บริบทของสถานศึกษา

มิติที่ 2 ความเชื่อถือได้
หลักการพิจารณา พิจารณาจากผลการประเมินในSAR กับที่มาของผลการประเมินจากกระบวนการประเมินภายในของสถานศึกษา และผลการตรวจสอบจากสภาพจริงเชิงประจักษ์ แล้วพิจารณาความสอดคล้องของผลการตัดสินของคณะผู้ประเมิน( Expert judgment ) กับ ผลใน SAR ( ถ้าระดับแตกต่างกันไม่เกิน 1 ระดับ ถือว่าสอดคล้อง )

มิติที่ 3 ประสิทธิผล
หลักการพิจารณา พิจารณาจากผลการดาเนินงานตามแผน โครงการ กิจกรรม ที่มีผลการดาเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ( บรรลุเป้าหมายตามแผน และผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ) และพิจารณาพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มิติที่ 4 นวัตกรรม หรือ การปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี
หลักการพิจารณา พิจารณาจากสถานศึกษามีนววัตกรรม หรือ การปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีผลที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในแต่ละด้าน ( ผู้เรียน ครู การบริหาร การประกันคุณภาพภายใน ) อย่างไรบ้าง มีหลักฐานยืนยันเป็นที่ยอมรับจากใคร ที่ไหน

3) รูปแบบการเข้าตรวจเยี่ยมสถานศึกษา 3 รูปแบบ การพิจารณาตัดสินว่าจะเข้าตรวจเยี่ยมสถานศึกษารูปแบบใด ดูจากผลการวิเคราะห์ SAR ว่าเรามีประเด็นใดบ้างที่จะต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ต้องแสดงอย่างสมเหตุสมผล เสนอต่อคณะกรรมการ สมศ. ( ค่าตอบแทนแปรผันตามรูปแบบ )
รูปแบบที่ 1 ไม่ต้องออกตรวจเยี่ยม
รูปแบบที่ 2 ออกตรวจเยี่ยม 1 – 2 วัน
รูปแบบที่ 3 ออกตรวจเยี่ยมเต็มรูปแบบ 3 วัน
4) คณะผู้ประเมิน ( Expert judgment ) ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สมศ. / ผู้แทนจากต้นสังกัด / ผู้มีประสบการณ์การบริหาร โดย ผู้ทรงคุณวุฒิฯ มีตาแหน่งเป็นประธานกรรมการ ส่วนตาแหน่งเลขานุการพิจารณาจาก 2 องค์ประกอบ 1 ท่าน ที่เหลือเป็นกรรมการ
5) ค่าตอบแทน เป็นแบบเหมารวมในสถานศึกษาแต่ละแห่ง ค่าตอบแทนต่างกันไปตามรูปแบบการเข้าตรวจเยี่ยมสถานศึกษา 3 วัน > 2 วัน > 1 วัน > ไม่ตรวจเยี่ยม   ( ค่าตอบแทนยังไม่นิ่ง )

2.2 การเป็นผู้ประเมินเชี่ยวชาญ : การจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ ( Expert judgment ) ต้องมีความแตกฉาน 3 เรื่อง

1) ด้านความรู้ : ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ทั้ง IQA และ EQA / กฎหมาย / นโยบายทางการศึกษาภาครัฐ ต้นสังกัด / การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักประกันคุณภาพภายใน / การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้

2) ด้านความสามารถ : มีทักษะ 4 ด้าน
ด้านที่ 1 ทักษะการสื่อสาร ( อ่าน / เขียน / ฟัง / พูด )
ด้านที่ 2 ทักษะการคิด ( คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณญาณ เป็นระบบ )
ด้านที่ 3 ทักษะการใช้เทคโนโลยี ( ระบบ AQA )
ด้านที่ 4 ทักษะมนุษย์ ( หลักมนุษยสัมพันธ์ )
3) ด้านบุคลิกภาพ ( กาย วาจา ใจ ) หลักปฏิบัติกัลยาณมิตร / จรรยาบรรณผู้ประเมิน

3. กระบวนการประเมิน 3 ระยะ ( เมื่อมีปฏิทินการประเมินภายนอก )

3.1 ระยะที่ 1 กระบวนการก่อนเข้าตรวจเยี่ยม
1) วิเคราะห์ SAR เพื่อยืนยันสภาพจริง ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเข้าตรวจเยี่ยม
2) ทารายงานเสนอคณะกรรมการ สมศ. อนุมัติ การตรวจเยี่ยมสถานศึกษา 1 ใน 3 รูปแบบ
3) ถ้าได้รับการอนุมัติให้ออกตรวจเยี่ยม จะได้รับค่าตอบแทน ระยะ 1 ( 50 % )
4) คณะผู้ประเมินประชุมวางแผนการเข้าตรวจเยี่ยม

3.2 ระยะที่ 2 กระบวนการระหว่างตรวจเยี่ยม
1) เข้าตรวจเยี่ยมตามเวลาที่กาหนด ( ไม่ช้า ไม่เร็วเกินไป )
2) แนะนาคณะกรรมการประเมิน / ชี้แจงวัตถุประสงค์ / กระบวนการประเมิน / ประเด็นการประเมิน / ระยะเวลาตรวจเยี่ยม
3) ดำเนินการตรวจเยี่ยมเก็บรวมรวมข้อมูลประเด็นที่ต้องการ บันทึกภาคสนามตามแบบ สมศ.
ตามกำหนดการ
4) ประชุม / วิเคราะห์ สังเคราะห์ / สรุปผลการประเมินร่วมกัน
5) รายงานผลการประเมินด้วยวาจาต่อสถานศึกษา

3.3 ระยะที่ 3 กระบวนการหลังการตรวจเยี่ยม
1) จัดทาร่างรายงานส่งมายังสถานศึกษาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในผลการประเมิน หากมีความเห็นต่างในผลการประเมินให้สถานศึกษาแสดงข้อโต้แย้ง เอกสารหลักฐานเพิ่มเติมได้ คณะผู้ประเมินประชุมตัดสินปรับแก้ผล หรือยืนยัยผลการประเมิน แล้วจัดทารายงายเสนอต่อคณะกรรมการ สมศ. พิจารณาต่อไป
2) หากการพิจารณาตรวจสอบรายงานผลการประเมินจากคณะกรรมการ สมศ. เรียบร้อย จะได้ค่าตอบแทน ระยะที่ 2 อีก ( 50 % ) ถ้ายังไม่เรียบร้อยต้องมีการปรับแก้ให้เรียบร้อยตามกาหนดเวลา
3) หากส่งรายงานไม่ตรงเวลาจะมีการปรับ ร้อยละ 0.1 ของเงินค่าตอบแทน / วัน

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2561 ของสำนักงาน กศน.

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2561 ของสำนักงาน กศน.

กดที่ลิ้งค์หรือที่ภาพ >>> https://drive.google.com/file/d/1qns5IsU4LOTFx1io_DxSNBvoX2bSXW5u/view





ข้อมูลที่มา    
นิเทศออนไลน์

30 พฤษภาคม 2561

ชื่อ กศน.ภาษาอังกฤษ

กำหนดชื่อเต็มของ กศน.ตำบลหรือแขวง คือ "ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหรือแขวง"  
เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า 

- กศน.อำเภอ เขียนว่า ชื่อกศน.อำเภอ District Non-Formal and Informal Education Centre 

 ชื่อกศน.ตำบล Sub-District Non-formal and Informal Education Centre" 


ขั้นตอนการลงทะเบียน ปักหมุด กศน.อำเภอ ตำบล LongDO Map

ขั้นตอนการลงทะเบียน


ดาวน์โหลด >>> คู่มือการปักหมุดพิกัดสถานที่ราชการ





วิธีสมัครรับ password


พิมพ์ citizen.info.go.th




กดลงทะเบียนเพื่อรับ username & password
ชื่อกรม/หน่วยงาน ใส่หน่วยงานของท่าน
ชื่อผู้ลงทะเบียน ใส่ ชื่อตนเอง
นามสกุล *ใส่ นามสกุลตนเอง
อีเมล (เพื่อรับ user/password) อีเมลที่ใช้จริง
หมายเลขโทรศัพท์  หมายเลขที่ใช้จริง
Captcha *พิมพ์สิ่งที่เห็นในภาพ ถ้าไม่ชัดให้กด เครื่องหมายลูกศรวงกลม




เมื่อลงทะเบียนเสร็จ กดส่งอีเมล์



เมื่อกดส่งอีเมล์แล้ว จะได้หน้าตาดังรูป


เข้าไปดูในอีเมล์ของเรา ถ้าไม่เจออาจไปอยู่ในอีเมลขยะ ให้เข้าไปค้นดู ถ้าไม่มีอีกอาจกรอกอีเมลผิด


เมื่อเข้าไปดูแล้วจะได้ username & password ดังภาพ นำไปกรอกใน App Longdo Map ได้เลย
จากนั้นก็นำ username & password ทำตามขั้นตอนในคู่มือ  >>คู่มือการปักหมุดพิกัดสถานที่ราชการ<<< กดดาวโหลดได้เลย

เมื่อเข้ามาใน App Longdo Map แล้ว ทำตามขั้นตอนนี้

เข้าแผนที่ Longdo Map หาสถานที่ของตนเอง

กดแช่ให้ขึ้นสีแดง

กดเพิ่ม

ใส่ชือไทย  อังกฤษ เบอร์ติดต่อ

ติ้กเครื่องหมายถูก

เสร็จสิ้น

ได้แบบนี้ถือว่าเสร็จสมบูรณ์

MOOC กศน.สงขลา วิชาเศรษฐกิจพอเพียง

วิชาเศรษฐกิจพอเพียง

แผนผังวิชา

กดลิงค์ >>>แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป สำหรับผู้เรียน

วิชาเศรษฐกิจพอเพียง บทที่ 1

กดลิงค์ >>>คลิปวีดีโอเนื้อหาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 นาที

กดลิงค์ >>> กิจกรรมท้ายเรื่อง บทที่ 1 ความพอเพียง


วิชาเศรษฐกิจพอเพียง บทที่ 4


กดลิงค์ >>>เนื้อหาการวางแผนประกอบอาชีพแบบพอเพียง

กดลิงค์ >>>แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 4 วิชาเศรษฐกิจพอเพียง


ส่วนท้าย
กดลิงค์ >>>แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน MOOC วิชา เศรษฐกิจพอเพียง

29 พฤษภาคม 2561

ประกาศรับสมัครครูผู้ช่วย กศน. เปิดรับสมัคร 15 - 21 พฤษภาคม 2561 นี้

แจ้งบุคลากรที่ประสงค์สมัครสอบคัดเลือก กศน. 
1) ระบบรับสมัครออนไลน์ จะปิดระบบการสมัคร ในวันที่ 21 พ.ค.61 เวลา 24.00 น. ตรง หากบันทึกข้อมูลเกินเวลา จะไม่สามารถดำเนินการบันทึกข้อมูลเพื่อสมัครได้ 

2) สำนักงาน กศน.จังหวัด เปิดรับยื่นเอกสาร เพื่อดำเนินการตรวจใบสมัครและเอกสารประกอบ ระหว่างวันที่ 22 – 28 พ.ค.61 ผู้ยื่นใบสมัครต้องเตรียมเอกสารฉบับจริงยื่นให้คณะกรรมการรับสมัคร หากเอกสารไม่ครบ คณะกรรมการรับสมัครจะไม่สามารถรับได้ 


3) กรณีกรอกข้อมูลในระบบผิดพลาด และประสงค์จะแก้ไขข้อมูล ผู้สมัครต้องจัดทำหนังสือบันทึกข้อความ ถึง ประธาน อ.ก.ค.ศ.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอแก้ไขข้อมูล และต้องยื่นเอกสารที่ต้องการแก้ไขแนบบันทึกไปด้วย 


4.ถ้าท่านใดมีปัญหาในการลงข้อมูลผิดผลาด..สมัครครูผู้ช่วย รองและผู้บริหารสถานศึกษา ให้ท่านประสานเบอร์ดังต่อไปนี้ 

ดร.ชัยพฤกษ์ 084-3604475 
น้องออม 089-2601086 
อ.มณฑา 085-0633643 
น้องตู่ 089-6683703


กศน.ประกาศรับสมัครแล้วครับ

เปิดรับสมัครทางออนไลน์ www.nfe-recruit.com วันที่ 15 - 21 พฤษภาคม 2561

และนำใบสมัครออนไลน์มาสมัครด้วยตนเอง ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดนั้น ๆ ภายในวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม 2561 เวลา 08.30 - 16.30 น.

หลักเกณฑ์การสอบ


1. ผอ.+รอง ผอ.สถานศึกษา
http://www.nfe.go.th/…/attachme…/article/2022/recruit_V7.pdf

2. ครูผู้ช่วย กลุ่มชายแดนใต้
http://www.nfe.go.th/…/attachm…/article/2021/recruit_V17.pdf

3. ครูผู้ช่วย จังหวัดทั่วไป
http://www.nfe.go.th/…/attachm…/article/2019/recruit_v16.pdf


***ในเว็บไซด์นี้รวบรวมระเบียบต่าง ๆ ล่าสุดของ กศน.ไว้ ท่านที่สนใจสอบครูผู้ช่วยสามารถอ่านทบทวน หาความรู้ได้ตลอดครับ***

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...