21 ธันวาคม 2559

กศน.อำเภอ เก็บเงินบำรุงสถานศึกษา, ทำไมไม่จัดสรรให้สอนเสริม

กศน.อำเภอ เก็บเงินบำรุงสถานศึกษา, ทำไมไม่จัดสรรให้สอนเสริม

ทำไม กศน.อำเภอไม่จัดสรรงบประมาณให้เด็กในกลุ่มครู ศรช.เรียนเสริม
อีกหนึ่งประเด็น คือทาง กศน.อำเภอ เรียกเก็บเงินค่าเทอมจากนักศึกษา หัวละ 120 บาท ผิดระเบียบมั้ย มีการออกใบเสร็จให้ แต่ได้นำเรื่องเก็บเงินไปขอมติที่ประชุมกรรมการสถานศึกษา และมติเห็นชอบให้เก็บได้ แต่ยังเป็นที่แคลงใจของคณะครูว่า ผอ.เก็บเงินส่วนนี้ผิดระเบียบ และเอาเงินไปทำอะไร
ตอบว่า
เรื่องงบสอนเสริม กศน.อำเภอสามารถบริหารจัดการตามความเหมาะสมของบริบทแต่ละอำเภอ
( งบสอนเสริมก็รวมอยู่ในงบเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้ทุกอำเภอนั่นแหละ แล้วแต่อำเภอจะบริหารจัดการ
งบเงินอุดหนุน อาจใช้งบพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมาทำโครงการคล้ายการสอนเสริมก็ได้ )

ส่วนเรื่องการเก็บเงินจากนักศึกษานั้น ผิด
การใช้ใบเสร็จรับเงินในราชการ กศน.เป็นหลักฐานการรับเงิน จะต้องนำเงินเข้าระบบบัญชีของ กศน.อำเภอ ถ้านำเงินเก็บรักษาถูกต้องตามระบบและดำเนินการเบิกจ่ายถูกต้องตามระเบียบ ก็ถือว่าไม่ได้ทุจริต แต่ก็ยังผิด เพราะสถานศึกษาและกรรมการสถานศึกษาไม่มีสิทธิ์ไม่มีอำนาจลงมติเก็บเงินในรายการที่ไม่มีระเบียบรองรับ ถ้าเป็นการบริจาค จะกำหนดให้บริจาคทุกคนไม่ได้ การจะบริจาคหรือไม่และจำนวนเงินต้องเป็นไปตามความสมัครใจของแต่ละคน

ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย

ศูนย์อำเภอเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร

กศน. อำเภอเช่าเครื่องถ่ายเอกสารไว้ใช้ในสำนักงาน สามารถทำได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

ตอบ  ตามคำสั่ง สป.ศธ. ที่ 489/51 เรื่องมอบอำนาจให้ ผอ.กศน.อำเภอ/เขต ปฏิบัติราชการแทน ลงวันที่ 21 เม.ย.51  ระบุการมอบอำนาจ “การเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการดำเนินการที่เกี่ยวกับการเช่าทั้งหมด ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมทั้งค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเช่า ครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท หรือไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท”  
ไว้ในข้อ 4.2

ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย

เรื่องการอนุญาตให้บุคลากรไปเข้ารับการฝึกอบรมที่หน่วยงานอื่น นอกสังกัด กศน. เป็นผู้จัดฝึกอบรม

เรื่องการอนุญาตให้บุคลากรไปเข้ารับการฝึกอบรมที่หน่วยงานอื่น นอกสังกัด กศน. เป็นผู้จัดฝึกอบรม

ตอบ ตามหนังสือสำนักงาน กศน.ที่ ศธ 0210.118/272 ลงวันที่ 26 ม.ค.54 กำหนดแนวปฏิบัติเรื่องการให้บุคลากรในสังกัดสำนักงาน กศน.ไปเข้ารับการฝึกอบรม
กรณีส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นเป็นผู้จัดการฝึกอบรมตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้ในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ โดยจังหวัดต้องขออนุมัติการส่งบุคลากรไปเข้ารับการฝึกอบรมต่อสำนักงาน กศน. ก่อน จึงจะอนุมัติให้บุคลากรผู้นั้นไปเข้ารับการฝึกอบรมได้ (ถ้าหลักสูตรนั้นสำนักงาน กศน.ยังไม่เคยเห็นชอบ ) และการพิจารณาอนุมัติต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น ยึดประโยชน์ของทางราชการและงบประมาณที่ใช้ สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของบุคลากร และเมื่อฝึกอบรมเสร็จบุคลากรผู้นั้นต้องทำรายงานเสนอภายใน 60 วัน


ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย 

3 พฤศจิกายน 2559

แนวทางเทียบผลการเรียนในระบบมาเป็นของ กศน.

แนวทางเทียบผลการเรียนในระบบมาเป็นของ กศน.
ตอบ ให้ดูในหนังสือ “แนวทางการเทียบโอนผลการเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551”

ในหนังสือแนวทางการเทียบโอนผลการเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ( tiab_on.pdf ) เล่มนี้ มีแนวทางการเทียบโอนจากหลักสูตรพื้นฐานในระบบ ปี 44 แต่ไม่มีแนวทางการเทียบโอนจากหลักสูตรปัจจุบันในระบบ ส่วนในไฟล์ tiebOon.rar ที่รวมไฟล์ PowerPoint ของผมนั้น มีไฟล์แนวทางการเทียบโอนจากหลักสูตรปัจจุบันในระบบ รวมอยู่ด้วย

ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย ยุติศรี

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 458/2559 รมว.ศธ./รมช.ศธ. รับฟังแผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2560 ของสำนักงาน กศน.

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 458/2559
รมว.ศธ./รมช.ศธ. 
รับฟังแผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2560 ของสำนักงาน กศน.




รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังแผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2560 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) โดยย้ำให้ยึดหลักปรัชญาจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชน “รู้หนังสือ เป็นพลเมืองดี มีอาชีพ” พร้อมทั้งขอข้อมูลศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลให้ชัดเจนเพื่อการวางแผน เน้นจัดทำแผนอัตรากำลังและครู กศน. ระยะ 10 ปี รวมทั้งร่วมบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งถูกควบรวม ตลอดจนยกระดับห้องสมุดประชาชนและบ้านหนังสือชุมชนเพื่อเพิ่มจำนวนผู้อ่านหนังสือและให้ตรงกับความต้องการชุมชน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2559 ที่ห้องประชุมสำนักงาน กศน., พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.ต.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังแผนการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ของสำนักงาน กศน. โดยมีนายสุรพงษ์ จำจด เลขาธิการ กศน. และคณะผู้บริหาร ได้นำเสนอผลการดำเนินงานปีงบประมาณที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการรับฟังการนำเสนอครั้งนี้ เห็นว่าสำนักงาน กศน. ได้วางกรอบแนวทางการทำงานและแผนงานต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดี โดย รมช.ศึกษาธิการ และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ช่วยเติมเต็มในรายละเอียดและจุดเน้นในแผนงานที่สำคัญหลายส่วน ดังนี้
  •  ปรัชญาการจัดการศึกษาของ กศน.   เนื่องจากสำนักงาน กศน. ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 จนถึงปัจจุบัน ได้มีปรัชญาการจัดการศึกษาว่า "เพื่อให้คนรู้หนังสือ ให้ประชาชนเป็นพลเมืองดี และมีอาชีพ" แต่ที่ผ่านมามีการดำเนินงานโดยให้น้ำหนักในเรื่องความเป็นพลเมืองดีน้อยเกินไป จึงขอให้พิจารณาแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนเป็นคนดีให้ชัดเจนขึ้น เพราะคำว่า "คนดี" เป็นคำที่กว้างมาก เชื่อว่าสำนักงาน กศน.ได้ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ไม่ได้จำแนกออกมาให้เห็นภาพที่ชัดเจน
  • ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล  จากการรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทั้ง 7,424 แห่ง ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก จึงขอให้ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของแต่ละศูนย์ ทั้งศูนย์ที่ดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ ศูนย์ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขบางส่วน หรือศูนย์ที่ต้องพัฒนาปรับปรุงใหม่ พร้อมทั้งระบุปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และให้รายงานข้อมูลดังกล่าวภายในเดือนพฤศจิกายน 2559 เพื่อกระทรวงศึกษาธิการจะได้มองเห็นภาพและวางแผนการทำงานของศูนย์ฯ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายที่สำคัญคือต้องการให้ประชาชนนำไปใช้ได้จริง รวมทั้งมีการทำงานประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้จัดตั้งศูนย์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเช่นกัน
  • แผนพัฒนาบุคลากรและครู กศน.  ขอให้มีการทบทวนเกณฑ์การโอนย้ายครู เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูจากการโอนย้าย นอกจากนี้ ให้จัดเตรียมแผนพัฒนาครูที่จะต้องมีการตรวจเลือดครู กศน. เช่นเดียวกับครู สพฐ. เพื่อจะได้พัฒนาครูให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งให้สำนักงาน กศน. วางแผนกรอบอัตรากำลังและพัฒนาบุคลากรล่วงหน้าระยะ 10 ปีไว้ด้วย
  • การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งถูกควบรวม  โดยขอให้สำนักงาน กศน. เสนอแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ในโรงเรียนขนาดเล็กของ สพฐ. ที่ถูกควบรวมจากการบริหารจัดการตามโครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์การเรียนของ กศน. ศูนย์จัดกิจกรรมของชุมชน ที่ดำเนินการได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งในเรื่องงบประมาณและการใช้ประโยชน์ที่ดินต่าง ๆ โดยรอบแรกจะมีการเคลื่อนย้ายในโรงเรียน 286 แห่ง ตั้งแต่เปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ส่วนในรอบต่อไปจะเริ่มเคลื่อนย้ายวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ในโรงเรียน 595 แห่งทั่วประเทศ แต่การดำเนินการดังกล่าว หากมีชาวบ้านแม้แต่เพียงคนเดียวไม่ยอมรับให้ยุบหรือควบรวม ก็จะไม่ยุบหรือควบรวมโรงเรียนนั้น ๆ แต่อย่างใด
  • การยกระดับห้องสมุดประชาชนและบ้านหนังสือชุมชน  ขอให้จัดกิจกรรมเพื่อช่วยสร้างแรงจูงใจให้คนเข้ามาอ่านหนังสือมากขึ้น ทั้งในห้องสมุดประชาชน 913 แห่ง และบ้านหนังสือชุมชน 15,000 แห่งทั่วประเทศ โดยให้เน้นกลุ่มคนที่อยู่นอกระบบการศึกษา พร้อมทั้งให้สอดแทรกข้อมูลและข้อเท็จจริงในเรื่องที่ประชาชนควรจะรู้เข้าไปด้วย นอกจากนี้ ควรมีการสำรวจตัวเลขผู้ไม่รู้หนังสือ ผู้ที่อ่านหนังสือน้อย ตลอดจนพฤติกรรมการอ่านของคนในชุมชน  เพื่อจะได้จัดกิจกรรมและจัดหาหนังสือให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและบริบทของแต่ละชุมชนได้ตรงกับความต้องการ
แผนการดำเนินงาน
ของสำนักงาน กศน.
ประจำปีงบประมาณ 2560
นายสุรพงษ์ จำจด เลขาธิการ กศน.  ได้นำเสนอแผนการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ภายใต้หลักปรัชญาการจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชน “รู้หนังสือ เป็นพลเมืองดี มีอาชีพ” และมีวิสัยทัศน์ “กศน.ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อโอกาสและคุณภาพทางการศึกษาของประชาชนทุกช่วงวัย” ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 12,421 ล้านบาท

ทั้งนี้ ได้กำหนดพันธกิจเพื่อจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ การประสานการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชมเพื่อจัดการศึกษา การพัฒนาและนำเทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม การวัดและประเมินผล ให้สอคล้องกับบริบทในปัจจุบัน และมุ่งพัฒนาบุคลากรและระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม
โดยมีแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานของ กศน. ดังนี้
● แผนดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของ กศน. ปี 2560
- การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจภายใต้ฐานข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลที่ถูกต้องให้กับประชาชน สร้างกระบวนการเรียนรู้จากข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วม พร้อมนำสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้, โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โครงการสะเต็มศึกษา เป็นต้น
- กศน. เพื่อประชาชน เพื่อให้ความรู้และทักษะเรื่องการบรรเทาสาธารณภัย สร้างจิตอาสาและพัฒนาทักษะด้านอาชีพแก่ประชาชน ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการสร้างจิตอาสา กศน., โครงการให้ความรู้เรื่องการบรรเทาสาธารณภัย, โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นต้น
- การพัฒนาศักยภาพ ครู กศน. เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาคุณภาพครู กศน. ตามสมรรถนะ, การพัฒนาหลักสูตรวิทยากรกระบวนการ เป็นต้น
- การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ควบรวม เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่โรงเรียนขนาดเล็กที่ยุบเลิกสำหรับการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชาชนทุกช่วงวัย ซึ่งมีแผนงานที่สำคัญ คือ ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชน, เปิดโอกาสให้ “คลังสมอง (ผู้เกษียณ)” ร่วมจัดการศึกษา, สร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นต้น
- แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาใน จชต. โดยมีแผนงานในการจัดการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายรวม 36,178 คน ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการมูลนิธิพระดาบส 120 คน, โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ 8,960 คน, โครงการส่งเสริมภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้และสื่อสาร 17,095 คน, โครงการรินน้ำใจสู่พี่น้องชาวใต้ 1,100 คน, โครงการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาบันศึกษาปอเนาะ 883 คน, โครงการกีฬา กศน. สานสัมพันธ์ชายแดนใต้ 2,500 คน, โครงการลูกเสือ 3,520 คน, มหกรรมวิทยาศาสตร์ 2,000 คน เป็นต้น นอกจากนี้มีแผนที่จะพัฒนาบุคลากร จัดประชุมติดตามการติดตามผลสัมฤทธิ์การยกระดับการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จชต. และการก่อสร้าง
● จุดเน้นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2560
- พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล : จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการขอประชาชน ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ “สะเต็มศึกษา” และการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มอัตราการรู้หนังสือ
- การผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา : จัดทำแผนอัตรากำลังล่วงหน้าระยะ 10 ปี พัฒนาศักยภาพครู กศน.ทุกประเภท และสำรวจข้อมูลและทบทวนหลักเกณฑ์การจ้างลูกจ้างแบบจ้างเหมาบริการ
- การผลิตและพัฒนากำลังคน และงานวิจัย : ยกระดับการศึกษาให้กับกลุ่มพนักงานรักษาความปลอดภัย และการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาในแต่ละพื้นที่
- ขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาและการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต : เร่งบริหารจัดการการใช้พื้นที่โรงเรียนขนาดเล็กที่ถูกยุบรวม การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย การส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนสำรวจข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ ส่งเสริมให้เกิดชุมชนรักการอ่าน
- ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา : พัฒนา กศน.ตำบล ให้มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่ และพัฒนาระบบแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (Portal Web) ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้
- พัฒนาระบบบริหารจัดการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา : สำรวจ วิเคราะห์ และปรับปรุงค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสร้างความรู้ ความตระหนัก และปลูกจิตสำนึกตามหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนความรู้เรื่องกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ● ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของสำนักงาน กศน. ปี 2559
มีโครงการสำคัญที่ดำเนินการ เช่น เปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล 7,424 แห่ง, จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) 7,424 แห่ง, ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ขยายผลการจัดอบรมให้กับประชาชน 352,282 คน, จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1,231,079 คน, ส่งเสริมการรู้หนังสือแก่ประชาชน 86,903 คน, จัดการศึกษาตามอัธยาศัย 22,161,480 คน ผ่านห้องสมุดประชาชน บ้านหนังสือชุมชน โครงการส่งเสริมการศึกษานอกระบบผ่านทีวีสาธารณะ และกิจกรรมศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นต้น

2 พฤศจิกายน 2559

การพัสดุ วิธี e-bidding วิธีอืนๆ

วิธี e-bidding
1. งานซื้อหรือจ้าง ที่มีวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท จะประกาศเผยแพร่ให้มีวิจารณ์หรือไม่ก็ได้
2. วงเงินงบประมาณต่ำกว่า 2 ล้านบาท สามารถดำเนินการจัดหาด้วยวิธี e-bidding ก็ได้
3. วงเงินงบประมาณ 1.9 ล้านบาท คำนวณราคากลางได้ 2.02 ล้านบาท จัดหาโดยวิธีสอบราคา แต่จะดำเนินการโดยวิธี e-bidding ก็ได้ (ใช้วงเงินงบประมาณเป็นตัวกำหนดวิธีการ)
4. การประกาศเผยแพร่..(ปิดประกาศ ณ ที่ทำการ เว็บไซต์หน่วยงาน เว็บไซต์ e-GP) ไม่ต้องส่ง สตง. แต่ถ้าจะส่งเป็นดุลพินิจของหน่วยงาน ถ้าส่งให้ส่งอย่างสม่ำเสมอ อย่าเลือกส่ง
5. ผู้เสนอราคาไม่นำต้นฉบับเช็คหรือพันธบัตร มาส่งให้ภายในกำหนด ถือผิดเงื่อนไขประกวดราคา ตามข้อ 5 และข้อ 6.2

วิธีอื่นๆ
1. วิธีกรณีพิเศษหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุสามารถ ลงนามใบสั่งซื้อได้ภายในวงเงินไม่เกิน. 100,000 บาท ตามระเบียบข้อ 59
2. วิธีตกลงราคา หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุมีอำนาจลงนามใบสั่งซื้อใบสั่งจ้าง ได้ภายในวเงินไม่เกิน 500,000 บาท ตามระเบียบข้อ 39
3. วิธีตกลงราคา ไม่มีระเบียบข้อใดที่กำหนดให้ต้องเปรียบเทียบ 3 ราย โดยส่วนใหญ่หน่วยงานตรวจสอบบอกว่าต้องให้เกิดการแข่งขัน (ระเบียบ ku) แต่วิธีตกลงราคามิใช่วิธีแข่งขัน ดังนั้นจึงเป็นดุลพินิจที่จะปฏิบัติตาม

ราคากลาง
1. อายุราคากลางงานก่อสร้าง มีอายุ 30 วัน นับแต่วันที่หัวหน้าหน่วยงานให้ความเห็นชอบ (มิใช่วันคำนวณราคา) ถึงวันประกาศสอบราคา หรือประกาศร่างวิจารณ์ หรือประกาศประกวดราค่า แล้วแต่กรณี
2. การเปิดเผยราคากลาง วงเงิน งบประมาณเกิน 100,000 บาท ต้องเผยแพร่ทุกวิธี
3. ระบบราคากลางอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เฉพะงานก่อสร้าง ส่วนราชการนำร่อง เริ่ม 1 พย 59 งานก่อสร้างวงเงินเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท

30 ตุลาคม 2559

การขยายระยะเวลากำหนดวงเงินวิธีการจัดหาพัสดุโดยยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535







ขอบคุณข้อมูล กลุ่มครูผู้ช่วย 57

ตัวอย่างแผนการเรียนรู้รายบุคคลและแนวทางการทำแผนการจัดการเรียนรู้รายบุคคล

ตัวอย่างแผนการเรียนรู้รายบุคคล ( ตามภาพประกอบ )

ลิ้งค์ >>> แนวทางการทำแผนการจัดการเรียนรู้รายบุคคล

- ควรกำหนดแผนการเรียนวิชาบังคับและวิชาเลือกบังคับ ให้ นศ.ทุกคนเรียนวิชาเหมือนกันในภาคเรียนเดียวกัน เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการเรียนการสอน โดยควรกำหนดการเรียนวิชาบังคับและวิชาเลือกบังคับให้ครบทั้ง 16 รายวิชาภายใน 3 ภาคเรียน เพื่อให้ นศ.ที่จะใช้เวลาเรียน 3-4 ภาคเรียน เรียนตามแผนนี้ ส่วนผู้ที่จะเรียนจบภายใน 1-2 ภาคเรียน จึงปรับแผนการลงทะเบียนเฉพาะราย

- แผนการเรียนวิชาเลือกเสรี ควรให้แต่ละสถานศึกษากำหนดเอง โดยให้ลงแทรกในแต่ละภาคเรียนของ นศ.แต่ละคน อาจให้ลงแทนวิชาบังคับที่ นศ.รายนั้นเทียบโอนได้ 
และจังหวัดอาจมอบให้สถานศึกษาวัดผลประเมินผลวิชาเลือกเสรีเอง ไม่ต้องนำมาเข้าตารางสอบของส่วนกลางหรือของจังหวัด รวมทั้งข้อสอบและวิธีสอบด้วย จังหวัดจะได้ลดภาระ ดำเนินการจัดสอบปลายภาคเฉพาะวิชาบังคับและวิชาเลือกบังคับ
ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย ยุติศรี



3 ตุลาคม 2559

โปรแกรม ITW51 2.0 รุ่นวันที่ 3 ต.ค.59

โปรแกรม ITW51 2.0 รุ่นวันที่ 3 ต.ค.59 มีรายการปรับปรุงดังนี้

1. ปรับให้ใช้กับวิธีเรียนทางไกลได้ ตั้งแต่บันทึกประวัติ (รหัสนักศึกษาทางไกล หลักที่ 4 จะเป็น 4,5,6),
การลงทะเบียน, การจัดสนามสอบ, การบันทึกคะแนนสอบ, จนถึงรายงานต่าง ๆ

2. แก้ไขเกี่ยวกับรายวิชา
2.1 ปรับเกณฑ์ตัดสินคะแนนปลายภาคของวิชาเลือกบังคับให้เหมือนกับวิชาบังคับ
2.2 แก้ไขตารางรหัสวิชา ปรับประเภทวิชาเป็น วิชาบังคับ วิชาเลือกบังคับ วิชาเลือกเสรี และเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลวิชาเลือกบังคับให้อัตโนมัติ
สามารถปรับสัดส่วนคะแนนหรือเกณฑ์การตัดสินคะแนนปลายภาคเป็นรายวิชาได้ หรือกำหนดให้เป็นไปตามตัวแปรระบบ
2.3 แก้ไขอ่านคะแนนปลายภาคจากแฟ้ม OMR ให้เลือกใช้เกณฑ์ตัดสินคะแนนปลายภาคและสัดส่วนคะแนนตามตารางรหัสวิชาหรือตัวแปรระบบ

3. เพิ่มเกณฑ์การจบ จำนวนหน่วยกิตวิชาเลือกบังคับ สำหรับนักศึกษาใหม่ตั้งแต่ภาคเรียน 59/1 มีผลต่อการตรวจสอบผู้จบและการแก้ไขข้อมูลจบ/ออก

4. เพิ่มเมนู (1-3-7) เปลี่ยนรหัสวิชาที่ลงทะเบียน ใช้สำหรับกรณีที่ลงทะเบียนผิดวิชา
เช่น เปลี่ยนรหัสวิชาการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน จากที่ลงทะเบียนเป็น พว02027 เปลี่ยนเป็น พว32023

5. เพิ่มเมนู (1-8-8) รายงาน “จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนและจบหลักสูตร” ใช้สำหรับรายงานให้ทางกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ
download โปรแกรมติดตั้ง ITW51 2.0 รุ่นวันที่ 3 ต.ค.59 ได้ที่
https://db.tt/dpyQcFs6
ใช้เวลาดาวน์โหลดนานพอสมควร เพราะไฟล์มีขนาดใหญ่ประมาณ 27 MB
การติดตั้ง ต้อง Remove หรือ Uninstall โปรแกรมรุ่นเก่าออกก่อน ถ้าจะติดตั้งรุ่นใหม่ลงในเครื่องเดิม ( อย่าลืม Backup ข้อมูลไว้ก่อน Remove หรือ Uninstall )
การ Remove หรือ Uninstall สำหรับวินโดว์ 10 ไปที่ control panel -> Program and Features -> เลือก ITw51 2.0 แล้วคลิก Remove หรือ Uninstall

2 ตุลาคม 2559

ประกาศสำนักงาน กศน. เรื่อง การกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบและการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบการเรียนทางไกล

ประกาศสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 
เรื่อง การกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบและการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบการเรียนทางไกล หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551


13 กันยายน 2559

ตั้ง จนท.การเงินฯ ตรวจรับพัสดุ ?

ตั้ง จนท.การเงินฯ ตรวจรับพัสดุ ได้หรือไม่ ?
จนท.การเงินเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุได้หรือไม่ ดูระเบียบได้ที่ไหน

ตอบ
เรื่องนี้ กลุ่งงานพัสดุ กลุ่มงานคลัง กศน. บอกว่า ได้ ไม่มีระเบียบห้าม ไม่มีข้อควรปฏิบัติห้าม
ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย


ครูอาสาเกษียณอายุ 60 ปี จะจ้างต่อเป็นตำแหน่งอื่นแบบจ้างเหมาบริการได้ไหม

1.ครูอาสาเกษียณอายุ 60 ปี จะจ้างต่อเป็นตำแหน่งอื่นแบบจ้างเหมาบริการได้ไหม, 2.แบบทดสอบหลังอบรมการจัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคล
.
1. ครูอาสาเกษียณอายุ 60 ปี สามารถจ้างเหมาบริการตำแหน่งนักวิชาการ โดยใช้เงินอุดหนุน จ้างได้ไหม อายุ 60 ปีจ้างต่อได้ไหม

เรื่องนี้ กลุ่มงานพัสดุ กลุ่มงานคลัง กศน. บอกว่า ให้ดูคุณสมบัติการจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งต่าง ๆ ที่สำนักงาน กศน.กำหนดไว้

มีบางตำแหน่งที่กำหนดอายุ เช่น ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ (ส่วนภูมิภาค) กำหนดว่า ต้องเป็นเพศชาย อายุ 25 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 60 ปี
แต่ตำแหน่งส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดอายุไว้ ถ้าไม่ได้กำหนดอายุไว้ก็จ้างได้

แต่ การจ้างเหมาบริการต้องจ้างให้ตรงกับเงินที่ใช้จ้าง เช่น จะจ้างตำแหน่งบรรณารักษ์ ต้องได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อการจ้างเหมาบริการตำแหน่งบรรณารักษ์โดยเฉพาะ หรือจะใช้เงินอุดหนุนจ้าง ก็จะจ้างเหมาบริการในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ไม่ได้ เช่น จ้างในตำแหน่ง จนท.การเงิน บัญชี แม่บ้าน ทำความสะอาด ไม่ได้ เป็นต้น
.

เวลาในการคุมสอบ

กศน.ทำคำสั่งแต่งตั้งให้ นาย ก และคณะ คุมสอบในวันที่ 15-16 กันยายน 2555  แต่นาย ก และคณะเดินทางไปราชการตั้งแต่วันที่ 13-15 กันยายน 2555
อยากทราบว่า ทาง กศน. จะใช้หลักฐานของ นาย ก และคณะ เบิกเงินค่าตอบแทนคุมสอบได้หรือไม่ ถ้าเบิกไม่ได้ ใครผิด

ตอบว่า การคุมสอบ ต้องลงเวลาทำงาน การไปราชการก็ต้องระบุวันเวลาออกเดินทางและวันเวลากลับมาถึง เวลาทั้งสองอย่างนี้จะเหลื่อมซ้อนกันไม่ได้ เช่น ในรายงานการเดินทางบอกว่ากลับมาถึงวันที่ 15 เวลา 11:00 น. แต่ลงเวลามาคุมสอบวันที่ 15 เวลา 8:00 น. ซ้อนกันอย่างนี้ไม่ได้ ผู้เบิกเงิน ( ผู้ลงนามรับเงิน ) คือผู้มีความผิด ส่วนผู้ทำเรื่องเบิกเงิน ผู้จ่ายเงิน และผู้บริหาร ของ กศน. ถ้าเห็นว่ามาคุมสอบ ก็ไม่มีความผิด

การหาค่าขีดจำกัดล่าง


นำเสนอข่าวและบทความ >>>>โดย ครู กศน.ดอทคอม 


   การทำ SAR กับ ค่าขีดจำกัดล่าง
ทุก กศน.อำเภอ/เขต ต้องทำ SAR ( รายงานการประเมินตนเอง ) ทุกปี ตอนนี้ถึงเวลาส่ง SAR ปี งปม.57 แล้ว
วิธีการคำนวณ ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อทำ SAR
- ให้โปรแกรม ITw คำนวณให้ ง่ายนิดเดียว
- SAR เป็นการประเมินภายใน ใช้ค่าขีดจำกัดล่างของการสอบปลายภาค และเปรียบเทียบ 2 ปีงบประมาณ ( ถ้าเป็นการประเมินภายนอกโดย สมศ. จะใช้ค่าขีดจำกัดล่างของ N-NET และเปรียบเทียบ 2 ปีการศึกษา )
- ทำ SAR ปีงบประมาณ 2557 ต้องเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างปีงบประมาณ 2557 (ภาค 2/56 และ 1/57 ) กับ ปีงบประมาณ 2556 ( ภาค 2/55 และ 1/56 )

- เข้าโปรแกรม ITw ไปที่เมนู 1 - A - 1 - 4 ( ขั้นตอนการดำเนินงาน - รายงาน - รายงานผลการเรียน... - รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน )
.

- จะเห็นว่าโปรแกรมกรอกค่าขีดจำกีดล่างของภาค 2/55 กับ 1/56 ไว้ให้แล้ว ให้เราเลือกปีงบประมาณ 2557 แล้วกรอกค่าขีดจำกัดล่างภาค 2/56, 1/57 เอง โดยใช้ข้อมูลที่
http://www.pattanadownload.com/download/g.2/g2.23.rar 
(ค่าขีดจำกัดล่างคือค่า Y ใน Sheet1 ทศนิยมกรอกเพียง 2 ตำแหน่ง ตัดตำแหน่งที่ 3 ทิ้งไป ไม่ต้องปัด กรอกเสร็จแล้วอย่าลืมคลิกที่ "บันทึกค่าขีดจำกัดล่าง")
แค่ เพียงเราคลิกที่ "ตัวอย่างก่อนพิมพ์" หรือ "พิมพ์" เท่านั้น โปรแกรมก็จะคำนวณให้เสร็จเรียบร้อยเลย ในชั่วพริบตา ( ถ้าลงคะแนนสอบปลายภาคไว้ครบถ้วนแล้ว โปรแกรมบวกลบคูณหารให้เอง )
- ในกรณีที่ค่าขีดจำกัดล่างบางภาคเรียนยังไม่ออก ( เช่น ของภาค 1/57 คงจะออกภายในเดือน ต.ค.57 ) ถ้าต้องรีบส่ง SAR ให้ปล่อยว่างภาคเรียนนี้ไว้ก่อน คำนวณเท่าที่มีไปก่อน แต่เมื่อภายหลังได้ค่าขีดจำกัดล่างแล้ว ต้องเข้ามากรอกในโปรแกรม คำนวณใหม่ ปรับแก้ SAR ในส่วนนี้ใหม่

27 กรกฎาคม 2559

การออกใบ รบ.ให้กับคนต่างด้าว

นักศึกษา แม่เป็นพม่าไม่มีนามสกุล พ่อไทย .. ออก รบ.ได้หรือไม่

หลักสูตร 51 ลูกเป็นสัญชาติไทย แม่ทิ้งไปตั้งแต่เป็นทารก หาแม่ไม่เจอ จึงเป็นปัญหาอยู่ ผอ.อำเภอไม่เซ็น รบ.ให้ ท่านบอกว่าให้เอาบัตรประชาชนแม่มายืนยัน เด็กจบมาหนึ่งปีแล้ว


ตอบว่า ถ้าเขามีทะเบียนบ้าน สามารถออกใบ รบ.ตามทะเบียน ชื่อแม่ในทะเบียนเขาพิมพ์ว่าอย่างไร ก็พิมพ์ตามแบบนั้นเลย 
ถ้าเขามีแต่ชื่อ เราก็พิมพ์แต่ชื่อ 
ถ้าเขาว่างไว้ ก็ว่างตามเขา 
ถ้าเขาพิมพ์ว่า “ไม่ปรากฏ” เราก็พิมพ์ว่า “ไม่ปรากฏ” ลงในช่องชื่อมารดาตามเขา

แม้แต่คนต่างด้าวก็ออกใบ รบ.ได้ ไม่ว่าเขาจะเป็นลูกใคร แม่เป็นใครก็ได้
ถ้ารับเขาให้เข้าเรียนจนจบแล้วไม่ออกใบ รบ.ให้เขา เป็นความผิดของเรา ถ้าเขาฟ้องร้องก็ต้องรับผิดชอบ

ตามหลักเกณฑ์ ถ้าเขามี สูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิด หรือบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกัน เราก็ออกใบ รบ.ตามที่ระบุในหลักฐานเหล่านี้ ช่องไหนเขาเว้นว่างก็ว่างตาม ช่องไหนเขาพิมพ์ว่า "ไม่ระบุชื่อบิดา" เราก็พิมพ์ว่า "ไมะระบุชื่อบิดา" ลงในช่องชื่อบิดา ( แต่ถ้าเป็นชื่อ-สกุลนักศึกษา โปรแกรมจึงจะไม่ยอมให้เว้นว่าง ถ้านักศึกษาไม่มีนามสกุล ให้พิมพ์ขีด - ลงไป )

แต่ถ้าเขาไม่มีหลักฐานใดๆเลย ควรแนะนำให้เขาไปขึ้นทะเบียนที่อำเภอ/เขตพื้นที่ที่เขาอาศัยก่อน หรือใช้ "บันทึกแจ้งประวัติบุคคล" แทน ( เป็นไปตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวปฏิบัติการรับนักศึกษาของสำนักงานบริหารการศึกษานอกโรงเรียน ปีการศึกษา 2548 มีอยู่ในคู่มือทุกหลักสูตร ทุกเล่ม เคยตอบเรื่องนี้หลายครั้งแล้ว ดูคำตอบเก่าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ใน
- ข้อ 1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/533649
- ข้อ 5 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/404017 )


ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย

ระเบียบการลา

 ข้าราชการ กับ พนักงานราชการ ใช้ระเบียบการลาคนละฉบับ (ไม่เหมือนกัน)

- การลาของข้าราชการพลเรือน ดูที่  >>> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/022/1.PDF 


- การลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดูที่ >>> http://www.satreephuket.ac.th/people_manage/document_hr/absent_howto.pdf 


- การลาของพนักงานราชการ ดูที่ >>> http://cdn.gotoknow.org/…/fil…/000/804/903/original_use.pdf… 


- การลาของลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว อยู่ในระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ ข้อ 19-31 ดูที่ >>> http://ahph9thi.gotoknow.org/…/0…/819/418/original_sunla.pdf 




กรณี นศ.แก้ใบ รบ. เปลี่ยนเกรดเฉลี่ยให้มากขึ้นเอง

กรณี นศ.แก้ใบ รบ. เปลี่ยนเกรดเฉลี่ยให้มากขึ้นเอง จะทำอย่างไร สมัยก่อน ใบ รบ ใช้ปากกาเขียน
ตอบว่า ตอบกลับไปไปยังหน่วยงานที่เขาส่งมาให้เราตรวจสอบ ว่า ใบ รบ.มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกรดเฉลี่ย ถือเป็นใบ รบ.ชำรุด ใช้ไม่ได้ ( ให้ นศ.มาทำใบ รบ.ใหม่ )

แบบประเมินครู กศน.ตำบล และครูอาสาฯ รอบ 2 ( 1 เม.ย.- 30 ก.ย.59 )

แบบประเมินครู กศน.ตำบล และครูอาสาฯ รอบ 2 ( 1 เม.ย.- 30 ก.ย.59 )
พร้อมกรอกคะแนนเป็นตัวอย่าง
https://db.tt/ICPWrLQU 

6 มิถุนายน 2559

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. ลว. 28 มี.ค. 2559

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนสำนักงาน กศน.
1.คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 604/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุน สำนักงาน กศน. ลว. 28 มี.ค. 2559





ความรู้เพิ่มเติมจาก"โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล"

เมื่อวันที่ 2-3 มิ.ย.59 มีโอกาสฟังท่านรองฯ กิตติศักดิ์ กับท่าน ผอ.สัจจา บรรยายใน "โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล" แก่ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ/เขต ณ โรงแรมหรรษาเจบี หาดใหญ่ สงขลา

1) หนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับ จะใช้วิธีซื้อไม่ได้ ต้องใช้วิธีจ้าง เพราะลิขสิทธิเนื้อหาเป็นของ กศน. กำลังจะให้องค์การค้า สกสค. เป็นผู้พิมพ์จำหน่ายในภาคเรียนหน้า ( รวมทั้งหนังสือเรียนวิชาเลือกที่สถานศึกษาพัฒนาเนื้อหาขึ้น ก็ต้องใช้วิธีจ้าง )
ส่วนหนังสือเรียนวิชาบังคับ จะใช้วิธีซื้อหรือจ้างก็ได้  โดยถ้าเอกชนเป็นผู้พัฒนาเนื้อหาก็ใช้วิธีซื้อ ถ้าพิมพ์ตามต้นฉบับของ กศน.ก็ใช้วิธีจ้าง

ปัญหาคือ ถ้าสถานศึกษาจะแบ่งงบประมาณค่าหนังสือเรียนที่ได้รับ ออกเป็นสองส่วน เช่น จ้างพิมพ์วิชาเลือก และซื้อวิชาบังคับ จะถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างซึ่งจะทำไม่ได้ หรือไม่


ประเด็นนี้ ถ้า การแบ่งงบประมาณแล้วทำให้เปลี่ยนอำนาจผู้ซื้อจากจังหวัดเป็นอำเภอ และ/หรือ เปลี่ยนวิธีซื้อ/จ้าง จากวิธีสอบราคา/ประกวดราคา เป็นวิธีตกลงราคา ก็จะเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างที่ห้ามทำ

แต่ถ้าวงเงินทั้งหมดที่สถานศึกษาได้รับไม่เกินห้าแสนบาท
 สถานศึกษาซื้อเองโดยวิธีตกลงราคาอยู่แล้ว แม้จะแบ่งเป็นสองส่วน ซื้อบางส่วนจ้างบางส่วน ก็ยังซื้อ/จ้างโดยสถานศึกษาด้วยวิธีตกลงราคาเช่นกัน สามารถทำได้ ไม่ถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง

2) หนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับ จะเป็น "ชุดวิชา" คือ 1 วิชามีมากกว่า 1 เล่ม/รายการ ( หนังสือเรียน กับ สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ )
วิชาบังคับ ภาคเรียนต่อไปก็จะเปลี่ยนเป็นชุดวิชา
สามารถใช้งบที่จัดสรรเป็นค่าหนังสือเรียน จ้างได้ทั้ง 2 อย่าง โดยภาคเรียนแรกอาจจ้างเท่ากันทั้ง 2 อย่าง ส่วนภาคเรียนต่อ ๆ ไป อาจจ้างพิมพ์สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่า หรือจ้างพิมพ์เฉพาะสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้

3) จุดสำคัญในการพิจารณาใบเสนอราคา มี 3 อย่าง
- จำนวนเงิน ( ตรวจสเป็คก่อน ถ้าสเป็คถูกต้อง และไม่ผิดเงื่อนไข ต้องซื้อ/จ้างจากรายที่เสนอราคาต่ำสุด )

- ต้องมีลายมือชื่อผู้เสนอราคา
- ต้องมีกำหนดวันส่งมอบ

4) สัญญาซื้อ/จ้าง สามารถแก้ไขได้ถ้ามีเหตุผลความจำเป็น โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้จนถึงก่อนวันตรวจรับ
หลักประกันสัญญา เก็บในที่ปลอดภัย แต่ไม่ต้องเก็บในตู้เซฟ

5) การซื้อ/จ้าง หนังสือเรียน ถ้าส่งของไม่ครบถ้วน ให้คำนวณค่าปรับและจำนวนวันที่ปรับ เฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบเท่านั้น

6) ถ้าเราส่งมอบต้นฉบับ/ส่งมอบพื้นที่ช้า กี่วัน ให้ขยายเวลาเท่านั้น

7) ใช้เงินอุดหนุน
 จ้างเหมาบริการในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ไม่ได้ เช่น  
จ้างในตำแหน่ง จนท.การเงิน บัญชี แม่บ้าน ทำความสะอาด ไม่ได้

8) การเปิดสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งต่อไป ( อีกนาน ยังไม่มีกำหนด ) เราถูกกำหนดให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เช่นเดียวกับ สพฐ. คือ กลุ่มที่รับเฉพาะคนในสังกัด กับกลุ่มที่รับบุคคลทั่วไป และ ต้องกำหนดวิชาเอก
เราจะแบ่งเป็นกลุ่มที่รับบุคคลทั่วไปน้อยกว่า อาจจะแบ่งรับคนทั่วไป 30 % และรับคนในสังกัด 70 % ( สอบกลุ่มคนในให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจึงเปิดรับสมัครกลุ่มคนทั่วไป โดยคนในสังกัดก็สามารถสมัครในกลุ่มคนทั่วไปได้อีก )
ในส่วนของการกำหนดวิขาเอก ก็จะสำรวจจากวุฒิของพนักงานราชการที่เป็นคนในสังกัดว่าจบเอกอะไรกันมา แล้วกำหนดรับวิชาเอกตามนั้น

9) สิ่งที่เราทำผิด ตามที่หน่วยงานภายนอกที่มาตรวจสอบ ชี้มูล เรื่องหนึ่งคือ เราไม่ทำ "แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดซื้อจัดหาพัสดุ" ( ประเด็นนี้ หน่วยงาน/สถานศึกษา ต้องแก้ไข )
การซื้อการจ้างราคาเกิน 100,000 บาท ต้องตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
ถ้าของบฯเพิ่มเติมได้ ก็ซื้อเกินราคากลางได้ แต่ไม่เกิน 10 %

ขอบพระคุณเนื้อหาข้อมูล อ. เอกชัย ยุติศรี

กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำ ของข้าราชการครู กศน.

กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำ ของข้าราชการครู กศน.

ก.ค.ศ. ได้กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำของ ขรก.ครู กศน. ไว้เมื่อปี 2553 โดยกำหนดจำนวนชั่วโมง “ภาระงานสอน” ไว้ว่า ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์

( ผู้ที่ทำผลงานวิชาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าระบุภาระงานสอนต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะไม่ผ่าน )



แต่ภาะงานสอนนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็น “การสอน” อย่างเดียว แต่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
2) ภาระงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการเรียนการสอน
3) ภาระงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา


ข้อ 2) กับ 3) จะเป็นกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมกับ 1) แล้ว ต้องไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
.
ท่านหัวหน้าหน่วย ศน. Pong Angkana บอกว่า ที่นิเทศมาพบว่าส่วนใหญ่ ขรก.ครูไม่เคยทราบเรื่องการเทียบเคียงการสอนที่ไม่ใช่การสอนในห้องเรียนนี้ ไม่เข้าใจและกังวล

ซึ่ง แม้แต่
ข้อ 1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการสอนในห้องเรียนเท่านั้น แต่หมายถึงการสอนทั้งหมดที่มีตารางกำหนดเวลา เช่น การสอน การฝึกอบรม การสาธิต การเป็นวิทยากรในการจัดประชุมสัมมนาที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดนิทรรศการ การจัดรายการวิทยุ-โทรทัศน์ การเผยแพร่ความรู้ การแนะแนว การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงาน
ทั้งหมดนี้คือชั่วโมงสอนตามตารางสอน ซึ่งต้องรวมไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนข้อ 2) กับ 3) คืออะไร
ดูรายละเอียดพร้อมหนังสือแจ้ง ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/1090140…/…/teachwork.pdf

การจัดการศึกษาต่อเนื่องไม่จำกัดอายุ

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง กศน.จัดให้เฉพาะผู้ที่มีอายุ 15 - 59 ปี วัยแรงาน ถ้าต่ำกว่า 15 ปี ไม่ได้ใช่ไหม เช่น เด็กในระบบ 10 - 12 ปี ไม่ได้ ถูกหรือเปล่า

ตอบว่า การจัดการศึกษาต่อเนื่องไม่ได้จำกัดอายุ อยู่ที่ลักษณะเนื้อหาวิชา โดยการจัดการศึกษาต่อเนื่องแบ่งเป็นหลายประเภท คือ อาชีพ ทักษะชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บางเนื้อหาวิชามุ่งจัดสำหรับผู้สูงอายุก็มี บางเนื้อหาวิชากลุ่มเป้าหมายอาจเป็นทั้งผู้ปกครองและเด็ก

แต่ เนื่องจาก กศน.มีหน้าที่จัดการศึกษานอกระบบ จึงไม่ควรจัดการศึกษาต่อเนื่องในโรงเรียนโดยที่กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนในระบบทั้งหมด

ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย ยุติศรี

ตรวจสอบวุฒิโรงเรียนผู้ใหญ่

ตรวจสอบวุฒิโรงเรียนผู้ใหญ่
ตอบว่า การตรวจสอบวุฒิการศึกษาที่ออกจากโรงเรียนผู้ใหญ่ที่ยุบเลิกไปแล้ว ต้องส่งเรื่องตรวจสอบไปที่ กศน.จังหวัด

ครูผู้ช่วย ถ้าไปตรวจสุขภาพที่ รพ. แล้วนำใบเสร็จมาเบิกได้หรือปล่าว

2.2 ครูผู้ช่วย ถ้าไปตรวจสุขภาพที่ รพ. แล้วนำใบเสร็จมาเบิกได้หรือปล่าว

ตอบว่า ครูผู้ช่วยไปตรวจสุขภาพที่ รพ.แล้วนำใบเสร็จมาเบิกได้ตามสิทธิ์ ( ตรวจสุขภาพได้ปีละไม่เกิน 1 ครั้ง ตรวจบางอย่าง บางช่วงอายุเบิกไม่ได้ )

ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย ยุติศรี

5 มิถุนายน 2559

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินงบอุดหนุน

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินงบอุดหนุน
1. คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 605/2559 ลว. 28 มี.ค. 59

http://buriram.nfe.go.th/e_office/photo/2672.pdf

หลักเกณฑ์ อัตราและวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจัดสรรคเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคลสังกัด กศน.(การเทียบระดับการศึกษาขั้นสุดยอดของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

หลักเกณฑ์ อัตราและวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจัดสรรคเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคลสังกัด กศน.(การเทียบระดับการศึกษาขั้นสุดยอดของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน)




การเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน (การศึกษาต่อเนื่อง)

การเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน (การศึกษาต่อเนื่อง)





หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ลว 18 เม.ย.59

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ







2 มิถุนายน 2559

กศน.อำเภอ/เขตไม่มีอำนาจจ้างเหมาบริการรายเดือนทุกตำแหน่ง

แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งมอบอำนาจ เป็น กศน.อำเภอ/เขตไม่มีอำนาจจ้างเหมาบริการรายเดือนทุกตำแหน่ง

ให้ของที่ระลึกวิทยากรแทนการจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร ไม่ถูกต้อง

1.ให้ของที่ระลึกวิทยากรแทนการจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร ไม่ถูก, 2.การเปลี่ยนชื่อ

ตอบว่า  ไม่มีระเบียบให้ใช้เงินงบประมาณซื้อของที่ระลึกให้วิทยากร

ถามต่อว่า แล้วค่าของสมนาคุณ มันแตกต่างจากของที่ระลึกตรงไหน

ตอบว่า “ค่าสมนาคุณวิทยากร” ( ไม่ใช่ค่า ของ สมนาคุณวิทยากร ไม่มีคำว่า ของ ) ก็คือค่าตอบแทนวิทยากรนั่นเอง มีเกณฑ์การจ่ายเป็นเงิน ( บาท ) 

ที่เขาให้ของที่ระลึกกับวิทยากรกันนั้น เขาใช้เงินนอกระบบซื้อของที่ระลึกกัน หรือเป็นของที่ระลึกที่ไม่ต้องซื้อใหม่
แต่ถ้าหมายถึง ในการฝึกอบรมนั้นมีการไปดูงาน จึงจะจ่าย “ค่าของสมนาคุณในการดูงาน” โดยเบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แห่งละ ( ไม่ใช่คนละ ) ไม่เกิน 1,500 บาท ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ ( ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 ข้อ 8 (11)
ดูระเบียบฉบับปี 55 นี้ได้ที่ http://www.audit.moi.go.th/pdf_new/3-2555.pdf

ส่วนค่าสมนาคุณวิทยากร อยู่ในข้อ 8 (12)

ผู้ถาม เขียนต่อ ว่า เชิญวิทยากร ไม่มีค่าตอบแทนวิทยากร แต่ซื้อของที่ระลึกมอบให้วิทยากร ในโครงการเขียนไว้ว่าซื้อของที่ระลึกมอบให้วิทยากร
ผมตอบว่า ถึงแม้โครงการจะเขียนไว้ และโครงการได้รับอนุมัติแล้ว แต่ถ้าไม่มีระเบียบรองรับก็เบิกจ่ายไม่ได้ ต้องขอแก้ไขโครงการจากผู้อนุมัติโครงการ เปลี่ยนเป็นค่าสมนาคุณวิทยากรซึ่งวิทยากรต้องเซ็นชื่อรับเงินสมนาคุณเป็นหลักฐาน

17 พฤษภาคม 2559

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอโอนเป็นข้าราชการครู

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอโอนเป็นข้าราชการครู เป็นเอกสารหลักฐานที่แสดงคุณสมบัติตามข้อ 1.- 3. 

โดยเอกสารหลักฐานที่แสดงคุณสมบัติตามข้อ 3. ( ประสบการณ์การสอน ) ค่อนข้างจะจัดหา/จัดทำยากสักหน่อย เท่าที่ทราบ ก.ค.ศ.เคยขอเอกสารหลักฐานตามข้อ 3. คือ

- หนังสือรับรองประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในการสอน ระบุช่วงเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ และรายงานว่าทำการสอนวิชาใดบ้าง จำนวนสัปดาห์ละกี่ชั่วโมงหรือกี่คาบ รวมทั้งรายชื่อนักเรียน/นักศึกษาที่ทำการสอนในแต่ละภาคเรียน โดยให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับรองข้อมูลดังกล่าวด้วย

- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน/นักศึกษา จากการเรียนการสอนในแต่ละภาคเรียน โดยให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับรองข้อมูลดังกล่าวด้วย
( เคยเขียนเรื่องนี้ ในข้อ 3 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2013/11/asean.html )

ส่วนเมื่อโอนเป็น ขรก.ครูแล้ว จะยื่นขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการได้ ต้องเป็นครูแล้ว 6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิ ป.ตรี, 4 ปีสำหรับ ป.โท, 2 ปีสำหรับ ป.เอก ( ชายแดนใต้ ลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง ) แต่ถ้ามีประสบการณ์การสอนก่อนโอน จะลดเวลาลงได้อีก แต่ถึงลดได้ ก็ลดได้ไม่หมด ต้องมาเป็นครูอย่างน้อย 2 ปี จึงจะยื่นขอชำนาญการได้ ประสบการณ์การสอนนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1) ประสบการณ์ในการสอนโดยตรง
จำนวนชั่วโมงสอนอย่างต่ำ กำหนดในแต่ละสังกัดไม่เท่ากัน เช่น อาชีวศึกษาจะกำหนดไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วนการสอนในสถานศึกษา กศน. กำหนดไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
ถ้าเคยสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กีปี ก็ลดได้เท่านั้นปี

ถ้าเคยสอนสัปดาห์ละไม่ถึง 10 ชั่วโมง แต่ถึงครึ่ง คือสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง แต่ไม่ถึง 10 ชั่วโมง ก็ลดเวลาได้ครึ่งหนึ่ง เช่น เคยสอนสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง อยู่ 2 ปี ก็ลดเวลาได้ 1 ปี
ถ้าเคยสอนสัปดาห์ละไม่ถึงครึ่ง เช่นสอนสัปดาหล์ละ 4 ชั่วโมง จะลดเวลาได้ 1 ใน 4 เช่น นาย ก. วุฒิ ป.ตรี อยู่จังหวัดอื่นที่ไม่ใช่ชายแดนใต้ โอนมาเป็น ขรก.ครู โดยก่อนโอน เป็น ขรก.ตำแหน่งบรรณารักษ์ ซึ่งในช่วงที่เป็นบรรณารักษ์นั้นได้เป็นครูประจำกลุ่มด้วย สอนสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง อยู่ 4 ปี กรณีนี้จะลดเวลาได้เพียง 1 ปี คือต้องโอนเป็น ขรก.ครูแล้ว 5 ปี จึงจะยื่นขอชำนาญการได้

2) เคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ไม่ใช่ การสอนโดยตรง เช่น งานบริหารจัดการศึกษา กรณีนี้ถ้าเคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ ลดเวลาได้ครึ่งหนึ่งของเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ดูรายละเอียดเรื่องการใช้ประสบการณ์สอน ลดเวลาขอชำนาญการ ในระเบียบหลักเกณฑ์ได้ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014…/…/experience.pdf


ขอบคุณ ข้อมูล อ.เอกชัย

การทำวิทยฐานะ ครูชำนาญการ

การทำวิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย

16 พฤษภาคม 2559

กรณีที่เดินทางไปราชการ ทำไมการเงินถึงให้เขียนบิลน้ำมันเป็นชื่อคนที่เป็นเจ้าของโครงการ

กรณีที่เดินทางไปราชการ ทำไมการเงินถึงให้เขียนบิลน้ำมันเป็นชื่อคนที่เป็นเจ้าของโครงการ
เรื่องนี้ อ.ชลดา หน่วยตรวจสอบภายใน กศน.


ตอบว่า ต้องเขียนชื่อสำนักงาน ไม่ว่าจะซื้อระหว่างไปราชการ หรือซื้อในโครงการ หรือซื้อแบบใด ถ้าเป็นการขอใช้รถส่วนตัวไปราชการ ก็ไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
( การเขียนชื่อคน อาจจะทำให้ส่อไปในทางที่ นำใบเสร็จค่าน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนตัว มาเขียนชื่อหน่วยงานเพิ่มเติมแล้วนำมาเบิกเงินจากทางราชการ )

ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้อง ต้องประกอบด้วยข้อมูลสำคัญดังนี้

- วัน เดือน ปี
- สถานที่ออกใบเสร็จรับเงิน ถ้าเป็นใบเสร็จรับเงินจากสำนักงานใหญ่ ต้องระบุสาขาหรือสถานที่ประกอบการนั้น ๆ
- ชื่อหน่วยงานที่จ่ายเงิน
- ทะเบียนรถ ต้องถูกต้องตรงกันกับใบขออนุมัติการเดินทาง
- ต้องระบุปริมาณน้ำมัน ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น (ทั้งตัวเลข ตัวอักษร)
- มีผู้เซ็นชื่อรับเงิน

การศึกษาต่อเนื่อง อะไรจัดและเบิกจ่ายแบบฝึกอบรมได้ อะไรไม่ได้ ?

การศึกษาต่อเนื่อง อะไรจัดและเบิกจ่ายแบบฝึกอบรมได้ อะไรไม่ได้ ?
.
กป.กศน.ร่างคู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่องแบบฝึกอบรมเสร็จแล้ว เสนอถึงท่านรองเลขาฯแล้ว ถ้าผ่านท่านรองฯก็จะเสนอถึงท่านเลขาฯต่อไป ถ้าท่านรองฯและท่านฯเลขาไม่ให้ปรับแก้ก็คาดว่าจะส่งให้จังหวัดภายในสัปดาห์หน้า
.
ถ้าแบ่ง การศึกต่อเนื่อง ออกเป็น 3 ประเภท ( เอกสารแต่ละฉบับแบ่งต่างกัน บางฉบับแยก “การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม” ออกจากประเภทอื่น บางฉบับนำไปรวมเป็นประเภทย่อยของ การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นต้น )

1. การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ( ข้อ 2.1 ในแผน/คำรับรองฯฉบับเอ็กเซล ทั้งหมด งบรายจ่ายอื่นทั้งหมด และงบดำเนินงานบางส่วนจากการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ) จัดแบบฝึกอบรมไม่ได้ ต้องจัดแบบกลุ่มสนใจ หรือชั้นเรียนระยะสั้น
- ฝึกอาชีพ
- ช่างพื้นฐาน
- พัฒนาอาชีพ ( ต่อยอดอาชีพเดิม )

2. การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน งบดำเนินงาน ทั้งหมด รวมทั้งการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม จัดแบบฝึกอบรมได้
- เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการบัญชีครัวเรือน
- หมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
- การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

3. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต งบดำเนินงาน 
3.1 การฝึกอาชีพหลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง ตามข้อ 2.1 ในแผน/คำรับรองฉบับเอ็กเซล ให้จัดแบบกลุ่มสนใจเท่านั้น
3.2 โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จัดแบบฝึกอบรมได้
- อื่น ๆ นอกเหนือจาก 3.1
- จัดหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ ( จัดในบางอำเภอ )
- เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ( จัดในบางตำบล )
.
การสอนสายอาชีพแบบกลุ่มสนใจ และหลักสูตรระยะสั้น ไม่ต้องทำเป็นโครงการ แต่การจัดแบบฝึกอบรมต้องทำโครงการและอาจมีข้อกำหนดอื่น เช่น หลักสูตร 1-3 วัน หลักสูตรละ 20 คนขึ้นไป ( คอยดูในคู่มือแบบฝึกอบรม )

กรณีจัดจ้างทำตรายางจากร้านค้า วงเงินไม่เกินแปดร้อยบาท

กรณีจัดจ้างทำตรายางจากร้านค้า วงเงินไม่เกินแปดร้อยบาท ร้านค้าเขียนบิลเงินสดให้ แล้วประทับตราร้านค้าและเซ็นต์รับ มีลายเซ็นต์ผู้รับเงิน ระบุวันที่ ระบุชื่อหน่วยงาน กศน.อำเภอ แต่ไม่ระบุชื่อจริงเจ้าของร้าน และในบิลมีคำว่าเล่มที่ เลขที่ แต่ไม่ได้ระบุตัวเลข ถามว่า

1) บิลนี้สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบพัสดุหรือไม่ เนื่องจากไม่มีหมายเลขเล่มที่ และเลขที่
2) จำเป็นหรือไม่ในส่วนของนามลูกค้านั้นจะต้องระบุทั้งชื่อ กศน.อำเภอ และสถานที่ตั้งอย่างชัดเจน ถ้าระบุเพียงชื่อหน่วยงานอย่างเดียวจะได้หรือไม่
3) ในการทำใบสั่งจ้าง เราสามาถจ้างในนามร้านค้า โดยไม่ระบุชื่อเจ้าของร้านได้หรือไม่ คือในเอกสารผู้รับจ้างพิมพ์เป็นชื่อร้านค้า ตรงลายเซ็นเขียนเป็นชื่อร้านค้า ข้างล่างพิมพ์ชื่อร้านค้าแล้วประทับตราร้านค้า (กรณีนี้ร้านค้าไม่ได้จดทะเบียน)
ตอบว่า
1) การจ่ายเงินค่าพัสดุ ต้องมีใบเสร็จรับเงิน ( หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ใบรับ ) เป็นหลักฐาน และถ้าจ่ายให้ผู้รับเงินที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มอีกด้วย แต่ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษานี้อาจรวมอยู่ในใบเดียวกันได้
2) ใบเสร็จรับเงินไม่จำเป็นต้องมีเล่มที่เลขที่ แต่ใบกำกับภาษีต้องมีเลขที่หรือหมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี ส่วนเล่มที่จะมีหรือไม่ก็ได้
3) ทั้งใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ) และใบกำกับภาษี ต้องระบุทั้งชื่อ และที่อยู่ของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ( คำว่าชื่อ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาหมายถึงชื่อคน ถ้าไม่ใช่บุคคลธรรมดาหมายถึงชื่อองค์กร/หน่วยงาน/นิติบุคคล )
4) ทั้งใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ) รวมทั้งตรงลายเซ็นในใบสั่งจ้าง ต้องมีลายเซ็น/ลงลายมือชื่อ ซึ่งเป็นลายเซ็นของคนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องเป็นลายเซ็น(ลายมือชื่อ)ของคน ( ลายเซ็นของผู้บริหาร/ผู้รับมอบอำนาจ/หรือบุคคลธรรมดาในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา )
5) ใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ, บิลเงินสด) จะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 6 รายการ คือ
5.1 ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
5.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้รับเงิน ( ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา เช่นบุคลากร หรือซื้อข้าวโพดจากชาวไร่ ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน )
5.3 วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
5.4 รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
5.5 จำนวนเงินทั้ง ตัวเลข และตัวอักษร
5.6 ลายมือชื่อผู้รับเงิน
6) ใบกำกับภาษีจะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 8 รายการ คือ
6.1 มีคำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
6.2 เลขที่หรือเลขลำดับใบกำกับภาษี
6.3 วันที่ออกใบกำกับภาษี
6.4 ชื่อ+ที่อยู่ ของผู้ออกใบกำกับภาษี ( ผู้ประกอบการหรือตัวแทน)
6.5 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
6.6 ชื่อที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
6.7 รายการชื่อสินค้า ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน
6.8 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( แยกจากราคาสินค้า )
( ในกรณีที่แยกออกใบเสร็จรับเงินให้อีกต่างหากด้วย ในใบกำกับภาษานี้ก็จะมีลายเซ็นผู้รับเงินหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้อีกต่างหาก ต้องนำรายการต่าง ๆ ของใบเสร็จรับเงินมารวมไว้ในใบกำกับภาษีนี้ด้วย )
สรุป คำตอบของคำถาม 3 ข้อ
1) ถ้าเป็นใบเสร็จรับเงิน ( ผู้ขายไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ) ไม่ต้องมีเล่มที่เลขที่ ก็สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบพัสดุ
2) ให้ระบุทั้งชื่อ และที่อยู่ ของผู้ซื้อ
3) การทำใบสั่งจ้าง สามารถจ้างในนามร้านค้าโดยระบุชื่อผู้รับจ้างเป็นชื่อร้านค้าได้ แต่ตรงลายเซ็น (ลายมือชื่อ) ด้านล่าง ต้องเป็นลายเซ็น(ลายมือชื่อ)ของคน คือผู้บริหาร/ผู้รับมอบอำนาจ/หรือบุคคลธรรมดาในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา
ขอบคุณ อ.เอกชัย ยุติศรี

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...