16 พฤษภาคม 2559

กรณีจัดจ้างทำตรายางจากร้านค้า วงเงินไม่เกินแปดร้อยบาท

กรณีจัดจ้างทำตรายางจากร้านค้า วงเงินไม่เกินแปดร้อยบาท ร้านค้าเขียนบิลเงินสดให้ แล้วประทับตราร้านค้าและเซ็นต์รับ มีลายเซ็นต์ผู้รับเงิน ระบุวันที่ ระบุชื่อหน่วยงาน กศน.อำเภอ แต่ไม่ระบุชื่อจริงเจ้าของร้าน และในบิลมีคำว่าเล่มที่ เลขที่ แต่ไม่ได้ระบุตัวเลข ถามว่า

1) บิลนี้สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบพัสดุหรือไม่ เนื่องจากไม่มีหมายเลขเล่มที่ และเลขที่
2) จำเป็นหรือไม่ในส่วนของนามลูกค้านั้นจะต้องระบุทั้งชื่อ กศน.อำเภอ และสถานที่ตั้งอย่างชัดเจน ถ้าระบุเพียงชื่อหน่วยงานอย่างเดียวจะได้หรือไม่
3) ในการทำใบสั่งจ้าง เราสามาถจ้างในนามร้านค้า โดยไม่ระบุชื่อเจ้าของร้านได้หรือไม่ คือในเอกสารผู้รับจ้างพิมพ์เป็นชื่อร้านค้า ตรงลายเซ็นเขียนเป็นชื่อร้านค้า ข้างล่างพิมพ์ชื่อร้านค้าแล้วประทับตราร้านค้า (กรณีนี้ร้านค้าไม่ได้จดทะเบียน)
ตอบว่า
1) การจ่ายเงินค่าพัสดุ ต้องมีใบเสร็จรับเงิน ( หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ใบรับ ) เป็นหลักฐาน และถ้าจ่ายให้ผู้รับเงินที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มอีกด้วย แต่ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษานี้อาจรวมอยู่ในใบเดียวกันได้
2) ใบเสร็จรับเงินไม่จำเป็นต้องมีเล่มที่เลขที่ แต่ใบกำกับภาษีต้องมีเลขที่หรือหมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี ส่วนเล่มที่จะมีหรือไม่ก็ได้
3) ทั้งใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ) และใบกำกับภาษี ต้องระบุทั้งชื่อ และที่อยู่ของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ( คำว่าชื่อ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาหมายถึงชื่อคน ถ้าไม่ใช่บุคคลธรรมดาหมายถึงชื่อองค์กร/หน่วยงาน/นิติบุคคล )
4) ทั้งใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ) รวมทั้งตรงลายเซ็นในใบสั่งจ้าง ต้องมีลายเซ็น/ลงลายมือชื่อ ซึ่งเป็นลายเซ็นของคนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องเป็นลายเซ็น(ลายมือชื่อ)ของคน ( ลายเซ็นของผู้บริหาร/ผู้รับมอบอำนาจ/หรือบุคคลธรรมดาในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา )
5) ใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ, บิลเงินสด) จะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 6 รายการ คือ
5.1 ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
5.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้รับเงิน ( ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา เช่นบุคลากร หรือซื้อข้าวโพดจากชาวไร่ ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน )
5.3 วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
5.4 รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
5.5 จำนวนเงินทั้ง ตัวเลข และตัวอักษร
5.6 ลายมือชื่อผู้รับเงิน
6) ใบกำกับภาษีจะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 8 รายการ คือ
6.1 มีคำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
6.2 เลขที่หรือเลขลำดับใบกำกับภาษี
6.3 วันที่ออกใบกำกับภาษี
6.4 ชื่อ+ที่อยู่ ของผู้ออกใบกำกับภาษี ( ผู้ประกอบการหรือตัวแทน)
6.5 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
6.6 ชื่อที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
6.7 รายการชื่อสินค้า ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน
6.8 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( แยกจากราคาสินค้า )
( ในกรณีที่แยกออกใบเสร็จรับเงินให้อีกต่างหากด้วย ในใบกำกับภาษานี้ก็จะมีลายเซ็นผู้รับเงินหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้อีกต่างหาก ต้องนำรายการต่าง ๆ ของใบเสร็จรับเงินมารวมไว้ในใบกำกับภาษีนี้ด้วย )
สรุป คำตอบของคำถาม 3 ข้อ
1) ถ้าเป็นใบเสร็จรับเงิน ( ผู้ขายไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ) ไม่ต้องมีเล่มที่เลขที่ ก็สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบพัสดุ
2) ให้ระบุทั้งชื่อ และที่อยู่ ของผู้ซื้อ
3) การทำใบสั่งจ้าง สามารถจ้างในนามร้านค้าโดยระบุชื่อผู้รับจ้างเป็นชื่อร้านค้าได้ แต่ตรงลายเซ็น (ลายมือชื่อ) ด้านล่าง ต้องเป็นลายเซ็น(ลายมือชื่อ)ของคน คือผู้บริหาร/ผู้รับมอบอำนาจ/หรือบุคคลธรรมดาในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา
ขอบคุณ อ.เอกชัย ยุติศรี

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...