การทำสัญญาจ้าง-การค้ำประกัน-การติดอากรแสตมป์
.
การจ้างแต่ละประเภท มีระเบียบต่างกันในเรื่องการทำสัญญา-การค้ำประกัน-การติดอากรแสตมป์
ต้องรู้ก่อนว่า การจ้างนั้นเป็นประเภทใด ระหว่าง
ก. การจ้างบุคลากรของส่วนราชการ เช่น ครู ศรช., พนักงานราชการ
ข. การจ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกตามระเบียบพัสดุ เช่น บรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ และอื่น ๆ อีกมากมาย
.
1. การจ้างพนักงานราชการ ไม่ต้องมีการค้ำประกัน เพราะมี "วินัย" ควบคุม ลักษณะเดียวกับข้าราชการ/ลูกจ้างประจำที่ไม่ต้องมีการค้ำประกัน
การจ้างครู ศรช. มีการ "ค้ำประกันการกระทำให้เกิดความเสียหาย" โดยจะใช้บุคคล(ตำแหน่ง) หรือหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้
การจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุ เช่น บรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ และอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้ามีการทำสัญญาจ้าง ต้องมีหลักประกันสัญญา 5 % ตามระเบียบพัสดุกำหนดให้ใช้หลักทรัพย์เป็น "หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา" ไม่มีระเบียบให้ใช้บุคคลเป็นหลักประกัน
.
2. กรณีที่มีการประกันสัญญา เช่น ครู ศรช. และการจ้างตามระเบียบพัสดุ ต้องระบุเรื่องการประกันนั้นไว้ในตัวสัญญาด้วย การประกันจึงจะมีผล ( ทุกอย่างที่แนบท้ายสัญญาต้องระบุไว้ในตัวสัญญา ) เช่น สัญญาจ้างครู ศรช. ระบุไว้ในตัวสัญญาว่า
"ข้อ 10 เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญานี้ ลูกจ้างได้จัดให้มีผู้ค้ำประกันการชดใช้ค่าเสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากการ กระทำของลูกจ้างตามที่ระบุไว้ในข้อ 4. และ ข้อ 9. ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่แนบท้ายสัญญานี้"
( สัญญาพนักงานราชการที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการกำหนดตามประกาศที่ https://dl.dropbox.com/u/109014048/Contract.pdf ไม่มีข้อนี้ ซึ่งส่วนราชการต่าง ๆ ต้องใช้แบบสัญญาตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการกำหนด นั่นคือ พนักงานราชการไม่ต้องมีการค้ำประกันสัญญา )
.
3. การจ้างบุคลากรของส่วนราชการ เช่น ครู ศรช., พนักงานราชการ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ แต่การจ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกตามระเบียบพัสดุ เช่น บรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ และอื่น ๆ อีกมากมาย ต้องปิดอากรแสตมป์ในสัญญจ้างหรือใบสั่งจ้าง
( การ “ซื้อ” ตามระเบียบพัสดุ ก็ไม่ต้องติดอากรแสตมป์ มีแต่การจ้างตามระเบียบพัสดุที่ต้องติดอากรแสตมป์ เช่นเรื่องหนังสือเรียน ต้องดูว่าเป็นการซื้อหนังสือเรียน หรือจ้างพิมพ์หนังสือเรียน บางอำเภอทำสัญญาซื้อหนังสือของสำนักพิมพ์เอกชนก็ไม่ต้องติดอากรฯ บางอำเภอทำสัญญาจ้างพิมพ์ตามต้นฉบับที่กำหนดก็ต้องติดอากรแสตมป์ )
ถ้าไม่เข้าตาม http://www.rd.go.th/publish/6162.0.html นี้ ไม่ต้องติดอากร ( การจ้างเหมาบริการตามระเบียบพัสดุ เข้าข้อ 4. จ้างทำของ )
.
4. ในกรณีที่ส่วนราชการทำสัญญาจ้างพนักงานราชการ โดยเรียกให้ปิดอากรแสตมป์ (ซึ่งไม่ต้องปิดอากรแสตมป์) ส่วนราชการจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อเยียวยาและบรรเทาความเสียหาย ให้แก่พนักงานราชการผู้นั้น" คำตอบจากสำนักงาน กพ. ที่ http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php… คือ
"กรณีดังกล่าวไม่ต้องติดอากรแสตมป์ หากดำเนินการไปแล้ว ส่วนราชการจะต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์ดังกล่าวคืนให้"
.
5. การติดอากรแสตมป์ ติดเฉพาะการจ้างตามระเบียบพัสดุ โดย
1) ต้นฉบับสัญญาจ้างหรือใบสั่งจ้าง ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้าง ( เช่น จ้างเดือนละ 10,000 บาท ถ้าทำสัญญาจ้างครั้งเดียวตลอดปี 12 เดือน สินจ้างก็คือ 120,000 บาท แต่ถ้าทำสัญญาแค่ 6 เดือน สินจ้างก็คือ 60,000 บาท ) ให้ผู้รับจ้างเป็นผู้ติดอากรแสตมป์ 1 บาท ( และให้ผู้รับจ้างเป็นผู้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ) เช่น ค่าจ้าง 7,940 บาท ทำสัญญา 4 เดือน รวมค่าจ้าง 31,760 บาท ให้ติดอากร 32 บาท เป็นต้น ยกเว้นถ้าสินจ้างรวม 200,000 บาทขึ้นไป ให้ชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดอากรแสตม์ป์
2) คู่ฉบับสัญญาจ้างหรือใบสั่งจ้าง ถ้าต้นฉบับติดอากรแสตมป์ไม่เกิน 5 บาท ให้ติดอากรแสตมป์ที่คู่ฉบับ 1 บาท ถ้าต้นฉบับติดอากรแสตมป์เกิน 5 บาท ให้ติดอากรแสตมป์ที่คู่ฉบับ 5 บาท
ขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์เอกชัย ยุติศรี