26 ตุลาคม 2558

การรับคนต่างด้าว (บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย) เข้าเรียน กศน.

การรับคนต่างด้าว (บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย) เข้าเรียน กศน.
.
1) ปัจจุบันรัฐบาลเปิดกว้างให้ทุกคนที่อาศัยในประเทศสามารถเข้าเรียนได้ถ้าเข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย ( ยกเว้นกลุ่มที่หนีภัยมาจากการสู้รบ จัดให้เรียนได้เฉพาะในพื้นที่ที่กำหนด ) ตาม "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐาน วัน เดือน ปีเกิด ในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548" ให้ทุกคนที่อาศัยในประเทศสามารถเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดระดับ ประเภท หรือพื้นที่การศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับการเป็นภาคีอนุสัญญาสิทธิเด็ก และ หนังสือสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนที่ ศธ 0210.03/6217 ลว. 6 พ.ย. 49 ที่ให้สถานศึกษาสามารถรับสมัครและออกหลักฐานการศึกษาให้เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย ได้

คนต่างด้าวเรียนได้ทุกระดับ ในคู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีเรื่องนี้อยู่ในภาคผนวก “ทุกเล่ม” เช่น เล่มปกสีเหลืองที่เป็น 1 ใน 9 เล่ม ที่แจกให้ครูทุกคนตอนอบรมหลักสูตรใหม่ จะอยู่ในหน้า 96-114 ถ้าเป็นคู่มือหลักสูตร 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2555 ( ปกสีเลือดหมู ) ที่ส่งให้ทุกอำเภอเมื่อต้นเดือน ธ.ค.55 จะอยู่ในหน้า 99-117 ชื่อเรื่องจะไม่ได้ใช้คำว่า "คนต่างด้าว" แต่จะอยู่ในเรื่อง ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียน ในสถานศึกษา พ.ศ.2548 ( การจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย )

2) หลักฐานที่ใช้สมัครเรียน ดูรายละเอียดและแบบฟอร์มจาก "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548" โดยดูในระเบียบข้อ 6 ถ้าไม่มีหลักฐานใด ๆ ให้ใช้ "บันทึกแจ้งประวัติบุคคล" เป็นหลักฐาน ( บันทึกแจ้งประวัติบุคคลนี้ ใช้แทนทั้งบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน ) อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://tabianprawet.blogspot.com/2012/04/blog-post.html 

แต่ทางที่ดี เราควรให้ผู้ประสงค์จะเรียนซึ่งไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย ไปติดต่อทำบัตรประจำตัว กับฝ่ายทะเบียนอำเภอ ตามข้อ 2.2 ในหน้า 100 เล่มปกสีเหลือง หรือหน้า 103 เล่มปกสีเลือดหมู ก่อน ( เขาพำนักอยู่ในเขตท้องที่ไหนก็ให้ไปติดต่อฝ่ายทะเบียนท้องที่นั้น ฝ่ายทะเบียนอำเภอจะมีความรู้ในการตรวจสอบดีกว่าเรา บางครั้งเราก็อ่าน VISA/Passport ของเขาไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าเป็นวีซ่าท่องเที่ยว หรือวีซ่าประเภทไหน ) แล้วให้เขานำหลักฐานการขึ้นทะเบียนมาใช้เป็นหลักฐานการสมัครเรียน จะได้มีเลขประจำตัว 13 หลัก อยู่ในประเภทที่ 8 คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายฯ


ถ้ามาเริ่มเรียนระดับประถม ก็ไม่ต้องมีวุฒิเดิม แต่ถ้ามีวุฒิเดิมจากต่างประเทศ ต้อง "เทียบวุฒิ" ก่อน  (เทียบวุฒิ ต่างจาก เทียบโอน เทียบวุฒิหมายถึงจบชั้นตัวประโยคเช่น ม.ต้น แล้ว จะสมัครเรียนต่อระดับที่สูงกว่า แต่เทียบโอนหมายถึงเรียนยังไม่จบชั้นตัวประโยค เช่นเรียนถึง ม.2 จะสมัครเรียนในระดับเดิมที่ยังไม่จบนั้น โดยเทียบโอนเพื่อไม่ต้องเรียนบางวิชา สถานศึกษา กศน.เราเทียบโอนได้เอง แต่เราเทียบวุฒิไม่ได้ ) ปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่เทียบวุฒิจากต่างประเทศในระดับขั้นพื้นฐานคือ สพฐ. แต่ สพฐ.ปัจจุบันก็ไม่รับเทียบวุฒิระดับประถมแล้ว รับเทียบวุฒิเฉพาะ ม.ต้น ม.ปลาย ฉะนั้นคนต่างด้าวที่ยังไม่จบ ม.ต้น จะมาเรียน กศน.ก็คงต้องเริ่มเรียนที่ระดับประถม
.
3) ถ้ากรอกเลขประจำตัวประชาชน คนต่างด้าว ตามที่มหาดไทยออกให้แล้ว โปรแกรม ITw บอกว่าเลขประจำตัวประชาชนไม่ถูกต้อง ก็ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนที่โปรแกรมออกให้ไปก่อน โดยคลิกที่ปุ่มรูปไม้กายสิทธิ์ ด้านขวาของช่องสำหรับกรอกเลขประจำตัวประชาชน แล้วเลือก “ต่างด้าว, ตกลง” จะมีช่อง “หมายเหตุการณ์ออกเลข” มาให้กรอกเหตุผลที่ใช้โปรแกรมออกเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งจะกรอกว่าอย่างไรก็ได้ ( ไม่กรอกก็ได้ )

การออกหนังสือรับรอง หรือใบ รบ. ผู้บริหารต้องเซ็นต์ก่อน หรือประทับตราสถานศึกษาก่อน

3. คืนวันเดียวกัน ( 22 ต.ค.) ผมตอบคำถาม สมปอง เจริญผล ที่ถามในอินบ็อกซ์เฟซบุ๊คผม ว่า การออกหนังสือรับรอง หรือใบ รบ. ผู้บริหารต้องเซ็นต์ก่อน หรือประทับตราสถานศึกษาก่อน

อาจารย์เอกชัย ตอบว่า ตามระเบียบกำหนดว่า "ติดรูปถ่ายของนักศึกษา ประทับตราประจำสถานศึกษาด้วยหมึกสีแดงชาด ให้บางส่วนติดรูปถ่ายและบางส่วนติดบนส่วนที่ จะ เป็นลายเซ็นของหัวหน้าสถานศึกษา" จึงสรุปได้ว่า ประทับตราสถานศึกษาก่อน หัวหน้าสถานศึกษาเซ็นทีหลัง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน : คำถามที่พบบ่อย

การศึกษาขั้นพื้นฐาน : คำถามที่พบบ่อย

1. คำถาม : ต้องอายุกี่ปีถึงจะมาเรียน กศน.ได้

คำตอบ : อายุ 16 ปี หรือจบการศึกษาภาคบังคับมาแล้ว ( ม.3 )ครับ

2. คำถาม : อายุไม่ถึง 16 ปี แต่มีความจำเป็นไม่สามารถเรียนในโรงเรียนได้ มาเรียน กศน. ได้ไหมครับ แล้วต้องทำ อย่างไร
คำตอบ : ถ้ายังไม่ จบ ม.3 อายุไม่ถึง 16 ปี มีความจำเป็นต้องเรียน กศน. ต้องไปติดต่อที่เขตพื้นที่การศึกษาตามที่ ทะเบียนบ้านเราตั้งอยู่ในเขตพื้นที่นั้น สามารถสอบถามจากโรงเรียนที่เราออกมาก็ได้ แต่ที่ เขตคลองเตยติดต่อที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2ตั้งอยู่ที่ 1128 ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 (ในบริเวณโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์) โทรศัพท์ 0-2930-4490-2 ครับ นำเอกสารมาแนบใบสมัครเลยครับ

3. คำถาม : ลูกเรียนจบ ม.5 จากโรงเรียนเดิมมา แล้วต้องออกจากโรงเรียน จะมาเรียน กศน.ต้องเรียนใหม่หมดไหม แล้วต้องใช้เวลานานขนาดไหนค่ะ
คำตอบ : สามารถนำมาเทียบโอนผลการเรียนได้ครับ แต่เรื่องระยะเวลาปกติ กศน.ระดับ ม.ปลาย 2 ปี ถ้าเทียบโอนตามระเบียบแล้วได้มาก เวลาในการเรียนจะน้อยลงครับ

4. คำถาม : สถานที่เรียน กศน.อำเภอบางสะพาน  อยู่ที่ไหนค่ะ
คำตอบ : สถานที่เรียน เรามีศูนย์การเรียนชุมชน หลายที่ครับ ยกตัวอย่าง เช่น วัดยายฉิม  อบต.แม่รำพึง วัดห้วยทรายขาว เป็นต้น (อยู่ตำบลไหน เรียนที่ใกล้ตำบลนั้น ๆ ได้เลยครับ)

5. คำถาม : กศน.เปิดรับสมัครตอนไหนค่ะ
คำตอบ : กศน.รับสมัครใน ช่วงเดือน เมษายน และช่วงเดือน ตุลาคม ครับ 

6. คำถาม : เรียน กศน. เสียค่าเทอม ค่าหนังสือเท่าไร
คำตอบ : ไม่ต้องเสีย ครับ สมัครฟรี เพราะรัฐบาลสนับสนุนให้แล้วครับ

7. คำถาม : ทะเบียนบ้าน อยู่ จังหวัดอื่น สมัครเรียนได้ไหมค่ะ
คำตอบ : ได้ครับ

8. คำถาม : อายุมากแล้วจะเรียน กศน.ได้ไหมค่ะ
คำตอบ : ได้ครับ กศน.อำเภอบางสะพาน มีนักศึกษาอายุมากมาเรียนเยอะแยะเลยครับ

9. คำถาม : กศน.มีที่ไหนบ้างครับ
คำตอบ : มีทุกเขตหรืออำเภอเลยครับ และทุกตำบลแล้วครับ เลือกเรียนที่สะดวกได้เลยครับ

10. คำถาม : N-NET คืออะไร
คำตอบ : N-NET (Non-Formal National Education Test) หมายถึง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา นักศึกษาต้องเข้าสอบ ก่อนจบน่ะครับ
11.คำถาม : เรียน กศน. แล้วเข้า มหาลัย ได้ไหม
คำตอบ :
การเข้ามหาวิทยาลัย มี 2 แบบ คือ สอบตรง และแอดมิชชั่น การสอบตรงนั้น ทั้งในระบบ และผู้ที่จบ กศน. ต้องติดตามข่าวสารและคุณสมบัติที่สาขา/คณะ นั้นๆ กำหนดเอง
(http://admissions.enn.co.th/)

25 ตุลาคม 2558

การใชัคำนำหน้านามในหนังสือราชการ

การใช้คำนำหน้านามในหนังสือราชการ

การใช้คำนำหน้านามหรือนำหน้าชื่อในหนังสือราชการ เอกสารราชการ หรือเอกสารอื่นใดที่เป็น
ทางการมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน แต่มีผู้ที่ไม่รู้และปฏิบัติเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง
เป็นจำนวนมาก 

ผู้เขียนจึงขออธิบายให้ความกระจ่างแก่ทุกท่าน จะได้ไม่เป็นที่ถกเถียงกันต่อไป
การใช้คำ นำ หน้านาม หรือนำหน้าชื่อในหนังสือราชการจะต้องถือปฏิบัติตามระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พุทธศักราช 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รายละเอียดสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. หากผู้ใช้เป็นบุคคลธรรมดา ให้ใช้คำนำหน้านามว่า นาย นาง นางสาว ตามปกติ
2. หากผู้ใช้มีฐานันดรศักดิ์ (เชื้อสายราชสกุล) ให้ใช้คำนำหน้าตามสิทธิ์ เป็นต้นว่า หม่อมหลวง
หม่อมราชวงศ์ หม่อมเจ้า
3. หากผู้ใช้เป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทำให้มีคำนำหน้านามว่า คุณ
คุณหญิง และท่านผู้หญิง ให้ใช้เป็นคำนำหน้านามตามที่ได้รับพระราชทาน
4. หากผู้ใช้เป็นผู้มีตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ
ศาสตราจารย์ รวมถึงคำต่อท้ายตำแหน่งดังกล่าว คือ พิเศษ กิตติคุณ หรือเกียรติคุณ ให้ใช้เป็นคำนำหน้านามได้ตลอดไป ทั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็น
คำนำหน้านาม พุทธศักราช 2536
5. หากผู้ใช้เป็นผู้มียศทหาร หรือตำรวจ ให้ใช้คำนำหน้านามตามชั้นยศของตน เช่น พลเอก
พลตำรวจโท พันเอก (พิเศษ) นาวาตรี ร้อยเอก เรืออากาศโท นายดาบตำรวจ จ่าสิบเอก พันจ่าตรี ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม มีข้อห้าม หรือข้อพึงระวังในการใช้คำนำหน้านาม หรือนำหน้าชื่อในหนังสือ
ราชการเอกสารราชการ หรือเอกสารอื่นใดที่เป็นทางการ ดังนี้

     1. งดใช้คำย่อ อักษรย่อ หรือตัวย่อ เช่น ผู้ว่า-ผวจ. แพทย์-น.พ. รศ. ม.ร.ว. ให้ใช้คำเต็ม เท่านั้น

     2. งดใช้คำ ฯพณฯ (พะ-นะ-ท่าน) เพราะมีข้อกำหนดให้เลิกใช้ไปแล้ว ยกเว้นใช้ในการพูด
เพื่อให้เกียรติสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในตำแหน่งตามที่กำหนดให้มีสิทธิ์ใช้ รวมถึงเอกอัครราชทูตหรือใช้ใน
กิจการต่างประเทศ

     3. งดใช้คำนำหน้านามที่เป็นคำแสดงถึงวิชาชีพ หรืออาชีพ เช่น นายแพทย์ เภสัชกร
ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ ครู ทนาย โหร ฯลฯ

     4. งดใช้คำ ดร. (ด๊อกเตอร์) นำหน้า เพราะเป็นคำที่แสดงคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก
เท่านั้น ไม่ใช่คำนำหน้านามหรือนำหน้าชื่อที่ใช้ในราชการ

อนึ่งการใช้คำ ดร. สามารถใช้ได้ในการเรียกขานเพื่อให้เกียรติ หรือใช้ในเอกสารอื่นที่ไม่เป็น
ทางการได้ โดยมากพบในแวดวงทางวิชาการ เช่น ศาสตราจารย์ ดร.สุจริต เพียรชอบ หากจะใช้ใน
หนังสือราชการ เช่น การลงนามท้ายหนังสือ จะใช้ว่า ศาสตราจารย์สุจริต เพียรชอบ เท่านั้น

ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เคยมีหนังสือแจ้งเวียนเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในเรื่อง
ดังกล่าวแล้ว ทั้งยังกำชับให้ใช้คำ ดร. เฉพาะผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกโดยตรง โดยให้งดใช้
กับผู้ที่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

     5. กรณีที่ผู้ใช้มีคำนำหน้านามหลายอย่างให้เรียงลำดับโดยเริ่มจาก ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ
และฐานันดรศักดิ์ ตามลำดับ อาทิ
ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นต้น
เมื่อท่านผู้อ่านได้ทราบอย่างละเอียดเช่นนี้แล้ว ควรถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบฯ เพื่อลด
ความกังขาความตะขิดตะขวงใจต่าง ๆ จะได้ไม่ต้องถกเถียงกันอีกต่อไป กับทั้งขอความกรุณาช่วย
เผยแพร่ความรู้นี้ด้วยการบอกต่อ ๆ กันไปด้วย

ขอบคุณที่มา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรีธนู ทดแทนคุณ วารสารเทศบาลนครนนท์
สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2555 http://www5.excise.go.th/brochure/trimas2_54_3.pdf
ขอบคุณภาพจาก : pimporn.nsdv.go.th
#DemocratTH#ประชาธิปัตย์

สิทธิข้าราชการเกษียณ

รวมสิทธิของข้าราชการเกษียณ ( ค่อนข้างละเอียด ) ...
( ถ้าเลือกรับบำเหน็จ สิทธิต่างๆจะระงับไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล เหลือเพียงสิทธิเดียว คือ การขอพระราชทานเพลิงศพ )

กลุ่ม ผู้ไม่เป็นสมาชิก กบข.
ก): กรณีรับบำเหน็จ 
จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นเงินก้อนเดียว [ เงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ(รวมอายุราชการทวีคูณ) ] 
สิทธิต่าง ๆ ระงับไป ยกเว้นการขอพระราชทานเพลิงศพ 

ข): กรณีรับบำนาญ 
จะได้รับเงินบำนาญรายเดือนทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต [ บำนาญรายเดือน = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการเป็นปี (รวมอายุราชการทวีคูณ เศษเกิน 6 เดือนจึงนับเป็น 1 ปี) แล้วหารด้วย 50 ]
และยังมีสิทธิได้รับ 
     1)  ค่ารักษาพยาบาลของตนเอง คู่สมรส บิดามารดา บุตรที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ และบุตรไร้ความสามารถไม่จำกัดอายุ  
     2)  ค่าตรวจสุขภาพ
     3)  ค่าการศึกษาบุตร เบิกได้ถึงอายุ 25 ปีบริบูรณ์ 
     4)  บำเหน็จดำรงชีพ ( เงินเพิ่มให้พิเศษ ) = 15 เท่า ของเงินบำนาญ 1 เดือน แต่ไม่เกิน 400,000 บาท โดยจ่ายให้ทันทีเมื่อเกษียณครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่เหลือขอรับได้เมื่ออายุครบ 65 ปี
     5) เงินช่วยพิเศษ เมื่อถึงแก่กรรม = 3 เท่า ของเงินบำนาญ ( มอบให้กับผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้ หรือทายาทตามกฎหมาย )
     6) เงินบำเหน็จตกทอด เมื่อถึงแก่กรรม เป็นเงินก้อนเดียว = เงินบำนาญ x 30 เท่า – เงินบำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้ว ( มอบให้กับทายาทตามกฎหมาย ถ้าไม่มีทายาทมอบให้ผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้ ถ้าไม่มีทายาทและไม่ได้แสดงเจตนาไว้ เป็นอันยุติบำนาญตกทอด ) 

กลุ่ม ผู้เป็นสมาชิก กบข. 
ก): กรณีรับบำเหน็จ 
จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นเงินก้อนเดียว [ เงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย  x อายุราชการ (รวมอายุราชการทวีคูณ เศษเดือนเศษวันเป็นจุดทศนิยม) ] 
สิทธิต่าง ๆ ระงับไป ยกเว้นการขอพระราชทานเพลิงศพ

ข): กรณีรับบำนาญ 
จะได้รับเงินบำนาญรายเดือนทุกเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต [ บำนาญรายเดือน = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ(รวมอายุราชการทวีคูณ เศษเดือนเศษวันเป็นจุดทศนิยม) รวมไม่เกิน 35 ปี แล้วหารด้วย 50 ]  แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
และยังมีสิทธิได้รับสิทธิต่าง ๆ เหมือนกับบำนาญปกติ 
นอกจากนี้ สมาชิก กบข.แบบ ก.,ข. ยังได้รับ 
- เงินสะสม + ผลประโยชน์ของเงินสะสม 
- เงินประเดิม + ผลประโยชน์ของเงินประเดิม 
- เงินชดเชย + ผลประโยชน์ของเงินชดเชย 
- เงินสมทบ + ผลประโยชน์ของเงินสมทบ 
( ผู้ที่ลาออกจาก กบข.จะได้เฉพาะเงินสะสม+ผลประโยชน์ของเงินสะสม คืน )

หมายเหต

ก. ผู้ที่ได้รับบำเหน็จตกทอด คือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้ หรือทายาทตามกฎหมาย  คำว่า ทายาทตามกฎหมาย ได้แก่ 
- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับคนละ 1 ส่วน 
- สามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับ 1 ส่วน 
- บิดา หรือมารดา หรือทั้งบิดาและมารดา ที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้รับ 1 ส่วน 

ข. เงินอื่น ๆ ที่ทุกกลุ่มจะได้รับ ถ้าสมัครเป็นสมาชิก
- เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ 
- เงินผลประโยชน์จากหุ้นสหกรณ์ 
- เงินประกันชีวิตและเงินช่วยเหลือจากสหกรณ์ 

ค. เวลาราชการทวีคูณ ในช่วงประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร 2 ช่วงล่าสุด รวม 15 เดือน 18 วัน ( ช่วงที่ 1 วันที่ 19 ก.ย.49 – 26 ม.ค.50 = 4 เดือน 11 วัน ,  ช่วงที่ 2 วันที่ 20 พ.ค.57 – 1 เม.ย.58 = 11 เดือน 7 วัน ) นั้น ได้เวลาราชการทวีคูณเฉพาะทหารตำรวจ ส่วนข้าราชการอื่นไม่ได้ เพราะไม่ได้เสี่ยงภัย

สำนักงาน กศน. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เอกชัย ยุติศรี

หลักเกณฑ์/คะแนน ในการสอบซ่อม

การสอบซ่อม.. 
.
สอบซ่อมได้แค่ 3 คะแนน ทำไมเกรดยังขึ้นเป็น 1 .. ?
ระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการสอบซ่อม คือ
             ก. หนังสือ “คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2555)” ปกสีเลือดหมู ที่ส่งให้ กศน.อำเภอทุกแห่ง เมื่อ ธ.ค.55
                 - หน้า 37 ข้อ 1.4 กำหนดว่า  “การประเมินซ่อม  สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินรายวิชา เข้ารับการประเมินซ่อม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ( หมายถึงประเมินซ่อมได้หลายวิธี ) เช่น การทดสอบ หรือการมอบหมายให้ทำรายงานเพิ่มเติม หรือการจัดทำแฟ้มสะสมงาน หรือการเข้าร่วมกิจกรรม หรืออื่น ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด   โดยให้ค่าระดับผลการเรียนไม่เกิน 1”
                 - หน้า 44 ข้อ 6) กำหนดว่า  “การประเมินซ่อม  ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินซ่อมคือ ผู้เรียนที่เข้าสอบปลายภาคเรียนแต่ผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลรายวิชา  โดยให้ผู้เรียนเข้ารับการประเมินซ่อมตามวัน เวลา สถานที่ และวิธี ที่สถานศึกษาหรือต้นสังกัดกำหนด”

             ข. หนังสือราชการ สำนักงาน กศน. แจ้งเมื่อ ม.ค.52 กำหนดในข้อ 3 ว่า  “การสอบซ่อม  ให้สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ แต่จะต้องมีกระบวนการและการดำเนินงานให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด โดยให้ดำเนินการซ่อมให้แล้วเสร็จก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์”
.
             สรุปคือ 
             1)  สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการประเมินรายวิชา เข้ารับการประเมินซ่อม  การไม่ผ่านการประเมินรายวิชา ปัจจุบันมี 2 กรณี ได้แก่
                  - คะแนนรวมระหว่างภาคกับปลายภาคไม่ถึง 50 คะแนน
                  - คะแนนปลายภาคไม่ถึง 12 คะแนน  ( เฉพาะวิชาบังคับ  ส่วนวิชาเลือกสถานศึกษาจะกำหนดอย่างไรหรือไม่ก็ได้ ) 
                  ให้ประเมินซ่อมเหมือนกันทั้ง 2 กรณีนี้  ( นศ.ที่ไม่เข้าสอบปลายภาค ต้องได้เกรด 0 ไม่มีสิทธิประเมินซ่อม )
             2)  การประเมินซ่อม ( ทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ) ทำได้หลายวิธี เช่น การสอบซ่อม หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ ก็ได้  แต่ให้ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัด คือ ถ้าเป็นรายวิชาเดียวกัน ให้ประเมินซ่อมด้วยวิธีเดียวกันทั้งจังหวัด  ถ้าจะใช้วิธีสอบซ่อม ก็ใช้ข้อสอบฉบับเดียวกัน  จะเป็นข้อสอบปรนัย หรืออัตนัย หรือผสม ก็ได้
             3)  การประเมินซ่อม เป็นการเปลี่ยนคะแนนปลายภาค  ( คะแนนปลายภาคเดิม ไม่ว่าจะได้เท่าไรก็ตัดทิ้งไปเลย ใช้คะแนนการประเมินซ่อมแทน )  ส่วนคะแนนระหว่างภาคจะเป็นไปตามเดิม  การประเมินซ่อมจะมีคะแนนเต็ม 40 คะแนน ไม่จำเป็นต้องได้ 12 คะแนนอีกแล้ว  แต่ต้องรวมกับคะแนนระหว่างภาคเดิมแล้วได้ 50 คะแนนขึ้นไป จึงจะได้เกรด 1   ถ้ารวมกับคะแนนระหว่างภาคเดิมแล้วได้ไม่ถึง 50 คะแนน ก็ได้เกรด 0 
                   ( เมื่อไม่จำเป็นต้องได้ถึง 12 คะแนน อาจทำให้ นศ.ที่มีคะแนนระหว่างภาคถึง 50 คะแนนอยู่แล้ว ไม่ตั้งใจทำข้อสอบประเมินซ่อม เพราะได้ 0 คะแนนก็ผ่าน ได้เกรด 1  บางสถานศึกษาจึงกำหนดว่า การประเมินซ่อมต้องได้อย่างน้อย 5 คะแนน ซึ่งก็สามารถกำหนดได้ )   ถ้าได้คะแนนระหว่างภาค 30 คะแนน การประเมินซ่อมต้องได้อย่างน้อย 20 คะแนนจากคะแนนเต็ม 40 จึงจะได้เกรด 1  ถ้าได้ต่ำกว่า 20 คะแนนก็ได้เกรด 0
             4)  เคยมีผู้เสนอว่า ถ้าคะแนนระหว่างภาคต่ำ โอกาสที่ประเมินซ่อมแล้วผ่านจะมีน้อย  ควรให้ทำโครงงานเพิ่มคะแนนระหว่างภาค โดยแก้คะแนนเก็บที่โปรแกรม IT ด้วย เพื่อให้รวมกับคะแนนซ่อมแล้วได้ 50 เป็นการช่วย นศ.อีกทางหนึ่ง   เรื่องนี้ ไม่มีระเบียบให้ซ่อมคะแนนระหว่างภาค  ถ้าจะเพิ่มคะแนนระหว่างภาคก็เป็นเรื่องภายในสถานศึกษา ซึ่งที่ถูกที่ควรการให้ทำโครงงานหรือทำอะไรเพื่อจะได้เพิ่มคะแนนระหว่างภาค ต้องดำเนินการก่อนที่จะบันทึกคะแนนระหว่างภาค
             5)  มีผู้ถามว่า จะกำหนดให้ครู ให้คะแนนระหว่างภาคไม่ต่ำกว่า 38 คะแนน ได้หรือไม่   เรื่องนี้ คะแนนไม่ได้เป็นไปตามที่ครูให้ แต่คะแนนต้องเป็นไปตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  ถ้าเรากำหนดเพื่อช่วยมากไป นศ.จะเห็นว่า ยังไง ๆ ก็จบทุกคนพร้อมกันหมด  ส่งผลให้ มีนักศึกษามาพบกลุ่ม/ตั้งใจเรียนรู้ จำนวนลดลงทุกปี
.
         กรณีการคีย์คะแนนประเมินซ่อมในโปรแกรม ITw  ถ้าคีย์คะแนนประเมินซ่อมแล้วไม่มีเกรดขึ้นมา ก็คือ เกรดเป็น 0  ( จะไม่ปรากฏในใบ รบ. ) โดยถ้าคะแนนระหว่างภาค รวมกับคะแนนสอบซ่อม ไม่ถึง 50 จะไม่มีเกรดขึ้นมา ( เกรดเป็น 0 )    ถ้าขาดสอบซ่อม ก็ไม่ต้องคีย์ข้อมูลใดลงไป ปล่อยว่างไว้ ( อย่าใส่ 0 ถ้าใส่ 0 หมายความว่าเข้าสอบซ่อมแต่ได้คะแนน 0 จะได้เกรด 1 ) ถ้าปล่อยว่างไว้จะไม่มีเกรดขึ้นมา ( เกรดไม่ขึ้นก็คือเกรดเป็น 0 เช่นกัน ) ถ้าสถานศึกษาใดกำหนดว่าการประเมินซ่อมต้องได้คะแนน 5 คะแนนขึ้นไป แล้วมี นศ.ได้คะแนนประเมินซ่อมไม่ถึง 5 คะแนน ก็ไม่ต้องคีย์คะแนนประเมินซ่อมของ นศ.รายนี้ ให้ปล่อยว่างไว้

การออกใบ รบ.

การออกใบ รบ.แทนฉบับที่สูญหาย ไม่มีระเบียบให้ใช้วิธีถ่ายเอกสารหรือใช้ใบ รบ.เลขที่ใหม่..., ถ้าต้นฉบับใบ รบ.ฉบับที่อยู่กับ กศน.อำเภอ สูญหาย ทำไง ? .., ออกใบ รบ.หลักสูตร EP, ..นศ.หลักสูตร 44 เพิ่งมาขอจบ ยังไม่เคยออกใบ รบ. ผอ.ก็เปลี่ยนคนแล้ว
.
             1)  อ.กิตติพงศ์ Kittipong Kitti กลุ่มพัฒนา กศน. บอกว่า  ใบ รบ.หลักสูตร 44, 51 ยังไม่ได้ยกเลิก ( ยกเลิกแต่ใบ รบ.หลักสูตร 30-31 )  ถ้านักศึกษาหลักสูตร 44 เพิ่งมาขอจบ ยังไม่เคยออกใบ รบ. ผอ.ก็เปลี่ยนคนไปแล้ว  กรณีนี้ อ.กิตติพงศ์ บอกว่า ยังต้องออกใบ รบ.หลักสูตร 44 ตามปกติ  ถ้าแบบฟอร์มใบ รบ.หลักสูตร 44 หมด ก็ต้องไปซื้อมาใหม่
                  ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรใด การออกใบ รบ.หรือใบแทน ให้ ผอ.คนปัจจุบันเป็นผู้ลงนาม ไม่ใช่ให้ ผอ.คนเก่าที่อนุมัติจบหลักสูตรมาลงนาม  กรณีออกใบ รบ.เพราะจบการศึกษา  "วันอนุมัติการจบ" กับ "ออกเมื่อวันที่" จะเป็นวันเดียวกัน คือวันที่ ผอ.คนเดิมอนุมัติการจบเมื่อผ่านเงื่อนไขการจบหลักสูตรครบทุกข้อ   ส่วน วันที่ ใต้ตำแหน่ง ผอ. คือวันที่ ที่ ผอ.คนปัจจุบันลงนามในใบ รบ.  ( ไม่ว่าจะ ผอ.เก่า หรือ ผอ.ใหม่  เซ็นชื่อวันไหน วันที่ใต้ลายเซ็นก็เป็นวันที่เซ็นต์  ไม่จำเป็นต้องเป็นวันเดียวกันกับ “วันอนุมัติการจบ” หรือ “ออกเมื่อวันที่” )
.
             2)  กรณีนักศึกษาทำใบ รบ.หลักสูตร 44, 51 ชำรุดหรือสูญหาย  ตามคู่มือดำเนินงานหลักสูตร 44 ปกสีเหลือง และ คู่มือดำเนินงานหลักสูตร กศน ขั้นพื้นฐาน 2551 (ปรับปรุง 2555) ปกสีเลือดหมู ที่ส่งให้ทุกอำเภอเมื่อ ธ.ค.55 หน้า 158 ระบุว่า "กรณีนักศึกษา ... ได้รับ .. ระเบียนแสดงผลการเรียน ... ไปแล้ว มาขอรับ..ใหม่ให้..ใช้ฉบับสำเนาที่จัดซื้อจากองค์การค้า..มาจัดทำโดยจะต้องกรอกเลข ชุดที่เลขที่ และรายการต่าง ๆ ให้ตรงกับเอกสารต้นฉบับ"  ( ไม่ใช่ใช้ใบ รบ.ฉบับเล่มที่เลขที่ใหม่ และไม่ได้ให้ใช้วิธีถ่ายเอกสารจากต้นฉบับเดิม แต่ให้ซื้อแบบฟอร์มใบแทนหรือสำเนา และไม่ได้ให้ประทับตรายางว่าใบแทนหรือสำเนา )  ไม่ว่าจะออกใหม่เป็นครั้งที่เท่าไรก็ใช้แบบฟอร์มใบแทนหรือสำเนาเหมือนเดิม
.
             3)  การซื้อแบบฟอร์มใบแทนหรือสำเนา หลักสูตร 44, 51 จากองค์การค้า  ตัวอย่างเช่นของหลักสูตร 44 ม.ต้น องค์การค้าฯจะเรียกว่า "กศน.1-ต (ชนิดแบบฟอร์ม)" รหัสสินค้าคือ 2002100095182  ( ถ้าเราไปบอกว่าขอซื้อ "ใบแทน" หรือ "สำเนา" เขาอาจจะไม่รู้จัก )  ราคาแผ่นละ 4 บาท (1 ห่อมี 200 แผ่น)
.
             4)  ถ้าต้นฉบับใบ รบ. ฉบับที่อยู่กับ กศน.อำเภอ สูญหาย โดยที่ นศ.รับคู่ฉบับไปแล้ว  กรณีนี้ ผอ.กศน.อ.เมืองเชียงใหม่ ( นิติธร เทพเทวิน ) บอกว่า  “ตามระเบียบเกี่ยวกับหลักฐานการศึกษา ต้องทำประกาศสถานศึกษา ยกเลิกฉบับที่สูญหาย โดยระบุเล่มที่เลขที่ที่หายทุกฉบับ แล้วส่งประกาศฯไปให้ สนง.กศน.จังหวัด  เมื่อยกเลิกต้นฉบับ ส่วนที่นักศึกษารับไปแล้วก็ใช้ไม่ได้ ต้องออกฉบับใหม่ ที่เล่ม/เลขที่ใหม่ ไม่ใช่ใบแทนหรือสำเนา เพื่อให้มีต้นฉบับไว้ตรวจสอบ   ถ้านักศึกษานำฉบับเก่าไปใช้โดยสุจริต เขาจะตรวจสอบมา สถานศึกษาก็แจ้งเหตุไปพร้อมแนบฉบับที่ออกใหม่ไปให้เขา  ถ้านักศึกษาไม่ได้นำฉบับเก่าไปใช้หรือเขาไม่ตรวจสอบมาก็แล้วไป เพราะได้ออกอย่างถูกต้อง
.
             5)  การออกใบ รบ.หลักสูตรก่อนหลักสูตร 44 ทุกหลักสูตร เช่นหลักสูตร 30-31 แทนฉบับที่ชำรุด/สูญหาย  ให้ปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/10974 ลงวันที่ 21 ธ.ค.49  ( ถ้าอยู่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ค้นหาหนังสือนี้ ตามหนังสือนำส่งของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ศธ 0210.03/ว 34 ลงวันที่ 22 ม.ค.50 )  ซึ่งกำหนดว่า  “ ให้ออกเป็นใบรับรองตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526  ที่ปรากฏหมวดวิชาต่าง ๆ ที่เรียนผ่านมา พร้อมผลการเรียน  ดังตัวอย่างในเอกสารที่ 1 ”  ( คำว่า “รหัสประจำวัน” แก้เป็น “รหัสประจำตัว” )  โดยสามารถปรับส่วนที่เป็นผลการเรียนให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรนั้น  ( คุณกรวรรณ กลุ่มพัฒนา กศน.บอกว่า ถ้าข้อมูลผลการเรียนสูญหาย ให้ดูโครงสร้างหลักสูตรนั้นว่าต้องเรียนวิชาใดบ้าง ถ้าเรียนเหมือนกันทุกคนก็ใส่วิชาที่เรียนลงไปด้วย โดยไม่ต้องมีผลการเรียนก็ได้  แต่ถ้าไม่สามารถทราบได้ว่าเรียนวิชาใดบ้างก็ไม่ต้องใส่ทั้งวิชาและผลการเรียน )
.
             6)  การออกใบ รบ. หลักสูตร English Program  ให้ประทับตรายางว่า “English Program” ทั้งในฉบับภาษาไทบ ฉบับภาษาอังกฤษ ทั้งต้นฉบับและคู่ฉบับ โดยใช้แบบอักษร Angsana New ขนาด 20 point ตัวหนา  ตามตัวอย่างที่  https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014048/PDF/EP-rb.pdf 
.
             7)  กรณีนักศึกษาขอเปลี่ยนชื่อ-สกุล ในใบ รบ.  เมื่อนักศึกษาเปลี่ยนชื่อ ก็ต้องนำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ มายื่นขอเปลี่ยนชื่อ  นายทะเบียนฯต้องตรวจสอบหลักฐานการเปลื่อนชื่อ ดูว่าเปลี่ยนวันที่เท่าไร ถ้าเปลี่ยนชื่อก่อนวันจบ เราก็เปลี่ยนชื่อให้เขา  แต่ถ้าวันที่เปลี่ยนชื่อ-สกุล ในใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล เป็นวันที่หลังวันอนุมัติจบหลักสูตรในใบ รบ.  สถานศึกษาจะเปลี่ยนชื่อในใบ รบ.ให้ไม่ได้  เวลานักศึกษานำไปใช้ที่ไหน ก็ใช้ใบ รบ.ควบคู่กับใบเปลี่ยนชื่อ
.
             8)  การออกใบ รบ. เป็นภาษาอังกฤษ  ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร EP หรือหลักสูตรปกติ ก็ใช้โปรแกรม ITw ออกใบ รบ. ทั้งฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ด้วยเมนูเดียวกัน   สถานศึกษา ( กศน.อ./ข. ) สามารถออกใบระเบียนแสดงผลการเรียนและประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษได้เอง  แต่ถ้าเป็นหนังสือรับรองการจบหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ ต้องส่งเรื่องผ่านจังหวัดให้ส่วนกลางเป็นผู้ออก
                  ออกใบ รบ.เป็นภาษาอังกฤษ ใช้เมนูเดียวกับการพิมพ์ใบ รบ.ภาษาไทย แต่เลือกภาษาที่ใช้ เป็น “ภาษาอังกฤษ”  โดยปริ้นท์ลงกระดาษเปล่า แล้วก็ใช้กระดาษเปล่าที่ปริ้นท์นั้นเป็นใบ รบ.ภาษาอังกฤษฉบับจริงได้เลย ( โปรแกรมจะปริ้นท์เส้นและตราครุฑมาให้เรียบร้อย ชื่อภาษาอังกฤษของรายวิชาบังคับและวิชาเลือกที่ส่วนกลางพัฒนาขึ้นก็มีอยู่แล้ว )  ใช้ ชุดที่ เลขที่ เดียวกับในใบ รบ.ภาษาไทย ของคนนั้น ๆ   อย่างไรก็ตาม เราต้องกรอกบางอย่างเป็นภาษาอังกฤษเข้าโปรแกรม ITw เองก่อน คือ ส่วนที่อยู่หัวและท้ายใบ รบ. ได้แก่ ชื่อนายทะเบียน  ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา  ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา  ชื่อ-สกุลนักศึกษา ( Name ) ศาสนา สัญชาติ  ชื่อ-สกุลบิดา ( Father Name )  ชื่อ-สกุลมารดา ( Mother Name )  สถานศึกษาเดิม ( Previous Educational Institution )  จังหวัดของสถานศึกษาเดิม ( Province )  เหตุที่ออก ( Cause of Issue ) เช่น เรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย = Completion of upper secondary level  คำชี้แจงกรณีเทียบโอน ( Explanation )   รวมทั้งต้องเติมชื่อภาษาอังกฤษของรายวิชาเลือกที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้น ลงในตารางรหัสวิชา    ส่วนชื่อสถานศึกษา อำเภอ จังหวัด ภาษาอังกฤษ อยู่ในเมนู 3 - 1 ( ตารางรหัส - ศูนย์กศน. )

การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ

ค่าวัสดุ  ค่าครุภัณฑ์ ค่าซ่อมบำรุง




การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...