1 พฤศจิกายน 2563

ว16/2561 ว26/2561 หลักเกณฑ์ แบบประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย

เอกสารประกอบการบรรยายการพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย


หลักสูตรแนบท้ายหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๗/ว ๑๙ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑)

หลักการ
๑. การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มสำหรับผู้ที่ใด้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย เป็นการพัฒนาเพื่อเตรียมความพรัอมที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด จึงได้กำหนดหลักสูตรการพัฒนาสำหรับครูผู้ช่วย
๒. การพัฒนาครูผู้ช่วยตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ.กำหนดนี้ เป็นการพัฒนาในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งและมีการประเมินผลการพัฒนาตามระยะเวลาที่กำหนด

วัตถุประสงค์
เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และบุคลิกลักษณะของครูผู้ช่วย ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพครู ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นครูที่ดีได้

โครงสร้างหลักสูตร
หมวดที่ ๑ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
หมวดที่ ๒ การจัดการเรียนการสอน
หมวดที่ ๓ การบริหารจัดการชั้นเรียน
หมวดที่ ๔ การมีส่วนร่วมการพัฒนาในสถานศึกษาและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
หมวดที่ ๕ ทักษะการใช้ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล

สาระการพัฒนา

หมวดที่ ๑ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
๑.๑ วินัยและการรักษาวินัย
๑.๒ คุณธรรม จริยธรรม
๑.๓ จรรยาบรรณวิชาชีพ
๑.๔ การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑.๕ จิตวิญญาณความเป็นครู
๑.๖ จิตสำนึกความรับผิดชอบในวิชาซีพครู

หมวดที่ ๒ การจัดการเรียนการสอน
๒.๑ การวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดผลการเรียนรู้
๒.๒ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และส่งเสริมกระบวนการคิด
๒.๓ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นันผู้เรียนเป็นสำคัญ และส่งเสริมกระบวนการคิด
๒.๔ การเลือก หรือสร้าง หรือพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
๒.๕ การวัตและประเมินผลการเรียนรู้

หมวดที่ ๓ การบริหารจัดการชั้นเรียน
๓.๑ การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๓.๒ ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
๓.๓ การอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมที่ดีงาม

หมวดที่ ๔ การมีส่วนร่วมการพัฒนาในสถานศึกษาและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
๔.๑ การทำงานเป็นทีม
๔.๒ งานกิจกรรมตามภารกิจบริหารงานของสถานศึกษา
๔.๓ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาซีพ

หมวดที่ ๕ ทักษะการใช้ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล
๕.๑ ทักษะการใช้ภาษาและเทคโนโลยีติจิทัลเพื่อพัฒนาตนเอง
๕.๒ ทักษะการใช้ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาผู้เรียน
๕.๓ ทักษะการใช้ภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสื่อสาร


ที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ. วันพุธที่ 2 มกราคม 2562
https://www.kroobannok.com/85956