11 กุมภาพันธ์ 2559

การออกข้อสอบวิชาเลือก ถ้าวิชาที่ใช้รหัสเดียวกัน 3 ระดับ การออกข้อสอบจำเป็นต้องทำชุดเดียวกันแล้วนำไปสอบทั้ง 3

การออกข้อสอบวิชาเลือก ถ้าวิชาที่ใช้รหัสเดียวกัน 3 ระดับ การออกข้อสอบจำเป็นต้องทำชุดเดียวกันแล้วนำไปสอบทั้ง 3 ระดับ 


ผมตอบว่า รหัสเดียวกัน คือวิชาเดียวกัน ทำข้อสอบชุดเดียวกันได้ ดีกว่าสะดวกกว่า ถ้าอยากทำไม่เหมือนกันก็ได้ ไม่ผิด แต่ไม่สะดวก จะอ้างว่า ม.ปลายเรียนยากกว่านั้น ไม่จริง ก็มันเป็นวิชาเดียวกัน ถึงจะระดับประถมก็ต้องเรียนทั้งเล่ม ( เล่มเดียวกัน ) การออกข้อสอบที่ถูกต้อง ต้องออกให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหลักสูตร จะบอกว่าระดับประถมเรียนในบทแรก ๆ ระดับ ม.ต้น เรียนกลางๆเล่ม ระดับ ม.ปลาย เรียนบทท้ายๆเล่ม ก็แสดงว่าจัดการเรียนการสอนในแต่ละระดับไม่ครบถ้วนตามเนื้อหาหลักสูตร

คนละอย่างกับวิชาที่เนื้อหาคล้ายกัน แต่รหัสต่างกัน เช่น พค11001 คณิตศาสตร์, พค21001 คณิตศาสตร์, พค31001 คณิตศาสตร์ 3 วิชานี้ถึงแม้จะมีเนื้อหาซ้ำกันเกิน 50 % แต่ก็ต่างกันบ้าง เมื่อรหัสต่างกันก็เป็นคนละวิชากัน ข้อสอบอาจจะเหมือนกันได้เพียงบางข้อ
วิชาที่รหัสเดียวกัน ถ้าใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้ง 3 ระดับ เวลาสอบทั้งสามระดับในวิชานี้ ต้องสอบในเวลาเดียวกันนะ

การจ้างเหมาบริการ ปกติจะให้ผู้รับจ้างไปประชุมอบรมไม่ได้

1.2 การจ้างเหมาบริการ ปกติจะให้ผู้รับจ้างไปประชุมอบรมไม่ได้ ลักษณะเดียวกับการจ้างพิมพ์หนังสือเรียน ไม่ถือว่าผู้รับจ้างเป็นบุคลากรของส่วนราชการ จะให้ผู้รับจ้างพิมพ์หนังสือเรียน ไปประชุมอบรมเรื่องการพิมพ์หนังสือเรียนหรือเรื่องอื่นโดยเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงที่พักค่าเดินทางจากส่วนราชการไม่ได้ 

เช่นเดียวกัน การจ้างบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ ต้องเลือกจ้างจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถในงานบรรณารักษ์อยู่แล้ว จ้างมาให้ทำงานเลย ไม่ใช่การฝึกงาน จะส่งไปประชุมอบรมเรื่องบรรณารักษ์อีกไม่ได้ จะส่งไปประชุมอบรมเรื่องอื่นก็ไม่ได้ เพราะอยู่นอกเหนือบทบาทหน้าที่ ..
แต่.. ถ้ามีเหตุผล เช่น ส่วนกลางกำหนดแนวปฏิบัติมาให้ห้องสมุดทุกแห่งปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน จึงต้องจัดอบรมชี้แจงแนวปฏิบัติ เป็นต้น.. ก็จัดอบรมได้ ซึ่ง จ.พระนครศรีอยุธยาก็ทำโครงการให้บรรณารักษ์ไปประชุมอบรมในลักษณะนี้แล้ว

ข้อมูลจาก อ.เอกชัย 

การซื้อพัสดุที่วงเงินเกินอำนาจอำเภอ จังหวัดให้อำเภอเป็นผู้ดำเนินการได้

1.การซื้อพัสดุที่วงเงินเกินอำนาจอำเภอ จังหวัดให้อำเภอเป็นผู้ดำเนินการได้

1. ระหว่างการอบรม "ยุทธศาสตร์และกระบวนทัศน์การจัดการเรียนการสอนของ กศน.ตำบล" ของ กศน.พระนครศรีอยุธยา ที่ เฮฟเว่นแควรีสอร์ท กาญจนบุรี 4 - 6 ก.พ.58 ในช่วงก่อนพักเที่ยงวันที่ 5 ก.พ. คุณดำรงค์ศักดิ์ ว่าวกำเหนิด อดีตเจ้าพนักงานพัสดุ สป.ศธ. มีความเชี่ยวชาญด้านการพัสดุมากที่สุดคนหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเกษียณแล้วมาเป็นที่ปรึกษาที่ สนง.กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มาแนะนำเรื่องน่าสนใจในที่ประชุม เช่น


1.1 การซื้อการจ้างพัสดุของ กศน.อำเภอ/เขต แม้วงเงินจะเกินที่ได้รับมอบอำนาจ จังหวัด ก็ให้ กศน.อำเภอ/เขต เป็นผู้ดำเนินการได้ โดยในขั้นตอนขออนุมัติหลักการต้องส่งเรื่องให้จังหวัดอนุมัติ จากนั้น ถ้าจังหวัดตั้งบุคลากรอำเภอเป็นกรรมการและให้ยื่นซองที่อำเภอ กศน.อำเภอ/เขตก็ดำเนินการต่อ ถ้าผลการสอบราคาได้ราคาอยู่ในวงเงินในอำนาจ กศน.อำเภอ/เขตก็อนุมัติจัดซื้อจัดจ้างเองเลย แต่ถ้าผลการสอบราคาจะเสนอซื้อ/จ้างในราคาเกินอำนาจ ก็ส่งไปขออนุมัติที่จังหวัด

ข้อมูล อ.เอกชัย

พนักงานราชการขออนุญาตเดินทางไปราชการโดยรถยนต์ส่วนตัวได้

พนักงานราชการขออนุญาตเดินทางไปราชการโดยรถยนต์ส่วนตัวได้

http://nfeph.blogspot.com/2014/06/2-2-2.html ว่า ได้ แม้ไม่มีข้าราชการไปด้วย 

อยู่ที่ผู้มีอำนาจอนุมัติจะพิจารณาอนุมัติตามความจำเป็นและความเหมาะสม แต่ ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ใช้รถส่วนตัวไม่ใช่ ผอ.กศน.อำเภอ/เขต เพราะ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการจัดการประชุมของทางราชการ พ.ศ.2524 ข้อ 11 ( 4 ) กำหนดผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ให้เป็นอำนาจของอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ ( ของ กศน. ขณะนี้หมายถึงปลัดกระทรวง ) ซึ่งจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ เป็นผู้อนุมัติการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักรแทนก็ได้

ตามคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 270/51 ปลัดกระทรวงมอบอำนาจให้ ผอ.สนง.กศน.จ./กทม. ในข้อ 8 ว่า “การอนุมัติให้เดินทางไปราชการภายในราชอาณาจักรของตนเอง ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างในสังกัด และบุคคลภายนอก การอนุมัติค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การใช้รถยนต์ส่วนตัวไปราชการ... ...”

แต่ ในคำสั่งที่มอบอำนาจให้ ผอ.กศน.อ./ข. ที่ 489/51 ข้อ 9 ระบุดังนี้
- วรรคหนึ่ง การอนุมัติไปราชการ ... ของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ ลูกจ้าง บุคคลภายนอก ... ...

- วรรคสอง การอนุมัติไปราชการสำหรับตนเอง ของ ผอ.กศน.อ. ภายในเขตจังหวัดที่สถานศึกษาตั้งอยู่ และจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับจังหวัดนั้น ... ...

- วรรคสาม การอนุมัติการใช้รถยนต์ส่วนตัวไปราชการภายในเขตพื้นที่ตามวรรคสอง

สรุปว่า ผอ.กศน.อ./ข. มีอำนาจอนุมัติการใช้รถยนต์ส่วนตัวได้เฉพาะการไปราชการภายในเขตพื้นที่ของตนเอง 

ส่วนข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง อื่น ๆ ถ้าจะขออนุมัติไปราชการโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว ต้องขออนุมัติ ผอ.สนง.กศน.จ./กทม.

ครู ศรช. และครูสอนคนพิการเบิกค่าคุมสอบได้

ครู ศรช. และครูสอนคนพิการเบิกค่าคุมสอบได้ 

แต่ ปัญหาคือ วันเสาร์-อาทิตย์ ( วันคุมสอบ ) อาจไม่ใช่วันหยุดราชการของครู ศรช.บาง คน เช่น กศน.อ.บางแห่ง กำหนดให้ครู ศรช.และบรรณารักษ์บางคนทำงานในวันอาทิตย์ถึงพฤหัสฯ หยุดวันศุกร์ เสาร์ กรณีนี้วันอาทิตย์จะเป็นวันทำการปกติของเขา 

ซึ่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอบ พ.ศ.2549 กำหนดว่าให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสอบในวันทำการปกติ เบิกค่าดำเนินการสอบในอัตราครึ่งหนึ่ง 

และ หลักเกณฑ์ กศน. กำหนดว่า บุคลากรในสังกัด กศน.ถ้าทำงาน เช่น สอนวิชาชีพ สอนเสริม ในเวลาราชการ ไม่ให้เบิกค่าตอบแทน

ฉะนั้น ถ้าจะให้ครู ศรช.เบิกค่าคุมสอบเต็ม เมื่อพบกลุ่มครั้งสุดท้ายก่อนสอบปลายภาคแล้ว กศน.อ.ต้องปรับเปลี่ยนให้ครู ศรช.มาทำงานวันจันทร์ถึงศุกร์ทุกวันทันที เพื่อให้วันเสาร์อาทิตย์เป็นวันหยุดราชการของเขา

ข้อมูล อ.เอกชัย

เมื่อวันที่ 24-25 เมษายน 2567 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูชำนาญการ สกร.อำเภอสิงหนคร ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการให้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบ...