19 พฤศจิกายน 2558

1.ใน 1 กลุ่มมี นศ. 2 ระดับชั้นได้ไหม, 2.ข้าราชการครูไม่มี นศ.เป็นของตนเองได้ไหม, 3.ใครจะลงคำรับรองฯถ้าข้าราชการครูเป็นครูประจำกลุ่ม นศ.ของ กศน.ตำบล

1.ใน 1 กลุ่มมี นศ. 2 ระดับชั้นได้ไหม

2.ข้าราชการ ครูไม่มี นศ.เป็นของตนเองได้ไหม

3.ใครจะลงคำรับรองฯถ้าข้าราชการครูเป็นครูประจำกลุ่ม นศ.ของ กศน.ตำบล

       1. เรื่องใน 1 กลุ่ม ควรมี นศ.ระดับชั้นเดียว เช่น ม.ต้นทั้งหมด หรือ ม.ปลายทั้งกลุ่ม 

            นี้ เป็นเรื่องปกติธรรมดาของการจัดการเรียนการสอนทุกหลักสูตร เพราะแต่ละระดับมีเนื้อหาวิชาต่างกัน ยากที่จะจะจัดการเรียนการสอนรวมกันให้มีคุณภาพ

แต่ประเด็นนี้ก็เป็นปัญหา/ข้อจำกัดสำหรับครู กศน.มาตลอด จนถึงปัจจุบัน เท่าที่ฟังท่านเลขาธิการ กศน.ให้นโยบาย ท่านเน้นที่  “1 กลุ่มไม่ให้เกิน 40 คน และ จัดการเรียนการสอน/จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งละกลุ่มเดียว” ในแต่ละกลุ่ม เราก็ต้องพยายามแยกให้มี นศ.เพียงระดับเดียว แต่ ในทางปฏิบัติอาจมีบางกลุ่มจำเป็นต้องมี 2 ระดับ ก็อนุโลมได้ เพราะปัญหา/ข้อจำกัดสำหรับครู กศน.ยังมีอยู่

          เช่น ถ้าตำบลใดมีครูคนเดียว มี นศ.ระดับประถม 42 คน ม.ต้น 43 คน ม.ปลาย 44 คน กรณีนี้ถ้าจะแบ่งกลุ่มให้ถูกทั้งนโยบายและหลักการ ครูคนนี้ต้องแบ่งถึง 6 กลุ่ม และตามนโยบายแม้ว่ากลุ่มจะมี นศ.น้อยคน ก็ต้องแยกสอนไม่พร้อมกัน ( จะให้ นศ.บางคนไปอยู่กลุ่มตำบลอื่น เดินทางไปเรียนที่ตำบลอื่น ก็จะเป็นปัญหาอื่นอีก )โดยต้อง “จัดตั้งกลุ่ม” ก่อน ระบุว่าแต่ละกลุ่มอยู่ที่ไหน สอนวันเวลาใด ซึ่งวันเวลาต้องไม่ซ้ำซ้อนกันในครูประจำกลุ่มคนเดียวกัน ดังนั้นครูคนนี้เฉพาะการสอนอย่างเดียวก็สัปดาห์ละ 6 X 6 ชั่วโมง ( ปัจจุบันไม่พูดว่าให้สอนสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมงแล้ว ) รวมเป็น 36 ชั่วโมง จะยากในทางปฏิบัติ ก็คงต้องอนุโลมให้ลดกลุ่มโดยบางกลุ่มมี นศ. 2 ระดับชั้นรวมกันได้

     
  2. เรื่องข้าราชการครูต้องมีภาระงานสอน เป็นเรื่องบังคับตามกฎหมายของ “ผู้ดำรงตำแหน่งครู” ทุกสังกัด โดยเฉพาะกับทุกคนที่จะมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ/หรือ มีวิทยฐานะ( ผู้ดำรงตำแหน่งครู จะปฏิบัติงานที่หน่วยงานทางการศึกษาที่ไม่ใช่สถานศึกษา เช่น สนง.กศน.จังหวัด ไม่ได้ เพราะ สนง.กศน.จังหวัดจะไม่มีการจัดการเรียนการสอนเอง ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระเบียบกฎหมายกำหนดไม่ได้ ที่ไหนยังให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูไปช่วยราชการประจำที่ สนง.กศน.จังหวัด ถือว่าไม่สนใจระเบียบกฎหมาย ) แต่ภาระงานสอนตามระเบียบกฎหมายของข้าราชการครู มีหลายอย่าง ไม่จำเป็นต้องหานักศึกษาเป็นของตนเอง เช่นสอนเสริมให้กับ นศ.ของ กศน.ตำบลก็ได้ต้องพิจารณาจากหลายด้าน เช่น

       1) ถ้าข้าราชการครูไม่หานักศึกษาเป็นของตนเอง ก็ไม่ได้ช่วยแบ่งเบากลุ่มเป้าหมายรวมของอำเภอ ไม่ได้ช่วยลดกลุ่มเป้าหมายของครูประเภทอื่น อาจทำให้ครูประเภทอื่นเกิดความรู้สึก ( แต่บางครั้งก็ดี ที่ไม่ต้องแย่ง นศ.กัน )
       2) ถ้าข้าราชการครูไม่ช่วยหานักศึกษาเป็นของตนเองและส่งผลให้รวมทั้งอำเภอไม่ได้ นศ.ตามเป้า ผอ.กศน.อำเภอก็ต้องรับผิดชอบ       3) ถ้าข้าราชการครูไม่ช่วยหานักศึกษาเป็นของตนเอง แต่ทั้งอำเภอได้ นศ.ครบตามเป้าแล้วข้าราชการครูไม่สอน ความรับผิดชอบจะไปอยู่ที่ตัวข้าราชการครู คือ ถ้าอ้างว่า มีภาระงานสอน เช่น ทำตารางนิเทศ/ตารางสอนเสริม/อื่น ๆ ครบสัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง และมีภาระงานสอนอื่นรวมครบสัปดาห์ละ 18 ชั่วโมงแล้ว ถ้าไม่จริง ก็อาจส่งผลต่อการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ส่งผลต่อวิทยฐานะ

       สรุป ข้าราชการครูจะต้องหานักศึกษาเป็นของตนเองหรือไม่ เป็นความรับผิดชอบของทั้งตัวข้าราชการครูและผู้บริหาร โดยผู้บริหารเป็นผู้ตัดสิน ถ้าผู้บริหารตัดสินตามระเบียบและนโยบาย แล้วข้าราชการครูไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าข้าราชการครูขัดนโยบาย

3. ถ้าครู กศน.ตำบล หรือครู ศรช. เป็นผู้รับสมัครนักศึกษา ได้ระดับประถม 30 คน ม.ต้น 30 คน ม.ปลาย 30 คน รวม 90 คน จัดตั้งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ให้ครู กศน.ตำบลหรือครู ศรช. เป็นครูประจำกลุ่ม 2 กลุ่ม และให้ข้าราชการครูเป็นครูประจำกลุ่ม 1 กลุ่ม ข้าราชการครูไม่ได้รับสมัคร นศ.เอง กรณีนี้จะถือว่า นศ. 90 คนนี้ เป็นผลงานของใคร จะลงเป้า/ผลในคำรับรองของใครเท่าไร 
       - ครู กศน.ตำบลลง เป้า/ผล ในคำรับรองฯของตน ทั้ง 90 คน โดยข้าราชการครูไม่ต้องลงในคำรับรองฯ หรือ       - ครู กศน.ตำบลลง เป้า/ผล ในคำรับรองฯของตน 60 คน และข้าราชการครูลงในคำรับรองของตน 30 คน หรือ
       - ครู กศน.ตำบลลงเป้า/ผล ในคำรับรองฯของตน 90 คน และข้าราชการครูลงในคำรับรับรองฯของตนอีก 30 คน จะซ้ำซ้อนเป็น 120 คนหรือไม่
กรณีนี้ผมไม่แน่ใจว่าระบบโปรแกรมฐานข้อมูลการบริหารจัดการฯ ถ้าลงคำรับรองฯตามวิธีที่ 3 แล้ว โปรแกรมจะรวมเป็นยอดของอำเภอ 120 คนโดยอัตโนมัติหรือไม่ ถ้าโปรแกรมไม่รวมกันให้ซ้ำซ้อน ก็ควรลงตามวิธีที่ 3 แต่ถ้าโปรแกรมรวมกันให้ซ้ำซ้อน ก็ควรลงตามวิธีที่ 1 หรือ 2



ขอบคุณบทความจาก 
อ.เอกชัย ยุติศรี

18 พฤศจิกายน 2558

แนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2559 สำนักงาน กศน.


เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณปี 59

1. ผู้ไม่รู้หนังสือ หัวละ 550 บาท ( งบดำเนินงาน )
2. การศึกษาเพื่ออาชีพ/โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
2.1 พัฒนาทักษะชีวิต รูปแบบกลุ่มสนใจ ไม่เกิน 30 ชั่วโมง กลุ่มละ 6 คนขึ้นไป หัวละ 115 บาท
- ทักษะชีวิตทั่วไป เช่นเรื่องยาเสพติด ความปลอดภัยในชีวิต สุขภาพอนามัย ( งบดำเนินงาน )
- โครงการหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ, โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ( งบรายจ่ายอื่น )
2.2 วิชาชีพ รูปแบบชั้นเรียน หลักสูตร 31-100 ชั่วโมง กลุ่มละ 11 คนขึ้นไป หัวละ 900 บาท ค่าวัสดุชั่วโมงละไม่เกิน 30 บาท/หัว ( งบรายจ่ายอื่น )
- หลักสูตรช่างพื้นฐาน ( ช่างประจำบ้าน ) เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างทาสี ช่างเชื่อม ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและเครื่องใช้สำนักงาน
- หลักสูตรพัฒนาอาชีพ ( ต่อยอดอาชีพเดิม )
3. การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
- เรียนรู้หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการบัญชีครัวเรือน หัวละ 400 บาท ( งบดำเนินงาน )
- หมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท หมู่บ้านละ 2 คน ๆ ละ 400 บาท ( งบดำเนินงาน )
4. เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ( เทคโนโลยีที่เหมาะสม = เทคโนโลยี + ภูมิปัญญา ) หัวละ 400 บาท ( งบดำเนินงาน )

15 พฤศจิกายน 2558

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน. ตำบลหรือแขวง พ.ศ. ๒๕๕๓



          
     เพื่อให้การดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ ประชาชนในชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน มุ่งสร้างโอกาสและให้บริการการเรียนรู้อย่างหลากหลายวิธี สนองความต้องการและเสนอทางเลือกในการพัฒนาตนเองอันจะนำไปสู่การพัฒนาชีวิต ของประชาชนโดยยึดหลักการชุมชนเป็นรากฐานของการพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน. ตำบลหรือแขวง พ.ศ.๒๕๕๓”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ตำบล” หมายความว่า ตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการ ท้องถิ่น และในกรณีที่ตำบลใดมีพื้นที่อยู่ทั้งในและนอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่นให้หมายความถึงเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการ      ส่วนท้องถิ่น
“แขวง” หมายความว่า เป็นเขตการปกครองระดับที่ ๓ รองลงมาจากเขตและจังหวัด แขวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากตำบลที่มีอยู่เดิมในจังหวัดพระนครและ จังหวัดธนบุรี
“กศน.ตำบลหรือแขวง” หมายความว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหรือแขวง
ข้อ ๔ แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
(๑) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
(๒) สร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
(๓) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
(๔) ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ  เอกชนและภาคประชาชน
ข้อ ๕ การจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง ให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขต คัดเลือกมาจากศูนย์การเรียนชุมชนในตำบลหรือแขวงหรือจัดตั้งขึ้นใหม่ตามความ เหมาะสม โดยความเห็นชอบของสำนักงาน กศน. จังหวัดหรือกทม. และจัดทำเป็นประกาศของจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงนามในประกาศ จัดตั้ง
ข้อ ๖ การยุบเลิกแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง ให้จัดทำเป็นประกาศจังหวัด โดยความเห็นชอบของสำนักงาน กศน. จังหวัดหรือกทม.
ข้อ ๗ ให้แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้
(๑) ส่งเสริมและจัดการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
(๒) ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
(๓) ดำเนินการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
(๔) ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๕) จัดบริการศูนย์ติวเข้มเติมเต็มความรู้
(๖) จัดบริการการเรียนรู้โดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(๗) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
(๘) จัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองด้วยวิถีประชาธิปไตย
(๙) ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
(๑๐) เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และศาสนสถานอื่น ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
(๑๑) ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(๑๒) ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดยจัดให้มีอาสาสมัคร กศน.ห้าสิบหลังคาเรือนต่อหนึ่งคน
(๑๓) กิจกรรมอื่นๆ ตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๘ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แต่งตั้งหัวหน้าแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
ข้อ ๙ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งคณะกรรมการแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง ประกอบด้วย
(๑) กรรมการที่เป็นตัวแทนจากหมู่บ้านหรือชุมชนละ ๒ คน ถ้าหากมีเกิน ๑๐ หมู่บ้านให้มีหมู่บ้านละ ๑ คน ซึ่งอาจมาจากผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เป็นต้น
(๒) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรนักศึกษา ๒ คน
(๓) กรรมการที่เป็นอาสาสมัคร กศน. ๑ คน
(๔) ประธานกรรมการ เลือกจากตัวแทนคณะกรรมการในข้อ (๑)
(๕) หัวหน้าแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวงเป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๑๐ วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการตามข้อ ๙ คราวละสี่ปีนับจากวันที่ได้รับแต่งตั้ง
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการตามข้อ ๙ พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย   ลาออก ถูกคณะกรรมการด้วยกันมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีมติให้ออก
ข้อ ๑๒ คณะกรรมการแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง มีหน้าทีดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
(๒) ประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ ในตำบล
(๓) ประสานกับส่วนราชการในตำบลและเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
(๔) ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อสนับสนุน สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สถานที่ และนำแผนชุมชนในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาปฏิบัติ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ของแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
ข้อ ๑๓ แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง ต้องมีอาคาร สถานที่ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับชุมชน
ข้อ ๑๔ แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง จัดให้มีสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่จำเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ข้อ ๑๕ การกำหนดมาตรฐานแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน. ตำบลหรือแขวง และแนวทางการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง ให้เป็นไปตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
ข้อ ๑๖ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจ ตีความวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๓
นายชินวรณ์  บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

8 พฤศจิกายน 2558

วิธีการเทียบโอน

ตัวอย่าง .. การเทียบโอนผลการเรียน  แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ตัวอย่าง .. การเทียบโอนผลการเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ตัวอย่าง .. การเทียบโอนผลการเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

วิธีเทียบโอนผลการเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 มีหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน ดังนี้ 
หมวด 1 หลักการการเทียบโอนผลการเรียน 
(1) สถานศึกษาจัดให้มีการเทียบโอนผลการเรียนในทุกภาคเรียน 
(2) แต่งตั้งคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน 
(3) ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนเป็นนรายวิชา ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
(4) การเทียบโอนผลการเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนได้
(5) การเทียบโอนผลการเรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ทั้งจากการศึกษาในระบบ, การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพหรือประสบการณ์การทำงาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต 
(6) มีวิธีการและหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนที่ได้มาตรฐานชัดเจนโปร่งใสและยุติธรรม
(7) ให้ใช้แนวทางการเทียบโอนตามเอกสารแนบท้ายระเบียบนี้
หมวด 2  วิธีการเทียบโอนผลการเรียน 
(1) การพิจารณาจากหลักฐานการศึกษา 
  1.1 การพิจารณาหลักฐานการศึกษาจากหลักสูตรที่จัดการศึกษาเป็นระดับเป็นการตรวจสอบหลักฐานผลการเรียนในรายละเอียดเกี่ยวกับระดับหรือชั้นปีที่เรียนจบมา รายวิชาที่เรียนผลการเรียน ความถูกต้องของหลักฐาน โดยหลักฐานการศึกษาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียนต้องเป็นหลักฐานที่ออกโดยสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองหรือมีวิทยฐานะ
  1.2 การพิจารณาหลักฐานจากการศึกษาต่อเนื่องเป็นการตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาที่ศึกษา จํานวนชั่วโมง หน่วยงานที่จัดเพื่อพิจารณาเทียบโอนให้สอดคล้องกับรายวิชาตามหลักสูตรซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนของสถานศึกษา  
(2) การประเมินความรู้และประสบการณ์เป็นการวัดตรวจสอบ และประเมินผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการประกอบอาชีพ การทํางานจากการเรียนรู้ตามอัธยาศัยโดยใช้เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย เช่น แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติจริง เป็นต้น
หมวด 3  หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน 
(1) ให้คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรที่ผู้เรียนนําหลักฐานการศึกษามาเทียบโอนผลการเรียนแล้วจัดทําตารางวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อใช้ในการเทียบโอนผลการเรียน
(2) การพิจารณาเทียบโอนให้พิจารณาจาก
  2.1 ระยะเวลาและระดับชั้นที่ผู้ขอเทียบโอนเรียนผ่านมา
  2.2 รายวิชา/หมวดวิชา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัดของรายวิชา หรือคําอธิบายรายวิชา ระหว่างรายวิชาที่นํามาเทียบโอนกับรายวิชาที่รับเทียบโอนต้องมีความสอดคล้องกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 
  2.3 จํานวนหน่วยกิตของรายวิชา/หมวดวิชาที่นํามาเทียบโอนต้องไม่น้อยจํานวนหน่วยกิตในรายวิชาที่รับเทียบโอนผลการเรียน หากรายวิชาที่นํามาเทียบโอนผลการเรียน อาจนำรายวิชาอื่นที่อยู่ในสาระและมาตรฐานเดียวกันมานับรวมให้ได้จำนวนหน่วยกิตเท่ากันหรือมากกว่าจํานวนหน่วยกิตในรายวิชาที่รับเทียบโอนผลการเรียน
  2.4 ไม่รับเทียบโอนรายวิชา/หมวดวิชาที่มีค่าระดับผลการเรียนเป็น 0 , ร , มส. 
(3) ให้เทียบโอนผลการเรียนได้ทั้งรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก  โดยนับรวมกันแล้วต้องไม่เกินจํานวนหน่วยกิตที่กำหนดในแต่ละระดับการศึกษา คือ
      ระดับประถมศึกษา  เทียบโอนได้ไม่เกิน  36  หน่วยกิต   
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  เทียบโอนได้ไม่เกิน  42  หน่วยกิต   
      ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  เทียบโอนได้ไม่เกิน  57  หน่วยกิต  
(4)  การให้ค่าระดับผลการเรียนจากการเทียบโอน 
     4.1  ผลการเรียนเป็นรายวิชาให้ใช้ค่าระดับผลการเรียนตามที่ปรากฏในหลักฐานการศึกษาที่นํามาเทียบโอน ถ้าผลการเรียนในหลักสูตรเดิมมากกว่า 1 รายวิชานํามาเทียบโอนกับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ 1 รายวิชา ให้นำค่าระดับผลการเรียนของรายวิชาที่ขอเทียบโอนมาเฉลี่ย  หากมีจุดทศนิยมตามหลักการทางคณิตศาสตร์เพื่อบันทึกผลการเรียนต่อไป
     4.2  ผลการเรียนเป็นหมวดวิชาให้ใช้ค่าระดับผลการเรียนของหมวดวิชาเป็นค่าระดับผลการเรียนในรายวิชาที่เทียบโอนได้
(5)  หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติผลการเทียบโอน    
      ขอบคุณแหล่งที่มา : เอกสารทางวิชาการลำดับที่ 32/2553  สำนักงาน กศน.   (Download คลิกที่นี่)

ขอบคุณเว็บไซด์ครูนอกระบบของครูอาคม จันทนี

เมื่อวันที่ 24-25 เมษายน 2567 นายปฐมพร ธัมมาภิรัตตระกูล ครูชำนาญการ สกร.อำเภอสิงหนคร ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการให้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบ...