15 มกราคม 2564

การทำลายข้อสอบ

1) การทำลายข้อสอบ N-NET
ในคู่มือการจัดสอบ N-NET ของ สทศ.ฉบับล่าสุด ( ปีการศึกษา 2563 ) ระบุว่า
“3.6 เมื่อเสร็จสิ้นกำรสอบ หัวหน้าสนามสอบต้องรวบรวมกล่องบรรจุซองกระดาษคำตอบกับกล่องบรรจุแบบทดสอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบ ส่งมอบให้กับตัวแทนศูนย์สอบ(ผอ.กศน.อำเภอ) เพื่อนำส่งศูนย์สอบ(กศน.จังหวัด)ทันที
4.3 แบบทดสอบ ให้ศูนย์สอบ(กศน.จังหวัด)ดำเนินการทำลายภายใน 30 วัน หลังประกาศผลสอบ แล้วรายงานผลการทาลายแบบทดสอบให้ สทศ. ทราบ ตามแบบ N-NET 12”
การทำลายข้อสอบ ให้ดำเนินการตามระเบียบสารบรรณ ส่วนถ้ามีค่าใช้จ่ายในการจ้างทำลายให้จ้างตามระเบียบพัสดุ ( แต่การทำลายในปัจจุบัน จะมีรายได้ ไม่ใช่มีค่าใช้จ่าย ) เช่นเดียวกับการทำลายข้อสอบปลายภาคที่ตอบในข้อ 2)
2) การทำลายข้อสอบปลายภาค
ทั้งกระดาษคำถามและกระดาษคำตอบ ทั้งข้อสอบที่มาจากส่วนกลางและข้อสอบวิชาเลือกเสรีของจังหวัดเอง ใช้ระเบียบการทำลายหนังสือ ตามระเบียบสารบรรณ
ซึ่งตามระเบียบสารบรรณกำหนดเรื่องการทำลายหนังสือให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรม แต่ของ กศน.ระดับอธิบดีกรมคือปลัดกระทรวง และปลัดกระทรวง ศธ.มอบอำนาจเรื่องนี้ให้ ผอ.กศน.จังหวัด ตามคำสั่งมอบอำนาจที่ 531/51 ข้อ 7 ซึ่ง ผอ.กศน.จังหวัดจะมอบอำนาจต่อไม่ได้ ต้องออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการเอง โดยถ้าจะทำลายหนังสือหรือข้อสอบที่อยู่ที่อำเภอ จังหวัดอาจแต่งตั้งบุคลากรของอำเภอเป็นคณะกรรมการ
อนึ่งเรื่องการทำลายข้อสอบนี้ ในคู่มือของกลุ่มพัฒนาระบบการทดสอบ(ชื่อเดิม) ระบุว่าทำลายตามระเบียบพัสดุ ซึ่งผมคิดว่าไม่ถูกต้อง เพื่อความแน่ใจ วันที่ 2 ต.ค.61 ผมถามอดีตหัวหน้ากลุ่มงานพัสดุ กลุ่มการคลัง กศน. ( เกษียณแล้ว ) ว่า
การทำลายข้อสอบปลายภาค ที่สอบเสร็จแล้ว ( กระดาษคำถาม และ กระดาษคำตอบ ) ทำลายตามระเบียบสารบรรณ หรือ ระเบียบพัสดุ
ท่านตอบว่า ทำลายตามระเบียบสารบรรณ ( แต่ในส่วนของ ถ้ามีค่าใช้จ่ายเช่นค่าจ้างทำลาย ให้จ้างตามระเบียบพัสดุ )
ในทางปฏิบัติ เคยมีหนังสือแจ้งเมื่อปี 2551 เรื่องการทำลายข้อสอบ ( ชุดคำถาม ) ให้จังหวัดเป็นผู้ทำลาย เมื่อสอบเสร็จต้องขนส่งไปจังหวัด ไม่ได้อยู่ที่อำเภอ โดยอาจทำลายด้วยการเผา หรือให้เอกชนทำการย่อยเป็นเส้น ๆ ให้ไม่สามารถอ่านได้ เมื่อย่อยแล้วก็ ให้ หรือ ขาย เอกชนไป ( แทนที่จะมีค่าใช้จ่าย กลับมีรายได้ถ้าใช้วิธีทำให้ไม่สามารถอ่านได้แล้วขาย ซึ่งปัจจุบันมักใช้วิธีนี้ เอกชนมีเครื่องมือทำลายต่อหน้ากรรมการ ส่วนการเผากระดาษจำนวนมากนั้นไม่ง่ายและการเผาจะเกิดควันเป็นมลภาวะซึ่งอาจผิดกฎหมาย )
ส่วนกระดาษคำตอบ ก็เป็นอำนาจของจังหวัดเหมือนกัน เพียงแต่เอกสารถ้าอยู่ที่อำเภอ จังหวัดมักจะออกคำสั่งแต่งตั้งคนอำเภอเป็นกรรมการทำลายอยู่ที่อำเภอ
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2560 กำหนดว่า “คณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วยประธานและกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดย ปกติ ให้แต่งตั้งจากข้าราชการ”
ถ้า กศน.อำเภอมีข้าราชการไม่ครบ 3 คน อาจให้ข้าราชการอำเภออื่นร่วมเป็นกรรมการ หรืออาจอนุโลมให้เป็นข้าราชการเฉพาะประธาน ส่วนกรรมการอาจเป็นลูกจ้างประจำหรือพนักงานราชการ

ขอบคุณ ครู

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...