ตัวอย่างการเขียน กพช.
คู่มือกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคืออะไร
กิจกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิต หรือ กพช. หมายถึง กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษาเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักทำ เป็นผู้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยนักศึกษาสามารถเลือกทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามความสนใจ หรือความถนัด เน้นการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถี ชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในแต่ละระดับการศึกษาจะต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมแล้วไม่น้อย กว่า 200 ชั่วโมง โดยมีขอบข่ายเนื้อหาทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
มีความจำเป็นอย่างไร
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร ซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 200ชั่วโมงในแต่ละระดับ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต มีดังนี้
เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหา และความมีเหตุผล
เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนา ครอบครัว ชุมชน และสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม
องค์ประกอบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย
1. ความรู้พื้นฐาน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขอบข่ายเนื้อหาเกี่ยวกับ
โครงสร้างและประโยชน์ของ กพช.
แนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
กระบวนการกลุ่ม
กระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
การประสานเครือข่าย
การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
การวางแผน และประโยชน์ของการวางแผน
มนุษยสัมพันธ์
การเขียนโครงการ
2. กิจกรรมโครงการ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรม โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
ลักษณะกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองและครอบครัว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน และต้องพิจารณาในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
ประโยชน์ที่ตนเอง ครอบครัวได้รับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้าง/พัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตให้ตนเอง / ครอบครัวอยู่ได้อย่างมีความสุข
การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วผู้เรียนและครอบครัวเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ
การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน มีการประสานงาน ความรับผิดชอบ เสียสละ และจิตบริการ
ความเหมาะสมในการใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ
ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ได้แก่ ความรู้ แหล่งข้อมูล วัสดุ งบประมาณและการเลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ประหยัด
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและครอบครัว
2. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และพิจารณาในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมจะได้รับหรือบริการที่ช่วยเสริม หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และอื่นๆ ที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ
การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วคนในชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งด้านความคิด แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การใช้กระบวนกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เสียสละ จิตบริการตามวิถีประชาธิปไตย
การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงงานที่นำเสนอ
ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรม เช่น บุคคลากร วัสดุ งบประมาณ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นไปอย่างประหยัด และประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์และทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต มีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (แบบ กพช 1)
2. ผู้เรียนดำเนินการตามโครงการ พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม หรือการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
3. ผู้เรียนจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการส่งเมื่อสิ้นสุดโครงการ
เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
1. ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและปฏิบัติโครงการไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
2. โครงการต้องบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีชิ้นงาน ร่องรอย และหรือเอกสารรายงาน
3. เกณฑ์การพิจารณาตัดสินการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 70 จึงจะถือว่า “ผ่าน”
ใบลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถดาวน์โหลดได้ที่ แบบฟอร์มต่างๆ
**ตัวอย่างการทำ กพช ดูได้ ที่นี่**
คู่มือกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตคืออะไร
กิจกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิต หรือ กพช. หมายถึง กิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุน ให้นักศึกษาเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักทำ เป็นผู้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยนักศึกษาสามารถเลือกทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามความสนใจ หรือความถนัด เน้นการนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถี ชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในแต่ละระดับการศึกษาจะต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตรวมแล้วไม่น้อย กว่า 200 ชั่วโมง โดยมีขอบข่ายเนื้อหาทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
มีความจำเป็นอย่างไร
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตร ซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 200ชั่วโมงในแต่ละระดับ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต มีดังนี้
เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหา และความมีเหตุผล
เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนา ครอบครัว ชุมชน และสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม
องค์ประกอบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย
1. ความรู้พื้นฐาน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขอบข่ายเนื้อหาเกี่ยวกับ
โครงสร้างและประโยชน์ของ กพช.
แนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม
กระบวนการกลุ่ม
กระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
การประสานเครือข่าย
การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
การวางแผน และประโยชน์ของการวางแผน
มนุษยสัมพันธ์
การเขียนโครงการ
2. กิจกรรมโครงการ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรม โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
ลักษณะกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองและครอบครัว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน และต้องพิจารณาในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
ประโยชน์ที่ตนเอง ครอบครัวได้รับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้าง/พัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตให้ตนเอง / ครอบครัวอยู่ได้อย่างมีความสุข
การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วผู้เรียนและครอบครัวเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ
การใช้กระบวนการกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน มีการประสานงาน ความรับผิดชอบ เสียสละ และจิตบริการ
ความเหมาะสมในการใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ
ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ได้แก่ ความรู้ แหล่งข้อมูล วัสดุ งบประมาณและการเลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ประหยัด
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและครอบครัว
2. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และพิจารณาในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมจะได้รับหรือบริการที่ช่วยเสริม หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และอื่นๆ ที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ
การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วคนในชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ทั้งด้านความคิด แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การใช้กระบวนกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เสียสละ จิตบริการตามวิถีประชาธิปไตย
การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นกิจกรรมที่ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงงานที่นำเสนอ
ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดกิจกรรม เช่น บุคคลากร วัสดุ งบประมาณ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นไปอย่างประหยัด และประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์และทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต มีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (แบบ กพช 1)
2. ผู้เรียนดำเนินการตามโครงการ พร้อมทั้งบันทึกกิจกรรม หรือการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
3. ผู้เรียนจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการส่งเมื่อสิ้นสุดโครงการ
เกณฑ์การผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
1. ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและปฏิบัติโครงการไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
2. โครงการต้องบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีชิ้นงาน ร่องรอย และหรือเอกสารรายงาน
3. เกณฑ์การพิจารณาตัดสินการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนต้องได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 70 จึงจะถือว่า “ผ่าน”
ใบลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถดาวน์โหลดได้ที่ แบบฟอร์มต่างๆ
**ตัวอย่างการทำ กพช ดูได้ ที่นี่**
ขอบคุณ กศน.พระประแดง จ.สมุทรปราการ