28 กรกฎาคม 2561

ศูนย์ดิจิทัลชุมชน Digital Literacy

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนคืออะไร Digital Literacy

  ศูนย์ดิจิทัลชุมชน คือ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่ได้รับการยกระดับ และปรับบทบาทจากการลดความเหลื่อมล้ำมาเป็นการสร้างคุณค่า เพื่อรองรับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในระยะเร่งด่วน  เน้นการให้บริการชุมชนในกิจกรรมหลักๆ ได้แก่

     -ให้คำปรึกษา แนะนำ ส่งเสริมการซื้อขายออนไลน์ และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมออนไลน์

    -จัดอบรมเพื่อบ่มเพาะความรู้ด้านการค้าขายออนไลน์แบบครบวงจร ได้แก่ การค้นหาข้อมูล การเปิดร้าน การถ่ายและตกแต่งภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ การชำระเงิน การส่งของ และการสื่อสารกับลูกค้า

     -อบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ อุปกรณ์และแอพพลิเคชั่น แนะนำการใช้งานและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

      -แนะนำบริการภาครัฐ และบริการเชิงดิจิทัลที่น่าสนใจ

      -ทำงานร่วมกันของชุมชน รวมถึงจัดให้มีอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานตัดต่อ แท็บเล็ต เครื่อง multifunction และ Free WiFi เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของชุมชน

    -ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะเนื้อหาด้านอาชีพ การดูแลสุขภาพ ติวเตอร์ การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัล และความรู้อื่นๆ ผ่านสื่อดิจิทัล เช่น ThaiMOOC หรือรายการโทรทัศน์ของภาครัฐ
    ประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร

  -สามารถใช้ดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างรู้เท่าทันและรับผิดชอบ และได้รับประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อสร้างคุณค่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้โดยตรง

    -ผู้ประกอบการชุมชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน มีโอกาส และมีตลาดเพิ่มมากขึ้นจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและตลาดออนไลน์ และดำเนินการค้าขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรและค้าขายได้จริง และมีตัวตนในตลาดโลก

    -มีแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยทุกที่ทุกเวลาบนทุกอุปกรณ์การสื่อสารดิจิทัลเอื้อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    -เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย 
  
    -เปิดโลกทัศน์ และมุมมองสากลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำข้อมูลข่าวสาร บริการ และสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะจากภาครัฐ

     -ลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าฝึกอบรม ค่าเดินทาง
      กศน.ตำบล จะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่

1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)

2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล

4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก


การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...