28 กรกฎาคม 2561

ศูนย์ดิจิทัลชุมชน Digital Literacy

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนคืออะไร Digital Literacy

  ศูนย์ดิจิทัลชุมชน คือ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนที่ได้รับการยกระดับ และปรับบทบาทจากการลดความเหลื่อมล้ำมาเป็นการสร้างคุณค่า เพื่อรองรับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในระยะเร่งด่วน  เน้นการให้บริการชุมชนในกิจกรรมหลักๆ ได้แก่

     -ให้คำปรึกษา แนะนำ ส่งเสริมการซื้อขายออนไลน์ และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมออนไลน์

    -จัดอบรมเพื่อบ่มเพาะความรู้ด้านการค้าขายออนไลน์แบบครบวงจร ได้แก่ การค้นหาข้อมูล การเปิดร้าน การถ่ายและตกแต่งภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ การชำระเงิน การส่งของ และการสื่อสารกับลูกค้า

     -อบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ อุปกรณ์และแอพพลิเคชั่น แนะนำการใช้งานและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

      -แนะนำบริการภาครัฐ และบริการเชิงดิจิทัลที่น่าสนใจ

      -ทำงานร่วมกันของชุมชน รวมถึงจัดให้มีอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับงานตัดต่อ แท็บเล็ต เครื่อง multifunction และ Free WiFi เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของชุมชน

    -ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะเนื้อหาด้านอาชีพ การดูแลสุขภาพ ติวเตอร์ การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัล และความรู้อื่นๆ ผ่านสื่อดิจิทัล เช่น ThaiMOOC หรือรายการโทรทัศน์ของภาครัฐ
    ประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร

  -สามารถใช้ดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างรู้เท่าทันและรับผิดชอบ และได้รับประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อสร้างคุณค่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้โดยตรง

    -ผู้ประกอบการชุมชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน มีโอกาส และมีตลาดเพิ่มมากขึ้นจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและตลาดออนไลน์ และดำเนินการค้าขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรและค้าขายได้จริง และมีตัวตนในตลาดโลก

    -มีแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยทุกที่ทุกเวลาบนทุกอุปกรณ์การสื่อสารดิจิทัลเอื้อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    -เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย 
  
    -เปิดโลกทัศน์ และมุมมองสากลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำข้อมูลข่าวสาร บริการ และสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะจากภาครัฐ

     -ลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าฝึกอบรม ค่าเดินทาง
      กศน.ตำบล จะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่

1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)

2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล

4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก


25 กรกฎาคม 2561

แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

มาตรา 44 แก้ไของค์ประกอบ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2546
(17 คนเท่าเดิมแต่รายละเอียดเปลี่ยนแปลง)
##############################
@ประธาน  รมต.ศธ แต่งตั้ง  1  คน
@กรรมการโดยตำแหน่ง เลขา กพฐ. อาชีวะ เอกชน กศน. กคศ.  5  คน
@กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  4  คน
@กรรมการจากคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ รัฐ/เอกชน  2คน
@กรรมการผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (ครู ผู้บริหารสถาน บริหารการ ศน. ที่ไม่ต่ำกว่าเชี่ยวชาญ) 4 คน
@เลขาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ  1 คน

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่  11/2561 เรื่อง การแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

20 กรกฎาคม 2561

ข้อสอบครูผู้ช่วยชุดใหม่

จัดรูปแบบให้เหมาะสมสำหรับทำข้อสอบในสมาร์ทโฟน ข้อสอบมีจำนวน 4 ชุด คือ

1.พรบ.การศึกษาแห่งชาติ


2.งานสารบัญ


3.วินัย จรรยาบรรณ ความเป็นครู


4.เด็กและคนพิการ

สามารถทบทวนได้ตลอดเวลา อยู่ด้านล่าง หากทำกับมือถือใช้มือเลื่อนลงมานะครับ 


ข้อสอบจะเพิ่มเรื่อย ๆ ในข้อสอบชุดเดิม (ข้อใดเฉลยผิดหรือสงสัย โพสต์ในกลุ่มได้เลยครับ)



















16 กรกฎาคม 2561

Logbook Teacher และ หลักเกณฑ์ ว21/2560

Logbook Teacher และ หลักเกณฑ์ ว21/2560 >>>>https://logbook-teacher.otepc.go.th/

ข้าราชการครูที่จะขอวิทยฐานะตาม ว 21/60 ต้องผ่านการพัฒนาในหลักสูตรที่ ส.คุรุพัฒนารับรอง ตาม ว 22/60 ปีละ 12-20 ชม. รวม 5 ปี 100 ชม. 

ถ้าปีใดพัฒนาไม่ถึง 12 ชม. ปีต่อไปเริ่มนับ 1 ใหม่ ให้ครบ 5 ปี 

ดูได้ที่ >>>> https://drive.google.com/file/d/12KPW82eRHCCXAYpu9t55cyGckPprF6QZ/view?usp=sharing

13 กรกฎาคม 2561

Google พูดภาษาไทยได้แล้ว

Google พูดภาษาไทยได้แล้ว

ถามได้ ตอบได้ สั่งหาแผนที่ วันที่ ปฎิทิน สะดวกสบายเกิ๊น

เมื่อปี 2016 Google Assistant ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรก และ ตอนนี้ผ่านมา 2 ปี ก็มีเวอร์ชั่นภาษาไทยออกมาให้ใช้งานได้ในที่สุด นับเป็นประเทศที่ 10 ที่รองรับภาษาตัวเอง

โดย Google Assistant นั้นยังทำงานร่วมกับแอพอื่นๆของ Google เองร่วมด้วยไม่ว่าจะ Map , Calendar, Gmail และ อื่นๆ ในเครือก็ได้หมด จะสั่งให้ทำอะไรก็ว่ามา

สำหรับงานเอนเตอร์เทนต์ Assistant ตอนนี้ทำงานกับ 3 แอปหลักๆ ได้คือ Google Play , Youtube และ Spotify อย่างสั่งให้เล่นวีดีโอใน Youtube แบบนี้ก็จัดมา

ทีนี้ก็หมดปัญหาพูดแล้ว Google Assistant ฟังไม่ออก สำเนียงไม่ได้ เข้าใจไม่ตรงกันแล้วนะ เพราะเค้าสามารถรับฟังเราได้ทุกประโยคแบบเป็นภาษาไทยได้แล้ว เก่งด้วย รับฟังคำสั่งตั้งแต่ง่ายๆ พื้นฐาน ไปจนถึงคำถามที่มีความซับซ้อนก็ยังรู้เรื่อง


เราเหล่าครู กศน.ที่น่ารัก ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น เปิดแอฟเอกสารแล้วพูดแทนการพิมพ์ข้อความ ก็จะเร็วเวอร์ แต่เราก็ต้องมาตรวจดูซักหน่อยว่ามีคำผิดหรือเว้นวรรคถูกหรือเปล่า มันก็เป็นผลดีกับคนที่พิมพ์ไม่ค่อยไวหรือขี้เกียจพิมพ์นะ แต่ก็อย่าขี้เกียจอ่านอีกหล่ะ ได้อย่างก็ต้องเสีย อย่าง แต่ดีเวอร์หล่ะ

ไปไหนไม่ถูก ถาม  Google Assistant หาเส้นทางให้

ไม่รู้เปิดโทรโรงแรม ร้านอาหาร หน่วยงาน หรือเบอร์โทรในเครื่อง ถาม  Google Assistant หาให้ต่อสายให้เลย สะดวกไม่รู้จะพูดอะไรแล้ว


อื่น ๆ อีกเยอะแยะไปลองเองนะ

ไม่เข้าใจขั้นตอนไหนดูคลิปด้านล่างได้เลยครับ

11 กรกฎาคม 2561

อนาคตจะมีการศึกษา 3 ระบบ คือ “การศึกษาตามระบบ การศึกษาเพื่อการดำเนินชีวิต และ การศึกษาตามอัธยาศัย”



อนาคตจะมีการศึกษา 3 ระบบ คือ “การศึกษาตามระบบ การศึกษาเพื่อการดำเนินชีวิต และ การศึกษาตามอัธยาศัย” 

กศน.ดำเนินการทั้ง 3 ระบบ เป็น การศึกษาตลอดชีวิตทุกช่วงวัย ใช้ลักษณะกลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้ง โดย กศน.เราทำ ( จัดเอง ) น้อยลง เหลือ 20-40 % เพิ่มการร่วมกับภาคีเครือข่ายใน 2 ลักษณะคือ ร่วมมือ กับ กำกับส่งเสริมสนับสนุน ซึ่งเราต้องหาภาคีเครือข่ายมาช่วยดำเนินการรวมทั้งหาทรัพยากรร่วม

บุคลากรของเราต้องมีศักยภาพ-คุณภาพ เราต้องปรับสื่อวิชาการต้นแบบสำหรับภาคีเครือข่ายนำไปใช้
ต้องพิจารณาภารกิจที่เราเคยทำ อะไรจะทำต่อไป ( ที่จะทำต่อเช่น การเทียบเคียง-เทียบโอน-เทียบระดับ ) อะไรจะทำใหม่คิดใหม่

กศน.อาจจะไม่ใช่แท่ง แต่จะเป็นนิติบุคคลขึ้นตรง รมต.

8 กรกฎาคม 2561

ประกาศปรับค่าสีธงชาติใหม่

หลังจากฉลองครบรอบ 100 ปี กับการประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ร่วมกำหนดและวัดค่า สีธงชาติไทย ใหม่เพื่อให้มีมาตรฐานสีตามหน่วยสากล
โดยค่าสีธงชาติไทยใหม่ ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการได้ทำการวัดค่าสีจากธงชาติต้นแบบด้วยเครื่อง Colorimetric Spectrophotometer จาก 3 แหล่งที่มาได้แก่
1.ธงชาติจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ 2 ประเภท ได้แก่ ธงชัยเฉลิมพล และ ธงไตรรงค์
2.ธงชาติจากพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
3.ธงจากราชนาวี
สีแดง
HEX : #A51931
CMYK : C24%, M100%, Y83%, K18%
RGB : R165, G25, B49
สีขาว
HEX : #F4F5F8
CMYK : C 3%, M 2%, Y 1%, K 0%
RGB : R 244, G 245, B 248
สีน้ำเงิน
HEX : #2D2A4A
CMYK : C 87%, M 85%, Y 42%, K 43%
RGB : R 45, G 42, B 74
โดยค่าสีธงชาติไทยใหม่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 245 ง ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นที่เรียบร้อย
*ค่าสีธงชาติไทยจะถูกแบ่งออกเป็นค่า RGB และ CMYK

6 กรกฎาคม 2561

ประเภทการลา 11 ประเภท

พลเอกสุรเชษฐ์ ให้นโยบายและแนวทางการดำเนินงาน กศน.

เมื่อวันที่ 6 ก.ค.61 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ ให้นโยบายและแนวทางดำเนินการ กศน.

1. ชุมชนต้นแบบของ ศธ.

2. e-Commerce หรือ e-Market โดย กศน.

3. กศน.อำเภอ/ตำบล ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่เป็น "ศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออนไลน์ กศน.” ตามความเหมาะสม

4. ร่วมแก้ไขปัญหาตามภารกิจใหม่ 4 เรื่อง คือ
- ประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา
- สุขภาวะ สุขอนามัย
- การเรียนรู้ภาษาไทย
- คนไทยอ่านหนังสือน้อย

ดูข้อมูลแต่ละข้อ ที่
http://www.moe.go.th/websm/2018/3/220.html

ขอบคุณข้อมูล อาจารย์เอกชัย ยุติศรี

4 กรกฎาคม 2561

รักษาการในตำแหน่ง

ประเด็นทำไม กศน.ใช้คำว่า "รักษาการในตำแหน่ง" ใช้ระเบียบข้อใด

ตอบว่า   การแต่งตั้ง "ผู้รักษาการในตำแหน่ง" ใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547  มาตรา 68
ประกอบกับ คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 270/2551 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทน ลงวันที่ 5 มี.ค.51 ข้อ 1

( “รักษาการในตำแหน่ง” ต่างจาก “รักษาราชการแทน”
ถ้าเป็น สพฐ. จะแต่งตั้งรอง ผอ.สถานศึกษา ให้ “รักษาราชการแทน” ผอ.สถานศึกษา ก่อน ถ้าไม่มี รอง ผอ. จึงแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ “รักษาการในตำแหน่ง” )

กรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2556

กรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...