17 พฤษภาคม 2559

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอโอนเป็นข้าราชการครู

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอโอนเป็นข้าราชการครู เป็นเอกสารหลักฐานที่แสดงคุณสมบัติตามข้อ 1.- 3. 

โดยเอกสารหลักฐานที่แสดงคุณสมบัติตามข้อ 3. ( ประสบการณ์การสอน ) ค่อนข้างจะจัดหา/จัดทำยากสักหน่อย เท่าที่ทราบ ก.ค.ศ.เคยขอเอกสารหลักฐานตามข้อ 3. คือ

- หนังสือรับรองประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในการสอน ระบุช่วงเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ และรายงานว่าทำการสอนวิชาใดบ้าง จำนวนสัปดาห์ละกี่ชั่วโมงหรือกี่คาบ รวมทั้งรายชื่อนักเรียน/นักศึกษาที่ทำการสอนในแต่ละภาคเรียน โดยให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับรองข้อมูลดังกล่าวด้วย

- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน/นักศึกษา จากการเรียนการสอนในแต่ละภาคเรียน โดยให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้รับรองข้อมูลดังกล่าวด้วย
( เคยเขียนเรื่องนี้ ในข้อ 3 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2013/11/asean.html )

ส่วนเมื่อโอนเป็น ขรก.ครูแล้ว จะยื่นขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการได้ ต้องเป็นครูแล้ว 6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิ ป.ตรี, 4 ปีสำหรับ ป.โท, 2 ปีสำหรับ ป.เอก ( ชายแดนใต้ ลดเวลาลงครึ่งหนึ่ง ) แต่ถ้ามีประสบการณ์การสอนก่อนโอน จะลดเวลาลงได้อีก แต่ถึงลดได้ ก็ลดได้ไม่หมด ต้องมาเป็นครูอย่างน้อย 2 ปี จึงจะยื่นขอชำนาญการได้ ประสบการณ์การสอนนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1) ประสบการณ์ในการสอนโดยตรง
จำนวนชั่วโมงสอนอย่างต่ำ กำหนดในแต่ละสังกัดไม่เท่ากัน เช่น อาชีวศึกษาจะกำหนดไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์ ส่วนการสอนในสถานศึกษา กศน. กำหนดไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
ถ้าเคยสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กีปี ก็ลดได้เท่านั้นปี

ถ้าเคยสอนสัปดาห์ละไม่ถึง 10 ชั่วโมง แต่ถึงครึ่ง คือสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง แต่ไม่ถึง 10 ชั่วโมง ก็ลดเวลาได้ครึ่งหนึ่ง เช่น เคยสอนสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง อยู่ 2 ปี ก็ลดเวลาได้ 1 ปี
ถ้าเคยสอนสัปดาห์ละไม่ถึงครึ่ง เช่นสอนสัปดาหล์ละ 4 ชั่วโมง จะลดเวลาได้ 1 ใน 4 เช่น นาย ก. วุฒิ ป.ตรี อยู่จังหวัดอื่นที่ไม่ใช่ชายแดนใต้ โอนมาเป็น ขรก.ครู โดยก่อนโอน เป็น ขรก.ตำแหน่งบรรณารักษ์ ซึ่งในช่วงที่เป็นบรรณารักษ์นั้นได้เป็นครูประจำกลุ่มด้วย สอนสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง อยู่ 4 ปี กรณีนี้จะลดเวลาได้เพียง 1 ปี คือต้องโอนเป็น ขรก.ครูแล้ว 5 ปี จึงจะยื่นขอชำนาญการได้

2) เคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ไม่ใช่ การสอนโดยตรง เช่น งานบริหารจัดการศึกษา กรณีนี้ถ้าเคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ ลดเวลาได้ครึ่งหนึ่งของเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ดูรายละเอียดเรื่องการใช้ประสบการณ์สอน ลดเวลาขอชำนาญการ ในระเบียบหลักเกณฑ์ได้ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/109014…/…/experience.pdf


ขอบคุณ ข้อมูล อ.เอกชัย

การทำวิทยฐานะ ครูชำนาญการ

การทำวิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย

16 พฤษภาคม 2559

กรณีที่เดินทางไปราชการ ทำไมการเงินถึงให้เขียนบิลน้ำมันเป็นชื่อคนที่เป็นเจ้าของโครงการ

กรณีที่เดินทางไปราชการ ทำไมการเงินถึงให้เขียนบิลน้ำมันเป็นชื่อคนที่เป็นเจ้าของโครงการ
เรื่องนี้ อ.ชลดา หน่วยตรวจสอบภายใน กศน.


ตอบว่า ต้องเขียนชื่อสำนักงาน ไม่ว่าจะซื้อระหว่างไปราชการ หรือซื้อในโครงการ หรือซื้อแบบใด ถ้าเป็นการขอใช้รถส่วนตัวไปราชการ ก็ไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
( การเขียนชื่อคน อาจจะทำให้ส่อไปในทางที่ นำใบเสร็จค่าน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนตัว มาเขียนชื่อหน่วยงานเพิ่มเติมแล้วนำมาเบิกเงินจากทางราชการ )

ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้อง ต้องประกอบด้วยข้อมูลสำคัญดังนี้

- วัน เดือน ปี
- สถานที่ออกใบเสร็จรับเงิน ถ้าเป็นใบเสร็จรับเงินจากสำนักงานใหญ่ ต้องระบุสาขาหรือสถานที่ประกอบการนั้น ๆ
- ชื่อหน่วยงานที่จ่ายเงิน
- ทะเบียนรถ ต้องถูกต้องตรงกันกับใบขออนุมัติการเดินทาง
- ต้องระบุปริมาณน้ำมัน ราคาต่อหน่วย และจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น (ทั้งตัวเลข ตัวอักษร)
- มีผู้เซ็นชื่อรับเงิน

การศึกษาต่อเนื่อง อะไรจัดและเบิกจ่ายแบบฝึกอบรมได้ อะไรไม่ได้ ?

การศึกษาต่อเนื่อง อะไรจัดและเบิกจ่ายแบบฝึกอบรมได้ อะไรไม่ได้ ?
.
กป.กศน.ร่างคู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่องแบบฝึกอบรมเสร็จแล้ว เสนอถึงท่านรองเลขาฯแล้ว ถ้าผ่านท่านรองฯก็จะเสนอถึงท่านเลขาฯต่อไป ถ้าท่านรองฯและท่านฯเลขาไม่ให้ปรับแก้ก็คาดว่าจะส่งให้จังหวัดภายในสัปดาห์หน้า
.
ถ้าแบ่ง การศึกต่อเนื่อง ออกเป็น 3 ประเภท ( เอกสารแต่ละฉบับแบ่งต่างกัน บางฉบับแยก “การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม” ออกจากประเภทอื่น บางฉบับนำไปรวมเป็นประเภทย่อยของ การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นต้น )

1. การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ( ข้อ 2.1 ในแผน/คำรับรองฯฉบับเอ็กเซล ทั้งหมด งบรายจ่ายอื่นทั้งหมด และงบดำเนินงานบางส่วนจากการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ) จัดแบบฝึกอบรมไม่ได้ ต้องจัดแบบกลุ่มสนใจ หรือชั้นเรียนระยะสั้น
- ฝึกอาชีพ
- ช่างพื้นฐาน
- พัฒนาอาชีพ ( ต่อยอดอาชีพเดิม )

2. การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน งบดำเนินงาน ทั้งหมด รวมทั้งการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม จัดแบบฝึกอบรมได้
- เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการบัญชีครัวเรือน
- หมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
- การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

3. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต งบดำเนินงาน 
3.1 การฝึกอาชีพหลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง ตามข้อ 2.1 ในแผน/คำรับรองฉบับเอ็กเซล ให้จัดแบบกลุ่มสนใจเท่านั้น
3.2 โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จัดแบบฝึกอบรมได้
- อื่น ๆ นอกเหนือจาก 3.1
- จัดหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ ( จัดในบางอำเภอ )
- เสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ( จัดในบางตำบล )
.
การสอนสายอาชีพแบบกลุ่มสนใจ และหลักสูตรระยะสั้น ไม่ต้องทำเป็นโครงการ แต่การจัดแบบฝึกอบรมต้องทำโครงการและอาจมีข้อกำหนดอื่น เช่น หลักสูตร 1-3 วัน หลักสูตรละ 20 คนขึ้นไป ( คอยดูในคู่มือแบบฝึกอบรม )

กรณีจัดจ้างทำตรายางจากร้านค้า วงเงินไม่เกินแปดร้อยบาท

กรณีจัดจ้างทำตรายางจากร้านค้า วงเงินไม่เกินแปดร้อยบาท ร้านค้าเขียนบิลเงินสดให้ แล้วประทับตราร้านค้าและเซ็นต์รับ มีลายเซ็นต์ผู้รับเงิน ระบุวันที่ ระบุชื่อหน่วยงาน กศน.อำเภอ แต่ไม่ระบุชื่อจริงเจ้าของร้าน และในบิลมีคำว่าเล่มที่ เลขที่ แต่ไม่ได้ระบุตัวเลข ถามว่า

1) บิลนี้สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบพัสดุหรือไม่ เนื่องจากไม่มีหมายเลขเล่มที่ และเลขที่
2) จำเป็นหรือไม่ในส่วนของนามลูกค้านั้นจะต้องระบุทั้งชื่อ กศน.อำเภอ และสถานที่ตั้งอย่างชัดเจน ถ้าระบุเพียงชื่อหน่วยงานอย่างเดียวจะได้หรือไม่
3) ในการทำใบสั่งจ้าง เราสามาถจ้างในนามร้านค้า โดยไม่ระบุชื่อเจ้าของร้านได้หรือไม่ คือในเอกสารผู้รับจ้างพิมพ์เป็นชื่อร้านค้า ตรงลายเซ็นเขียนเป็นชื่อร้านค้า ข้างล่างพิมพ์ชื่อร้านค้าแล้วประทับตราร้านค้า (กรณีนี้ร้านค้าไม่ได้จดทะเบียน)
ตอบว่า
1) การจ่ายเงินค่าพัสดุ ต้องมีใบเสร็จรับเงิน ( หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ใบรับ ) เป็นหลักฐาน และถ้าจ่ายให้ผู้รับเงินที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มอีกด้วย แต่ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษานี้อาจรวมอยู่ในใบเดียวกันได้
2) ใบเสร็จรับเงินไม่จำเป็นต้องมีเล่มที่เลขที่ แต่ใบกำกับภาษีต้องมีเลขที่หรือหมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี ส่วนเล่มที่จะมีหรือไม่ก็ได้
3) ทั้งใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ) และใบกำกับภาษี ต้องระบุทั้งชื่อ และที่อยู่ของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ( คำว่าชื่อ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาหมายถึงชื่อคน ถ้าไม่ใช่บุคคลธรรมดาหมายถึงชื่อองค์กร/หน่วยงาน/นิติบุคคล )
4) ทั้งใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ) รวมทั้งตรงลายเซ็นในใบสั่งจ้าง ต้องมีลายเซ็น/ลงลายมือชื่อ ซึ่งเป็นลายเซ็นของคนนะครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องเป็นลายเซ็น(ลายมือชื่อ)ของคน ( ลายเซ็นของผู้บริหาร/ผู้รับมอบอำนาจ/หรือบุคคลธรรมดาในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา )
5) ใบเสร็จรับเงิน (ใบรับ, บิลเงินสด) จะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 6 รายการ คือ
5.1 ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน
5.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้รับเงิน ( ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา เช่นบุคลากร หรือซื้อข้าวโพดจากชาวไร่ ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน )
5.3 วัน เดือน ปี ที่รับเงิน
5.4 รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร
5.5 จำนวนเงินทั้ง ตัวเลข และตัวอักษร
5.6 ลายมือชื่อผู้รับเงิน
6) ใบกำกับภาษีจะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 8 รายการ คือ
6.1 มีคำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
6.2 เลขที่หรือเลขลำดับใบกำกับภาษี
6.3 วันที่ออกใบกำกับภาษี
6.4 ชื่อ+ที่อยู่ ของผู้ออกใบกำกับภาษี ( ผู้ประกอบการหรือตัวแทน)
6.5 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
6.6 ชื่อที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
6.7 รายการชื่อสินค้า ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน
6.8 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( แยกจากราคาสินค้า )
( ในกรณีที่แยกออกใบเสร็จรับเงินให้อีกต่างหากด้วย ในใบกำกับภาษานี้ก็จะมีลายเซ็นผู้รับเงินหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้อีกต่างหาก ต้องนำรายการต่าง ๆ ของใบเสร็จรับเงินมารวมไว้ในใบกำกับภาษีนี้ด้วย )
สรุป คำตอบของคำถาม 3 ข้อ
1) ถ้าเป็นใบเสร็จรับเงิน ( ผู้ขายไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ) ไม่ต้องมีเล่มที่เลขที่ ก็สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบพัสดุ
2) ให้ระบุทั้งชื่อ และที่อยู่ ของผู้ซื้อ
3) การทำใบสั่งจ้าง สามารถจ้างในนามร้านค้าโดยระบุชื่อผู้รับจ้างเป็นชื่อร้านค้าได้ แต่ตรงลายเซ็น (ลายมือชื่อ) ด้านล่าง ต้องเป็นลายเซ็น(ลายมือชื่อ)ของคน คือผู้บริหาร/ผู้รับมอบอำนาจ/หรือบุคคลธรรมดาในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา
ขอบคุณ อ.เอกชัย ยุติศรี

เคยเรียนวิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นวิชาเลือกมาแล้ว ต้องเรียนเป็นวิชาเลือกบังคับอีกไหม

วิชาการใช้พลังงานไฟฟ้าฯเคยเป็นวิชาเลือกทั่วไปมาก่อน ถ้านักศึกษาเรียนไฟฟ้าวิชาเลือกไปแล้ว ต้องเรียนไฟฟ้าเลือกบังคับอีกไหม

ตอบว่า หมายถึงนักศึกษาเก่าใช่ไหม นักศึกษาเก่าไม่จำเป็นต้องเรียนวิชาเลือกบังคับ ( เรียนก็ได้ไม่เรียนก็ได้ ) ถ้าเป็นวิชาเดียวกัน ไม่ให้เรียนซ้ำอีก
วิชาเลือกบังคับที่พัฒนามาจากวิชาเลือกเดิม ถ้ามีเนื้อหาสอดคล้องกันไม่น้อยกว่า 60 % ก็ไม่ให้เรียนซ้ำ
แต่ถ้าเป็นนักศึกษาใหม่ ถึงแม้จะเคยเรียนวิชาเลือกนี้ตอนเรียนในระดับที่ต่ำกว่า ก็ให้เรียนวิชาเลือกบังคับด้วย
ขอบคุณ ข้อมูล อ.เอกชัย ยุติศรี

15 พฤษภาคม 2559

ระเบียบที่ควรรู้ในคู่มือการดำเนินการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51

คู่มือการดำเนินการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51

คู่มือการดำเนินการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 ปรับปรุง 55


- การรับนักศึกษาไม่มีสัญชาติไทย หน้า 109 - 129
- ระเบียบว่าด้วยการออกใบสุทธิและหนังสือรับรองความรู้  หน้า 147 - 148
- ระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับพระ ภิกษุ หน้า 150 - 151
- แนวทางการตรวจสอบวุฒิการศึกษา กรณีสูญหาย  หน้า 153 - 158
- แบบฟอร์มขอตรวจสอบวุฒิ  หน้า 159 - 160
- การดำเนินการกรณีระเบียนสูญหาย หน้า 168 - 170
- ใบแทนประกาศนียบัตร กรณีสูญหาย หน้า 183 - 190
- ให้พนักงานราชการทำหน้าที่นายทะเบียน  หน้า 206
- การลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียน หน้า 223

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...