เพื่อให้การดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้ราคาถูก :
กศน.ตำบลหรือแขวง
เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตมีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ
ประชาชนในชุมชนโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน
มุ่งสร้างโอกาสและให้บริการการเรียนรู้อย่างหลากหลายวิธี
สนองความต้องการและเสนอทางเลือกในการพัฒนาตนเองอันจะนำไปสู่การพัฒนาชีวิต
ของประชาชนโดยยึดหลักการชุมชนเป็นรากฐานของการพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการ
จึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน. ตำบลหรือแขวง พ.ศ.๒๕๕๓”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ตำบล” หมายความว่า ตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการ ท้องถิ่น และในกรณีที่ตำบลใดมีพื้นที่อยู่ทั้งในและนอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่นให้หมายความถึงเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น
“แขวง” หมายความว่า เป็นเขตการปกครองระดับที่ ๓ รองลงมาจากเขตและจังหวัด แขวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากตำบลที่มีอยู่เดิมในจังหวัดพระนครและ จังหวัดธนบุรี
“กศน.ตำบลหรือแขวง” หมายความว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหรือแขวง
“ตำบล” หมายความว่า ตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการ ท้องถิ่น และในกรณีที่ตำบลใดมีพื้นที่อยู่ทั้งในและนอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่นให้หมายความถึงเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น
“แขวง” หมายความว่า เป็นเขตการปกครองระดับที่ ๓ รองลงมาจากเขตและจังหวัด แขวงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากตำบลที่มีอยู่เดิมในจังหวัดพระนครและ จังหวัดธนบุรี
“กศน.ตำบลหรือแขวง” หมายความว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหรือแขวง
ข้อ ๔ แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
(๑) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
(๒) สร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
(๓) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
(๔) ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน
(๑) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
(๒) สร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
(๓) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
(๔) ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน
ข้อ ๕
การจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
ให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขต
คัดเลือกมาจากศูนย์การเรียนชุมชนในตำบลหรือแขวงหรือจัดตั้งขึ้นใหม่ตามความ
เหมาะสม โดยความเห็นชอบของสำนักงาน กศน. จังหวัดหรือกทม.
และจัดทำเป็นประกาศของจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงนามในประกาศ
จัดตั้ง
ข้อ ๖ การยุบเลิกแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง ให้จัดทำเป็นประกาศจังหวัด โดยความเห็นชอบของสำนักงาน กศน. จังหวัดหรือกทม.
ข้อ ๗ ให้แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้
(๑) ส่งเสริมและจัดการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
(๒) ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
(๓) ดำเนินการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
(๔) ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๕) จัดบริการศูนย์ติวเข้มเติมเต็มความรู้
(๖) จัดบริการการเรียนรู้โดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(๗) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
(๘) จัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองด้วยวิถีประชาธิปไตย
(๙) ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
(๑๐) เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และศาสนสถานอื่น ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
(๑๑) ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(๑๒) ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดยจัดให้มีอาสาสมัคร กศน.ห้าสิบหลังคาเรือนต่อหนึ่งคน
(๑๓) กิจกรรมอื่นๆ ตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
(๑) ส่งเสริมและจัดการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
(๒) ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
(๓) ดำเนินการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
(๔) ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๕) จัดบริการศูนย์ติวเข้มเติมเต็มความรู้
(๖) จัดบริการการเรียนรู้โดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(๗) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
(๘) จัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองด้วยวิถีประชาธิปไตย
(๙) ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
(๑๐) เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และศาสนสถานอื่น ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
(๑๑) ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(๑๒) ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดยจัดให้มีอาสาสมัคร กศน.ห้าสิบหลังคาเรือนต่อหนึ่งคน
(๑๓) กิจกรรมอื่นๆ ตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๘
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แต่งตั้งหัวหน้าแหล่งเรียนรู้ราคาถูก :
กศน.ตำบลหรือแขวง
ข้อ ๙
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งคณะกรรมการแหล่งเรียนรู้ราคาถูก :
กศน.ตำบลหรือแขวง ประกอบด้วย
(๑) กรรมการที่เป็นตัวแทนจากหมู่บ้านหรือชุมชนละ ๒ คน ถ้าหากมีเกิน ๑๐ หมู่บ้านให้มีหมู่บ้านละ ๑ คน ซึ่งอาจมาจากผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เป็นต้น
(๒) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรนักศึกษา ๒ คน
(๓) กรรมการที่เป็นอาสาสมัคร กศน. ๑ คน
(๔) ประธานกรรมการ เลือกจากตัวแทนคณะกรรมการในข้อ (๑)
(๕) หัวหน้าแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวงเป็นกรรมการและเลขานุการ
(๑) กรรมการที่เป็นตัวแทนจากหมู่บ้านหรือชุมชนละ ๒ คน ถ้าหากมีเกิน ๑๐ หมู่บ้านให้มีหมู่บ้านละ ๑ คน ซึ่งอาจมาจากผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เป็นต้น
(๒) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรนักศึกษา ๒ คน
(๓) กรรมการที่เป็นอาสาสมัคร กศน. ๑ คน
(๔) ประธานกรรมการ เลือกจากตัวแทนคณะกรรมการในข้อ (๑)
(๕) หัวหน้าแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวงเป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๑๐ วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการตามข้อ ๙ คราวละสี่ปีนับจากวันที่ได้รับแต่งตั้ง
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการตามข้อ ๙ พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก ถูกคณะกรรมการด้วยกันมีมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีมติให้ออก
ข้อ ๑๒ คณะกรรมการแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง มีหน้าทีดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
(๒) ประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ ในตำบล
(๓) ประสานกับส่วนราชการในตำบลและเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
(๔) ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อสนับสนุน สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สถานที่ และนำแผนชุมชนในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาปฏิบัติ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ของแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
(๑) ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
(๒) ประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ ในตำบล
(๓) ประสานกับส่วนราชการในตำบลและเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
(๔) ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อสนับสนุน สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ อาคาร สถานที่ และนำแผนชุมชนในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาปฏิบัติ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ของแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
ข้อ ๑๓ แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง ต้องมีอาคาร สถานที่ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับชุมชน
ข้อ ๑๔
แหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง จัดให้มีสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์
ที่จำเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ข้อ ๑๕
การกำหนดมาตรฐานแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน. ตำบลหรือแขวง
และแนวทางการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง
ให้เป็นไปตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กำหนด
ข้อ ๑๖
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจ ตีความวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ