12 ธันวาคม 2567

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558
- จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดสงขลา เฉพาะ ครู กศน.ตำบล และ ครูศูนย์การเรียนชุมชน ใน 4 อำเภอชายแดน

http://www.lertchaimaster.com/doc/criteria.pdf


11 ธันวาคม 2567

หลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พ.ศ. 2568

 หลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พ.ศ. 2568


ตามมาตรา ๖ (๒) มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ๒๕๖๖

กำหนดให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ทำหน้าที่ จัด ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามความถนัดของตน การประกอบ

อาชีพ การพัฒนาอาชีพ การยกระดับ คุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว ชุมชน หรือสังคม หรือเพื่อประโยชน์

แห่งความรอบรู้ของตน โดยอาจได้รับการรับรองคุณวุฒิตามความเหมาะสม จึงได้กำหนดรูปแบบ วิธีการ

ขั้นตอน และหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้สำหรับประชาชน ให้กับ

หน่วยจัดการเรียนรู้ ใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพบริบทพื้นที่

และความต้องการของประชาชนในชุมชน ให้มีทักษะ ประสบการณ์และนำไปใช้ใช้ในการประกอบอาชีพ

และพัฒนาอาชีพ การพัฒนาทักษะชีวิต ตลอดจนการพัฒนาสังคมและชุมชนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


การฝึกอบรมประชาชน หมายถึง กิจกรรมฝึกอบรมประชาชน เกี่ยวกับการพัฒนา ทักษะชีวิต

การประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ การพัฒนาสังคมและชุมชน ผ่านการอบรม การศึกษาดูงาน การจัดเวที

ประชาคม หรือกิจกรรมอื่นที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ

เฉพาะด้านตามความถนัดของตน การประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การยกระดับคุณภาพชีวิตของตน

ครอบครัว ชุมชน หรือสังคม หรือเพื่อประโยชน์แห่งความรอบรู้ของตน โดยมีโครงการและหลักสูตร

ที่มีช่วงระยะเวลาการจัดที่แน่นอน ประกอบด้วย ๒ กรณี คือ 

(๑) หลักสูตร ๓ - ๙ ชั่วโมง สำหรับประชาชน

ทุกช่วงวัย จำนวน ๖ คน 

(๒) หลักสูตร ๑๐ ชั่วโมงขึ้นไป สำหรับประชาชนทุกช่วงวัย จำนวน ๓๕ คน


ค่าใช้จ่ายในการการฝึกอบรมประชาชน เบิกจ่ายได้ดังนี้

๑. ค่าตอบแทนวิทยากร เบิกจ่ายชั่วโมงละ ไม่เกิน ๖๐๐ บาท

๒. ค่าวัสดุฝึก เบิกจ่ายตามจริง ตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด

๓. ค่าอาหารไม่เกินมื้อละ ๑๒๐ บาท/คน

๔. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ไม่เกินมื้อละ ๓๕ บาท/คน

๕. ค่าของสมนาคุณในการศึกษาดูงานให้เบิกเท่าที่จ่ายจริง แห่งละไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาท

๖. ค่าเช่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด ให้เป็นไปตาม

พระราชบัญญัติการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๖

๗. ค่าเช่าสถานที่จัดอบรมตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด ตามที่ผู้ให้บริการ

เรียกเก็บ ทั้งนี้ ให้พิจารณาสถานที่ที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเป็นอันดับแรก

๘. ค่าจ้างเหมายานพาหนะ กรณีไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ให้เป็นไปตาม

พระราชบัญญัติการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๖

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑ - ๘ ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัดภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร


ดังนั้น เพื่อการให้การจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ของหน่วยจัดการเรียนรู้ในสังกัด

กรมส่งเสริมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอให้ถือปฏิบัติตามขั้นตอนรายละเอียดการดำเนินงานตามแนวทางการจัด ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง พ.ศ. ๒๕๖๘ ในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๙ ต่อไป




1 พฤศจิกายน 2567

ประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง จุดเน้นการดำเนินงานกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘

ประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 

เรื่อง จุดเน้นการดำเนินงานกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ 

----------------------------------------------- 

พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ๒๕๖๖ กำหนดให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีหน้าที่ในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ รวมทั้งอาจจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย รู้จักสิทธิควบคู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบ ภูมิใจและตระหนักในความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษา ประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รู้จักความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ใฝ่เรียนรู้ มีความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริต 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ๒๕๖๖ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงได้ประกาศจุดเน้นการดำเนินงานกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ดังนี้ 

วิสัยทัศน์ 

“ประชาชนได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีความสุข พร้อมเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” 

พันธกิจ 

๑. จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้ เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และยกระดับการศึกษาของประชาชน ให้สามารถ ปรับตัวในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม และมีสมรรถนะพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ 

๒. ผลิตและพัฒนาหลักสูตร โปรแกรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ วิธีการจัดกระบวนการ เรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และสภาวการณ์การพัฒนาของประเทศ 

๓. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ ให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา 

๔. สร้างและประสานความร่วมมือเชิงรุกกับภาคีเครือข่าย ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ รูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา 

๕. พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีความทันสมัย โดยยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อการส่งเสริม การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 

๖. พัฒนาและยกระดับศักยภาพบุคลากรทุกประเภท ทุกระดับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และการส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ

จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ 

๑. Quick Win ระยะเร่งด่วน (ภายใน ๖ เดือน) 

๑.๑ “ล็อคเป้า เฝ้าฟื้นฟู” ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา รวมถึงเด็กตกหล่นให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา (Zero Dropout) 

๑) “ล็อคเป้า” ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ และชุมชน เพื่อสำรวจ ค้นหา และเก็บข้อมูล เด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษารวมถึงเด็กตกหล่น รวมทั้งมีฐานข้อมูลเพื่อระบุตัวตน และติดตาม ผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและเด็กตกหล่นกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือประสานส่งต่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 

๒) “เฝ้าฟื้นฟู” ออกแบบมาตรการให้ความช่วยเหลือที่ตรงจุดร่วมกับโรงเรียน หน่วยงานราชการ และชุมชน รวมทั้งจัดทำแนวทางเพื่อส่งเสริมให้มีโอกาสกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนาทักษะอาชีพ 

๑.๒ จัดระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษาและประเมินผลการศึกษา เพื่อส่งเสริมผู้ที่มี ความสามารถเป็นเลิศให้ได้รับคุณวุฒิการศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ในการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือ การพัฒนาตนเองในด้านอื่น ๆ ต่อไป 

๑.๓ สำรวจประชากรผู้ไม่รู้หนังสือ ประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่นในการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือเพื่อลดอัตราการไม่รู้หนังสือของประชาชน (วัย ๑๕ ปีขึ้นไป) ให้เป็นไป ตามตัวชี้วัดของ IMD 

๑.๔ ทบทวน ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และอื่น ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

๑.๕ เร่งจัดทำกรอบ แผน อัตรากำลังของบุคลากรทุกประเภท ที่สอดคล้องกับโครงสร้าง กรมส่งเสริมการเรียนรู้ รวมทั้งจัดทำแผน OD Transition ครอบคลุมประเด็นที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ (ก.พ.ร.) ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ที่กำหนด 

๑.๖ พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ที่สอดคล้องกับบริบทและภารกิจของกรมส่งเสริม การเรียนรู้เพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก 

๒. ด้านการสร้างโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ 

๒.๑ “เรียนทุกที่ รู้ทุกเวลา” (Anywhere Anytime) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้จัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านช่องทางเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ทั้ง Online On-site และ On-air อาทิ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องเรียนออนไลน์แอพพลิเคชั่น/แพลตฟอร์ม การเรียนรู้รวมถึงรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา 

๒.๒ “อ่านได้ทุกที่ เข้าถึงได้ทุกคน” สร้างพื้นที่และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเชิงรุก อย่างเป็นกระบวนการ พัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน มีความพร้อม ในการบริการที่ทันสมัย พร้อมทั้งพัฒนารูปแบบส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิ รถส่งเสริมการอ่าน เคลื่อนที่ รวมถึงห้องสมุดออนไลน์ บริการ e-Book เพื่อให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง และอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเพื่อสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน 

๒.๓ สร้างโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพ พร้อมพัฒนา ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และทักษะจำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) 

๓. ด้านการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ 

๓.๑ พัฒนาระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ในธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank System) ที่สามารถเชื่อมโยงการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับและประเภท สร้างความคล่องตัวและเปิดทางเลือก ให้กับผู้เรียนทุกระดับ เพื่อประโยชน์ในการออกใบรับรองคุณวุฒิ/ใบรับรองความรู้ หรือการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพต่อไป 

๓.๒ จัดให้มีระบบแนะแนวทางสำหรับผู้เรียน (Coaching) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถ วางแผนเส้นทางการศึกษาต่อหรือเส้นทางอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล รวมทั้งสร้างแผนการเรียนรู้รายบุคคลที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) 

๓.๓ “สกร. Learn to Earn” สร้างงาน สร้างรายได้ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรที่เน้น การปฏิบัติและการฝึกทักษะอาชีพที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้จริง โดยเน้นทักษะที่ตอบโจทย์ ตลาดแรงงาน อาทิ ทักษะดิจิทัล ทักษะด้านเทคโนโลยี การเกษตรสมัยใหม่ และงานบริการ ที่สอดคล้องกับ มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและนำความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างรายได้ อย่างยั่งยืน 

๓.๔ “DO-LE (ดูแล) Safety Zone” ส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยให้กับผู้เรียน จัดให้มีระบบดูแล เฝ้าระวัง และเตือนภัย สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานความปลอดภัยในพื้นที่ รวมทั้งเฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา 

๓.๕ ๑ อำเภอ ๑ หน่วยจัดการเรียนรู้คุณภาพ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหน่วยจัดการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพ อย่างน้อยอำเภอละ ๑ แห่ง รวมทั้งให้มีการพัฒนาหน่วยจัดการเรียนรู้ให้มีความพร้อมในการจัดและ ให้บริการการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐาน 

๓.๖ พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้“STEM for HEALTH” ที่เน้น การเสริมสร้างความรู้ สร้างกระบวนการคิด และปลูกฝังเจตคติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่สามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต พัฒนาอาชีพ ตลอดจน การรักษาสุขภาพกาย จิต และอารมณ์ควบคู่กันด้วย เพื่อให้มีความสามารถในการปรับตัวให้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

๓.๗ จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริและเสริมสร้างความมั่นคง ทั้งในพื้นที่พิเศษและพื้นที่ชายแดน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ การส่งเสริมการเรียนรู้ การฝึกและพัฒนาอาชีพสำหรับราษฎรไทยบริเวณชายแดน 

๔. ด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 

๔.๑ “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก กระทรวงศึกษาธิการ อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ ในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับประชาชน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 

๔.๒ สร้างวิทยากรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ท้องถิ่นให้คงไว้ โดยส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน ๔.๓ ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการเรียนรู้ ผ่านกลไกอาสาสมัครส่งเสริมการเรียนรู้ (อสกร.) เพื่อส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมของชุมชน ท้องถิ่น สังคม ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สกร. ในการขับเคลื่อนชุมชนในการปลูกฝังและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชน 

๕. ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรและระบบบริหารจัดการ 

๕.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล 

 ๑) ดูแลเรื่องสวัสดิการ สร้างขวัญและกำลังใจ และความก้าวหน้าให้กับบุคลากร อาทิ การประเมินวิทยฐานะ การโอน ย้าย และการลดภาระงาน 

๒) พัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของบุคลากรให้มีความพร้อมด้านวิชาการและ ทักษะที่เหมาะสมตามสายงาน ประเภท ระดับ และมาตรฐานตำแหน่ง ๕.๒ พัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ ภายใต้หลักการ “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหน่วยงานร่วมกัน สร้างระบบการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง นำเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมาใช้บริหารจัดการ ปรับลดภาระงานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน มีแพลตฟอร์มหรือระบบข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลการเรียนรู้ขนาดใหญ่ (Big Data) ในทุกมิติ เพื่อเป็นข้อมูลใช้ประกอบในการส่งเสริม การเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 

๕.๓ ส่งเสริมให้หน่วยงานและบุคลากรปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นการพัฒนา ระบบการบริหารงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและลดโอกาสในการทุจริตและประพฤติมิชอบ ๕.๔ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติโดยการขับเคลื่อน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 

๖. ข้อสั่งการและแนวปฏิบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ) 

๖.๑ ให้นำนโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม (Action Plan) 

๖.๒ ให้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน และดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อย่างเคร่งครัด เช่น การสอบ การบรรจุ แต่งตั้งโยกย้าย (ห้ามซื้อ-ขายตำแหน่ง) ห้ามทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ ชุดนักเรียน อาหารกลางวัน ฯลฯ 

๖.๓ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 

๖.๔ ให้ร่วมกันปลูกฝัง รักษาสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาด 

๖.๕ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการอ่านอย่างเป็นกระบวนการ โดยผู้บริหารและครูต้องเป็นต้นแบบ 

๖.๖ การลงพื้นที่ตรวจราชการหรือตรวจเยี่ยม ให้ดำเนินการอย่างเรียบง่าย ให้เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องมาร่วมรับการตรวจราชการหรือตรวจเยี่ยม โดยให้มีการดำเนินการอย่างเรียบง่ายและประหยัด เช่น ไม่ต้อง ผูกผ้า ไม่ต้องติดป้ายต้อนรับ ไม่มีของที่ระลึกหรือของฝากใด ๆ ทั้งสิ้น 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป 

ประกาศ ณ วันที่ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗

นายธนกร ดอนเหนือ

อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้



29 ตุลาคม 2567

โครงสร้างส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการ 4 แท่ง สำนักงานปลัด อาชีว เลขาธิการสภาการศึกษา สกร.

29 ตุลาคม 2567 โครงสร้างส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการ 4 แท่ง สำนักงานปลัด อาชีว เลขาธิการสภาการศึกษา สกร.


25 ตุลาคม 2567

คู่มือการสรรหาและคัดเลือกคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้

คู่มือการสรรหาและคัดเลือกคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้

************

ด่วนที่สุด ให้สถานศึกษาในสังกัด สกร.ทุกแห่ง สรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาใหม่ คณะกรรมการสถานศึกษาที่สรรหาใหม่นี้ จะเรียกว่า “คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา"
ดาวน์โหลดคู่มือ


29 กันยายน 2567

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษาประกาศณวันที่ 14 สิงหาคม 2567

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2567


การเทียบความรู้วุฒิเปรียญธรรม

 

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

เรื่อง การเทียบความรู้วุฒิเปรียญธรรม[1]

————————

      ด้วยกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำหลักสูตรัธยาศึกษาต้นต้น พ.ศ. ๒๕๒๑ และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๕๒๔ มาใช้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น ในปีการศึกษา ๒๕๒๖ และกระทรวงศึกษาธิการประสงค์ที่จะสนองต่อนโยบายในการบำรุงส่งเสริมพระศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาของสงฆ์ จึงพิจารณาการเทียบวุฒิเปรียญธรรมกับวุฒิสามัญที่มีอยู่เดิม ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาแล้ว

      ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงให้เทียบวุฒิเปรียญธรรมกับวุฒิสามัญ ดังนี้

           ๑.  เปรียญธรรม ๓ ประโยค (ป.ธ.๓) เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ. ๒๕๒๑ (ม.๓) โดยไม่ต้องออกใบเทียบความรู้

           ๒. เปรียญธรรม ๕ ประโยค (ป.ธ.๕) และประสบการณ์ในการสอนวิชาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม หรือแผนกบาลี หรือในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาไม่น้อยกว่า ๑ ปี โดยมีเวลาสอนไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชั่วโมง เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๕๒๔ (ม.๖) โดยให้กรมการศาสนาเป็นผู้รับรองประสบการณ์ และกรมวิชาการเป็นผู้ออกใบเทียบความรู้ให้

     ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๖

นายสมาน  แสงมลิ

(นายสมาน  แสงมลิ)

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


[1] จากแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘ :   ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๖

6 สิงหาคม 2567

จุดเน้นการดําเนินงานกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 ประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ : เรื่อง จุดเน้นการดําเนินงานกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER96/DRAWER036/GENERAL/DATA0000/00000100.PDF

2 กรกฎาคม 2567

ประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง กำหนดชื่อย่อสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด/กรุงเทพมหานครและศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ/เขต ลว 11 มิ.ย. 67

ประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง กำหนดชื่อย่อสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด/กรุงเทพมหานครและศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ/เขต

สำนักงาน สกร.ประจำจังหวัด

สกร.ระดับอำเภอ





14 พฤษภาคม 2567

คำสั่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่ 864/2567 เรื่อง แก้ไขคำสั่ง

อนุสนธิคำสั่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่ 483/2566 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เรื่องให้ยกเลิกคำสั่งและมอบหมายให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏบัติหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่ง



ปฏิทินการดำเนินงานส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 สกร.จังหวัดสงขลา

ปฏิทินการดำเนินงานส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567


 

แนวปฎิบัติการรับผู้เรียนที่อายุไม่ถึง 15 ปี ข้อมูลจาก สพม.สงขลา-สตูล

**แนวปฎิบัติการรับผู้เรียนที่อายุไม่ถึง 15 ปี ข้อมูลจาก สพม.สงขลา-สตูล**

1.กรณีที่มาสมัครแล้วไม่มีใบส่งตัวมา ให้ผู้ปกครองสามารถไปแจ้งที่โรงเรียน ให้ทำหนังสือถึงเขตพื้นที่ได้ (เพราะเป็นเรื่องที่โรงเรียนต้องบริการอยู่แล้ว

2.กรณีที่มาสมัครแล้วไม่มีใบส่งตัวมา หากสะดวกผู้ปกครองสามารถไปแจ้งที่เขตพื้นที่ได้ด้วยตนเอง  หากไม่สะดวกให้เลือกข้อ 1 

3.กรณีที่ผู้ปกครองไปที่โรงเรียนแล้วตามข้อ 1 แต่โรงเรียนไม่ทำเรื่องให้ สามารถให้เบอร์โทรเจ้าหน้าที่ สพม.สงขลา-สตูล 0929986668 เพื่อให้โรงเรียนพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เองโดยตรง

4.กรณีที่มาสมัครแล้วมีหนังสือส่งตัวจากโรงเรียนมา สกร.สามารถรับไว้ได้เลยเพราะ โรงเรียนรับรู้รับทราบถึงนักศึกษาคนนั้นแล้วว่าไม่ประสงค์จะเรียนต่อ ต้องการเรียนสถานศึกษาอื่น

6 มกราคม 2567

กรณีตัวอย่างความผิดทางวินัยที่ได้ดำเนินการลงโทษไปแล้วของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

กรณีตัวอย่างความผิดทางวินัยที่ได้ดำเนินการลงโทษไปแล้วของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ความผิดเกี่ยวกับนักเรียน
1. พูดนอกเรื่อง พูดสัปดน พูดสองแง่สองมุม พูดเรื่องส่วนตัวในขณะสอนเป็นประจำ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
2. พูดมึงกูกับนักเรียน เรียกชื่อพ่อแม่เป็นชื่อนักเรียน (ภาคทัณฑ์)
3. ด่านักเรียนว่า "พ่อแม่ไม่สั่งสอน หรือว่า พ่อแม่สอนให้ทำอย่างนี้" (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน
4. วางอำนาจ เกรี้ยวกราด ดูถูกเหยียดหยามนักเรียน (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
5. บอกข้อสอบนักเรียน (ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น)
6. ให้นักเรียนช่วยตรวจข้อสอบ และให้คะแนนนักเรียนโดยไม่ตรวจกระดาษคำตอบ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
7. ออกข้อสอบที่มีข้อความเสียดสีผู้บริหารโรงเรียน และถ้อยคำบางคำไม่สุภาพ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
8. เป็นกรรมการคุมสอบ ไม่คุมสอบให้รัดกุม เป็นเหตุให้นักเรียนลอกคำตอบกัน (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
9. สั่งนักเรียนที่ต้องสอบแก้ "ร" แก้ "0" ให้ซื้ออุปกรณ์การแต่งรถมาให้แล้วจะสอบได้ (ปลดออก)
10. เก็บเงินจากนักเรียน อ้างว่าจะนำไปซื้อหนังสือมาให้นักเรียน แต่ไม่ได้ซื้อและไม่คืนเงินจนกระทั่งถูกร้องเรียนจึงคืนให้ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 2 เดือน)
11. ขอยืมเงินนักเรียนแล้วไม่ยอมใช้ ให้นักเรียนช่วยตรวจข้อสอบ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 2 เดือน)
12. ขโมยเงินนักเรียน (ปลดออก)
13. ริบสร้อยและแหวนจากนักเรียนแล้วไม่ยอมคืน ผู้ปกครองนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียนต้องทวงถามหลายครั้งจึงได้ส่งคืน (ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น)
14. ชวนนักเรียนหญิงดื่มเบียร์ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
15. พานักเรียนไปเที่ยวต่างจังหวัดโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาและผู้ปกครองนักเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 2 เดือน)
16. ยุยงนักเรียนให้ขโมยเงินครู (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 2 เดือน)
17. ยุยงนักเรียนให้กระด้างกระเดื่องต่อผู้บริหารโรงเรียน (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 2 เดือน)
18. ครูชายจับมือ จับหน้าอก และจูบนักเรียนหญิง (ปลดออก)
19. ครูชายให้นักเรียนหญิงนวดขาแล้วดึงลงมากอด (ปลดออก)
20. ครูชายสั่งนักเรียนหญิงให้มาสอบแก้ตัวที่โรงเรียนในวันหยุดราชการเพียงคนเดียว แล้วถือโอกาส
ปลุกปล้ำ (ปลดออก)
21. ครูชายให้นักเรียนหญิงนอนหนุนตัก แล้วเอามือลูบหัวลูบแก้มในสวนสาธารณะ (ปลดออก)
22. ครูชายพานักเรียนหญิงไปทานอาหาร แล้วคะยั้นคะยอให้นักเรียนดื่มเบียร์ เมื่อนักเรียนดื่มเข้าไปแล้วมีอาการมึนก็พาเข้าโรงแรม แม้จะไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศต่อกันถึงขั้นได้เสีย ก็เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ไล่ออก)
23. ครูชายได้เสียกับนักเรียนหญิง ไม่ว่านักเรียนจะสมัครใจหรือไม่ก็ตาม (ไล่ออก)
24. ครูชายทำตัวสนิทสนมกับนักเรียนหญิงจนเกินขอบเขต ผู้บริหารโรงเรียนตักเตือนแล้วไม่ยอมเชื่อฟัง (ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น)
25. ครูชายพานักเรียนหญิงไปฟังเพลงและดูภาพยนตร์รอบค่ำกันสองต่อสอง (ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น)
26. ลงโทษนักเรียนโดยวิธีตบหน้า ดึงหู กระชากผม (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
27. ลงโทษนักเรียนโดยวิธีหยิก ตบหลัง (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
28. ลงโทษนักเรียนโดยวิธีหักนิ้วไปด้านหลังมือ จนนักเรียนเกิดความเจ็บปวด (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
29. เฆี่ยนนักเรียนจนเนื้อแตก เลือดออก (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
30. ลงโทษนักเรียนโดยวิธีทุบหน้าอก เขกหัว (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
31. ลงโทษนักเรียนโดยใช้ป้ายแขวนคอแล้วให้ยืนหน้าห้อง และให้คลานรอบสนาม (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
32. ลงโทษนักเรียนโดยการเฆี่ยนจนมีบาดแผล และใช้พวงกุญแจตีที่ศีรษะนักเรียนจนศีรษะแตก(ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
33. ลงโทษนักเรียนโดยการชกและเตะ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
34. ลงโทษนักเรียนที่ทะเลาะกันโดยวิธีให้ต่อยกันที่หน้าเสาธง จนนักเรียนได้รับบาดเจ็บที่ดั้งจมูก(ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
35. ลงโทษนักเรียนโดยการเดินเหยียบและกดขยี้ลงบนมือจนนักเรียนได้รับบาดเจ็บ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 1 เดือน)
36. ลงโทษนักเรียนที่ทำเลขผิดด้วยการสั่งให้นักเรียนในห้องจำนวน 28 คน เขกหัวนักเรียนที่ทำเลขผิดคนละ 50 ครั้ง (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
37. ลงโทษนักเรียนโดยการตีด้วยไม้ไผ่ปลายแตก ยาว 1 ศอกเศษ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ที่ศีรษะจนนักเรียนชักและสลบ จนต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล 2 วัน (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 2 เดือน)
38. ลงโทษนักเรียนโดยการเฆี่ยนด้วยเข็มขัดถึง 24 ที และให้แบกโต๊ะซึ่งมีน้ำหนักเกือบเท่าตัวนักเรียน เดินขึ้นเดินลงระหว่างชั้นที่ 2 ถึงชั้นที่ 3 (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน)
39. ลงโทษนักเรียนโดยใช้เหล็กยาวประมาณ 1 ศอก วัดโดยรอบได้ 2.5 ซม. ตีที่หัวไหล่จนได้รับบาดเจ็บ (ตัดเงินเดือน 5 %เป็นเวลา 2 เดือน)
ความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
1. เจ้าหน้าที่การเงินยักยอกเงินบำรุงการศึกษาไปใช้ส่วนตัว (ไล่ออก)
2. เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ลงชื่อในใบตรวจรับว่าของถูกต้องครบถ้วน ภายหลังปรากฏว่าไม่มีของที่ตรวจรับ (ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น)
3. ครูดนตรีแอบเอาเครื่องดนตรีซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาไปจำนำ (ปลดออก)
4. มีหน้าที่อยู่เวร มารับเวรช้า มารับเวรแล้วออกไปทำธุระส่วนตัวข้างนอก (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
5. มีหน้าที่อยู่เวร ไม่ยอมมาอยู่เวร ทำให้เครื่องพิมพ์ดีดของโรงเรียนถูกโจรกรรม (ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น)
6. มาอยู่เวรแล้วขโมยทรัพย์สินของโรงเรียนเสียเอง (ไล่ออก)
7. ไม่ทำบัญชีการเงินและบัญชีพัสดุให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน)
8. มาสายบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
9. กลับก่อนเวลาเลิกงานเสมอ ๆ (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
10. ให้เพื่อนลงชื่อมาทำงานแทน (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน ทั้ง 2 คน)
11. ลงชื่อมาปฏิบัติราชการแล้วไม่อยู่โรงเรียน (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
12. เข้าสอนช้าและเลิกสอนก่อนหมดเวลาเสมอ ๆ (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
13. ทิ้งชั่วโมงสอนไปทำธุระส่วนตัว (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
14. ไม่ไปสอนหนังสือติดต่อกันเกินกว่า 15 วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (ไล่ออก)
15. หยุดราชการ 1 วัน ไปติดต่อขอยืมเงินเพื่อน เมื่อมาทำงานได้ยื่นใบลาป่วยต่อผู้อำนายการ (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน)
16. หยุดราชการไป 7 วัน เมื่อมาทำงานได้ยื่นใบลาป่วยพร้อมใบรับรองแพทย์ ปรากฏว่าแพทย์ลงความเห็นให้หยุดพัก 1 วัน แต่แก้ไขใบรับรองแพทย์เป็น 7 วัน (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน)
17. ส่งใบลาป่วยล่าช้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (ภาคทัณฑ์)
18. ขออนุญาตลากิจไปงานแต่งงานเพื่อน ผู้อำนวยการโรงเรียนไม่อนุญาตก็ยังไป (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน )
11. ลงชื่อมาปฏิบัติราชการแล้วไม่อยู่โรงเรียน (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
12. เข้าสอนช้าและเลิกสอนก่อนหมดเวลาเสมอ ๆ (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
ความผิดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเสื่อมเสีย
1. เมาสุราแล้วอาละวาด ทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน (ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น)
2. เมาสุราแล้วด่าท้าทายผู้บังคับบัญชา (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน)
3. เมาสุราแล้วทำร้ายร่างกายเพื่อนครูด้วยกัน (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
4. เมาสุราแล้วนอนฟุบอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอ ไม่สามารถกลับไปสอนหนังสือได้ (ปลดออก)
5. ลงเวลามาทำงานแล้วแอบไปดื่มสุราที่ร้านข้างโรงเรียน ยังนำสุรามาดื่มที่โต๊ะทำงานและที่ห้องพยาบาลของโรงเรียนในเวลาราชการ (ปลดออก)
6. สูบเฮโรอีน (ปลดออก)
7. เล่นไฮโลว์ (การพนันบัญชี ก. ลำดับที่ 23) ที่บ้านพักครู (ปลดออก)
8. เล่นไพ่รัมมี่ (การพนันบัญชี ข. ลำดับที่ 21 ฎ) ขณะอยู่เวร (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน)
9. เล่นหวยใต้ดิน (ปลดออก)
10. ครูสตรีมีสามีแล้วยังไปพบปะให้ความสนิทสนมกับคนรักเก่าถึงขนาดเข้าไปในห้องนอน แต่ไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศกัน สามีตามไปพบจึงเกิดการทะเลาะกันขึ้น (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
11. ครูชายมีบุตรภรรยาแล้ว ไปหลอกผู้หญิงว่ายังเป็นโสดอยู่ อยากแต่งงานด้วย ผู้หญิงหลงเชื่อและยอมมีความสัมพันธ์ทางเพศด้วย พอคลอดลูกก็ถูกครูชายทอดทิ้ง (ปลดออก)
12. ครูชายกับครูหญิงมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวต่อกัน ทั้ง ๆ ที่แต่ละฝ่ายมีคู่สมรสอยู่แล้ว (ไล่ออก)
13. ครูชายกับครูหญิงมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวถึงขั้นอยู่กินเยี่ยงสามีภรรยาอย่างเปิดเผยต่อกัน ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีคู่สมรสอยู่แล้ว เพียงแต่แยกกันอยู่เท่านั้น (ไล่ออก)
14. ครูชายมีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงที่เป็นภรรยาของผู้อื่น แม้หญิงนั้นจะเป็นฝ่ายยั่วยวนและมีความประพฤติไม่ดี ชอบมีความสัมพันธ์ทางเพศกับชายอื่นเสมอ ๆ ก็ถือว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ปลดออก)
15. ครูสตรีมีคู่สมรสแล้วไปมีความสัมพันธ์ในทางชู้สาวกับสามีคนอื่นถึงขั้นได้เสียกัน (ไล่ออก)
16. ครูชายมีคู่สมรสแล้วไปมีความสัมพันธ์ในทางชู้สาวกับภรรยาของคนอื่นจนถึงขั้นได้เสียกัน (ไล่ออก)
17. ครูสตรีมีคู่สมรสแล้วไปมีความสัมพันธ์ในทางชู้สาวกับชายอื่นจนถึงขั้นได้เสียกัน แม้ชายผู้นั้นจะยังไม่มีคู่สมรสก็เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ปลดออก)
18. ครูชายมีภรรยาแล้วแอบไปมีความสัมพันธ์ในทางชู้สาวกับหญิงอื่นจนถึงขั้นได้เสียกัน ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน แม้หญิงนั้นจะยังไม่มีคู่สมรสก็เป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ปลดออก)
19. ครูชายจดทะเบียนสมรสซ้อนและไม่รับผิดชอบครอบครัว (ปลดออก)
20. ครูสตรีจดทะเบียนสมรสกับชายอื่นทั้ง ๆ ที่รู้ว่าชายนั้นมีภรรยาและจดทะเบียนสมรสแล้ว (ปลดออก)
21. ครูชายเขียนจดหมายถึงภรรยาผู้อื่นในลักษณะชู้สาว (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
22. ครูชายปลุกปล้ำครูสตรีโรงเรียนเดียวกัน (ปลดออก)
23. ออกเช็คเด้งจนถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 3 เดือน (ปลดออก)
24. เป็นหนี้แล้วไม่ยอมชดใช้ตามกำหนด พอเจ้าหนี้มาทวงกลับท้าให้ไปฟ้องศาล (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
25. เอาทรัพย์สินของโรงเรียนไปเป็นของตนเอง (ปลดออก)
26. เรียกร้องเงินจากผู้ปกครองนักเรียนที่พาบุตรมาสอบเข้าเรียนต่อ โดยอ้างว่าจะช่วยให้เด็กสอบเข้าได้ (ปลดออก)
27. แต่งกายไม่สุภาพไปทำงาน ผู้บริหารโรงเรียนเตือนแล้วไม่ยอมฟัง (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
28. ทุจริตในการเบิกค่ารักษาพยาบาล (ไล่ออก)
29. ทุจริตในการเบิกค่าเช่าบ้าน (ไล่ออก)
30. ทุจริตในการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ในการเดินทางไปราชการ (ไล่ออก)
ความผิดเกี่ยวกับประชาชน
1. พูดจาไม่สุภาพกับผู้ปกครองนักเรียนซึ่งมาขอทราบเหตุผลที่บุตรของตนถูกครูลงโทษ (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
2. รับประทานอาหารแล้วไม่จ่ายเงิน เมื่อเจ้าของร้านมาฟ้องผู้อำนวยการ เกิดความโมโหกระชากคอเสื้อแล้วต่อยหน้า 2 – 3 ที (ปลดออก)

ความผิดต่อผู้บังคับบัญชา
1. ผู้อำนวยการโรงเรียนสั่งให้อยู่เวร ไม่ยอมมาอยู่อ้างว่าลืม (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
2. ผู้อำนวยการโรงเรียนสั่งให้คุมสอบนักเรียน ไม่ยอมคุม (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
3. ไม่ยอมส่งผลการสอบแก้ตัวของนักเรียนตามเวลาที่ผู้อำนวยการโรงเรียนกำหนด ทำให้โรงเรียนไม่สามารถแจ้งผลการเรียนตามกำหนด (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
4. ไม่เข้าประชุมตามคำสั่งผู้อำนวยการโรงเรียน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
5. ไม่ยอมส่งแผนการเรียนการสอนตามเวลาที่ผู้อำนวยการโรงเรียนกำหนด ต้องเตือนถึง 2 ครั้ง จึงส่ง(ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน)
6. ร้องเรียนไปยังกรมฯ ว่าผู้อำนวยการโรงเรียนทุจริตเงินราชการ ทั้งที่รู้อยู่ว่าไม่เป็นความจริง (ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 2 เดือน)

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...