31 มีนาคม 2563

แบบการทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชื้อไวรัส COVID-19


สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา เชิญชวนทำแบบทดสอบออนไลน์ เพิ่มความรู้ สู้ภัย COVID-19 ทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ 80% สามารถรับเกียรติบัตรได้ทาง E-Mail ที่ท่านลงทะเบียน 

แบบทดสอบได้รับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อคำถามจากสาธารณสุขอำเภอเมืองสงขลาเรียบร้อยแล้ว  https://forms.gle/5aV5bmZ5G97iVwEG8

** E-mailต้องถูกต้องเท่านั้นเกียรติบัตรจึงจะส่งไปถึงท่านได้



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโควิด-19

ไวรัสโคโรนา หรือไควิด-19 คืออะไร? 
ไวัรสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง ดังนั้น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และโควิด-19 จึงหมายถึงไวรัสชนิดเดียวกัน

อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 
ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก ระบุว่าอาการโควิด-19 ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองมี 5 อาการหลัก ๆ ด้วยกัน ดังนี้
   1.มีไข้
   2.เจ็บคอ
   3.ไอแห้ง ๆ
   4.น้ำมูกไหล
   5.หายใจเหนื่อยหอบ
บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ โดย ทางด้านแพทย์อาจจะตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยการเอกซ์เรย์ปอด แล้วพบว่าปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากมีอาการหนักมาก ๆ (พบว่าติดเชื้อในระยะหลัง ๆ แล้ว) อาจอันตรายถึงอวัยวะภายในต่าง ๆ ล้มเหลว

อันตรายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19
แม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ที่กลัวกันทั่วโลกเป็นเพราะเชื้อไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาเป็นไปแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น

นอกจากนี้ อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานโรคของผู้ป่วยไม่แข็งแรง หรือเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายลุกลามมากขึ้น รวดเร็วขึ้น

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19
   - เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
   - ผู้สูงอายุ
   - คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
   - คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
   - คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
   - ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
   - ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
   - ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น

หากมีอาการโควิด 19 ควรทำอย่างไร ?
หากมีอาการของโรคที่เกิดขึ้นตาม 5 ข้อดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และเมื่อแพทย์ซักถามควรตอบตามความเป็นจริง ไม่ปิดบัง ไม่บิดเบือนข้อมูลใด ๆ เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องมากที่สุด
หากเพิ่งเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ควรกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปข้างนอกเป็นเวลา 14-27 วัน เพื่อให้ผ่านช่วงเชื้อฟักตัว (ให้แน่ใจจริง ๆ ว่าไม่ติดเชื้อ)

   เป็นเรื่องสําคัญอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องตระหนักว่า เราทั้งหมดล้วนมีบทบาทในการช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด - 19 แพทย์มีหน้าที่ระบุและตรวจโรคให้กับผู้ป่วยที่เข้าข่ายอย่างเร็วที่สุดและแยกตัวผู้ป่วยเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อแก่ผู้อื่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐมีหน้าที่ระบุผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย และดําเนินการกักตัวเพื่อจํากัดวงของการแพร่เชื้อ มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เช่น การยกเลิกงานกีฬา คอนเสิร์ต และการรวมกลุ่มขนาดใหญ่ก็สามารถช่วยลดการแพร่เชื้อไวรัสได้
ประชาชนทั่วไปก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน เราสามารถช่วยเหลือกันและกันให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสได้ด้วยการล้างมือของตนเองอย่างสมํ่าเสมอ ไอจามอย่างถูกวิธี (ไอใส่กระดาษทิชชู ทิ้งกระดาษทิชชูในถังขยะที่เหมาะสม และล้างมือทุกครั้ง) รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตรเมื่อออกไปข้างนอก และหากรู้สึกไม่สบาย ให้อยู่บ้าน เพื่อปกป้องตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ หากเราทุกคนปฏิบัติเช่นนี้เราจะสามรถควบคุมการระบาดครั้งนี้ได้

ข้อควรปฏิบัติและคําแนะนําสําหรับประชาชน
หลักการพื้นฐานในการลดความเสี่ยงทั่วไปของการติดเชื ้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน รวมถึงเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด 19 ได้แก่
   • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยด้วยอาการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน
   • ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หรือสิ่งที่อยู่รอบตัวผู้ป่วย
   • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ในฟาร์มหรือสัตว์ป่าโดยไม่มีการป้องกัน
   • ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันควรไออย่างถูกวิธี (รักษาระยะห่างเมื่อไอ เมื่อไอหรือจามให้ปิดปากและจมูกด้วยทิชชูหรือผ้าแบบใช้แล้วทิ้ง และล้างมือ)
   • สําหรับสถานพยาบาล ให้ยกระดับมาตรฐานของข้อปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในแผนกฉุกเฉิน  (แหล่งที่มา WHO องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย)

18 มีนาคม 2563

มีแอปมาแนะนำครับราคา 100 บาท แต่ตอนนี้แจกฟรี เหลืออีก 5 วัน สวยและทำงานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

มีแอปมาแนะนำครับราคา 100 บาทแต่ตอนนี้แจกฟรีเหลืออีก 5 วัน สวยและทำงานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากครับ โหลดตามลิ้งค์ https://play.google.com/store/apps/details?id=launcher.alpha.prime

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...