6 มิถุนายน 2559

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. ลว. 28 มี.ค. 2559

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนสำนักงาน กศน.
1.คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 604/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินอุดหนุน สำนักงาน กศน. ลว. 28 มี.ค. 2559





ความรู้เพิ่มเติมจาก"โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล"

เมื่อวันที่ 2-3 มิ.ย.59 มีโอกาสฟังท่านรองฯ กิตติศักดิ์ กับท่าน ผอ.สัจจา บรรยายใน "โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล" แก่ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ/เขต ณ โรงแรมหรรษาเจบี หาดใหญ่ สงขลา

1) หนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับ จะใช้วิธีซื้อไม่ได้ ต้องใช้วิธีจ้าง เพราะลิขสิทธิเนื้อหาเป็นของ กศน. กำลังจะให้องค์การค้า สกสค. เป็นผู้พิมพ์จำหน่ายในภาคเรียนหน้า ( รวมทั้งหนังสือเรียนวิชาเลือกที่สถานศึกษาพัฒนาเนื้อหาขึ้น ก็ต้องใช้วิธีจ้าง )
ส่วนหนังสือเรียนวิชาบังคับ จะใช้วิธีซื้อหรือจ้างก็ได้  โดยถ้าเอกชนเป็นผู้พัฒนาเนื้อหาก็ใช้วิธีซื้อ ถ้าพิมพ์ตามต้นฉบับของ กศน.ก็ใช้วิธีจ้าง

ปัญหาคือ ถ้าสถานศึกษาจะแบ่งงบประมาณค่าหนังสือเรียนที่ได้รับ ออกเป็นสองส่วน เช่น จ้างพิมพ์วิชาเลือก และซื้อวิชาบังคับ จะถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างซึ่งจะทำไม่ได้ หรือไม่


ประเด็นนี้ ถ้า การแบ่งงบประมาณแล้วทำให้เปลี่ยนอำนาจผู้ซื้อจากจังหวัดเป็นอำเภอ และ/หรือ เปลี่ยนวิธีซื้อ/จ้าง จากวิธีสอบราคา/ประกวดราคา เป็นวิธีตกลงราคา ก็จะเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างที่ห้ามทำ

แต่ถ้าวงเงินทั้งหมดที่สถานศึกษาได้รับไม่เกินห้าแสนบาท
 สถานศึกษาซื้อเองโดยวิธีตกลงราคาอยู่แล้ว แม้จะแบ่งเป็นสองส่วน ซื้อบางส่วนจ้างบางส่วน ก็ยังซื้อ/จ้างโดยสถานศึกษาด้วยวิธีตกลงราคาเช่นกัน สามารถทำได้ ไม่ถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง

2) หนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับ จะเป็น "ชุดวิชา" คือ 1 วิชามีมากกว่า 1 เล่ม/รายการ ( หนังสือเรียน กับ สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ )
วิชาบังคับ ภาคเรียนต่อไปก็จะเปลี่ยนเป็นชุดวิชา
สามารถใช้งบที่จัดสรรเป็นค่าหนังสือเรียน จ้างได้ทั้ง 2 อย่าง โดยภาคเรียนแรกอาจจ้างเท่ากันทั้ง 2 อย่าง ส่วนภาคเรียนต่อ ๆ ไป อาจจ้างพิมพ์สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่า หรือจ้างพิมพ์เฉพาะสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้

3) จุดสำคัญในการพิจารณาใบเสนอราคา มี 3 อย่าง
- จำนวนเงิน ( ตรวจสเป็คก่อน ถ้าสเป็คถูกต้อง และไม่ผิดเงื่อนไข ต้องซื้อ/จ้างจากรายที่เสนอราคาต่ำสุด )

- ต้องมีลายมือชื่อผู้เสนอราคา
- ต้องมีกำหนดวันส่งมอบ

4) สัญญาซื้อ/จ้าง สามารถแก้ไขได้ถ้ามีเหตุผลความจำเป็น โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้จนถึงก่อนวันตรวจรับ
หลักประกันสัญญา เก็บในที่ปลอดภัย แต่ไม่ต้องเก็บในตู้เซฟ

5) การซื้อ/จ้าง หนังสือเรียน ถ้าส่งของไม่ครบถ้วน ให้คำนวณค่าปรับและจำนวนวันที่ปรับ เฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบเท่านั้น

6) ถ้าเราส่งมอบต้นฉบับ/ส่งมอบพื้นที่ช้า กี่วัน ให้ขยายเวลาเท่านั้น

7) ใช้เงินอุดหนุน
 จ้างเหมาบริการในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ไม่ได้ เช่น  
จ้างในตำแหน่ง จนท.การเงิน บัญชี แม่บ้าน ทำความสะอาด ไม่ได้

8) การเปิดสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งต่อไป ( อีกนาน ยังไม่มีกำหนด ) เราถูกกำหนดให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เช่นเดียวกับ สพฐ. คือ กลุ่มที่รับเฉพาะคนในสังกัด กับกลุ่มที่รับบุคคลทั่วไป และ ต้องกำหนดวิชาเอก
เราจะแบ่งเป็นกลุ่มที่รับบุคคลทั่วไปน้อยกว่า อาจจะแบ่งรับคนทั่วไป 30 % และรับคนในสังกัด 70 % ( สอบกลุ่มคนในให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจึงเปิดรับสมัครกลุ่มคนทั่วไป โดยคนในสังกัดก็สามารถสมัครในกลุ่มคนทั่วไปได้อีก )
ในส่วนของการกำหนดวิขาเอก ก็จะสำรวจจากวุฒิของพนักงานราชการที่เป็นคนในสังกัดว่าจบเอกอะไรกันมา แล้วกำหนดรับวิชาเอกตามนั้น

9) สิ่งที่เราทำผิด ตามที่หน่วยงานภายนอกที่มาตรวจสอบ ชี้มูล เรื่องหนึ่งคือ เราไม่ทำ "แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดซื้อจัดหาพัสดุ" ( ประเด็นนี้ หน่วยงาน/สถานศึกษา ต้องแก้ไข )
การซื้อการจ้างราคาเกิน 100,000 บาท ต้องตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
ถ้าของบฯเพิ่มเติมได้ ก็ซื้อเกินราคากลางได้ แต่ไม่เกิน 10 %

ขอบพระคุณเนื้อหาข้อมูล อ. เอกชัย ยุติศรี

กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำ ของข้าราชการครู กศน.

กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำ ของข้าราชการครู กศน.

ก.ค.ศ. ได้กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำของ ขรก.ครู กศน. ไว้เมื่อปี 2553 โดยกำหนดจำนวนชั่วโมง “ภาระงานสอน” ไว้ว่า ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์

( ผู้ที่ทำผลงานวิชาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าระบุภาระงานสอนต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะไม่ผ่าน )



แต่ภาะงานสอนนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็น “การสอน” อย่างเดียว แต่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
2) ภาระงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการเรียนการสอน
3) ภาระงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา


ข้อ 2) กับ 3) จะเป็นกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมกับ 1) แล้ว ต้องไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
.
ท่านหัวหน้าหน่วย ศน. Pong Angkana บอกว่า ที่นิเทศมาพบว่าส่วนใหญ่ ขรก.ครูไม่เคยทราบเรื่องการเทียบเคียงการสอนที่ไม่ใช่การสอนในห้องเรียนนี้ ไม่เข้าใจและกังวล

ซึ่ง แม้แต่
ข้อ 1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการสอนในห้องเรียนเท่านั้น แต่หมายถึงการสอนทั้งหมดที่มีตารางกำหนดเวลา เช่น การสอน การฝึกอบรม การสาธิต การเป็นวิทยากรในการจัดประชุมสัมมนาที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดนิทรรศการ การจัดรายการวิทยุ-โทรทัศน์ การเผยแพร่ความรู้ การแนะแนว การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงาน
ทั้งหมดนี้คือชั่วโมงสอนตามตารางสอน ซึ่งต้องรวมไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนข้อ 2) กับ 3) คืออะไร
ดูรายละเอียดพร้อมหนังสือแจ้ง ที่
https://dl.dropboxusercontent.com/u/1090140…/…/teachwork.pdf

การจัดการศึกษาต่อเนื่องไม่จำกัดอายุ

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง กศน.จัดให้เฉพาะผู้ที่มีอายุ 15 - 59 ปี วัยแรงาน ถ้าต่ำกว่า 15 ปี ไม่ได้ใช่ไหม เช่น เด็กในระบบ 10 - 12 ปี ไม่ได้ ถูกหรือเปล่า

ตอบว่า การจัดการศึกษาต่อเนื่องไม่ได้จำกัดอายุ อยู่ที่ลักษณะเนื้อหาวิชา โดยการจัดการศึกษาต่อเนื่องแบ่งเป็นหลายประเภท คือ อาชีพ ทักษะชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บางเนื้อหาวิชามุ่งจัดสำหรับผู้สูงอายุก็มี บางเนื้อหาวิชากลุ่มเป้าหมายอาจเป็นทั้งผู้ปกครองและเด็ก

แต่ เนื่องจาก กศน.มีหน้าที่จัดการศึกษานอกระบบ จึงไม่ควรจัดการศึกษาต่อเนื่องในโรงเรียนโดยที่กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนในระบบทั้งหมด

ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย ยุติศรี

ตรวจสอบวุฒิโรงเรียนผู้ใหญ่

ตรวจสอบวุฒิโรงเรียนผู้ใหญ่
ตอบว่า การตรวจสอบวุฒิการศึกษาที่ออกจากโรงเรียนผู้ใหญ่ที่ยุบเลิกไปแล้ว ต้องส่งเรื่องตรวจสอบไปที่ กศน.จังหวัด

ครูผู้ช่วย ถ้าไปตรวจสุขภาพที่ รพ. แล้วนำใบเสร็จมาเบิกได้หรือปล่าว

2.2 ครูผู้ช่วย ถ้าไปตรวจสุขภาพที่ รพ. แล้วนำใบเสร็จมาเบิกได้หรือปล่าว

ตอบว่า ครูผู้ช่วยไปตรวจสุขภาพที่ รพ.แล้วนำใบเสร็จมาเบิกได้ตามสิทธิ์ ( ตรวจสุขภาพได้ปีละไม่เกิน 1 ครั้ง ตรวจบางอย่าง บางช่วงอายุเบิกไม่ได้ )

ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย ยุติศรี

5 มิถุนายน 2559

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินงบอุดหนุน

การปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินงบอุดหนุน
1. คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 605/2559 ลว. 28 มี.ค. 59

http://buriram.nfe.go.th/e_office/photo/2672.pdf

หลักเกณฑ์ อัตราและวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจัดสรรคเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคลสังกัด กศน.(การเทียบระดับการศึกษาขั้นสุดยอดของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

หลักเกณฑ์ อัตราและวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจัดสรรคเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคลสังกัด กศน.(การเทียบระดับการศึกษาขั้นสุดยอดของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน)




การเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน (การศึกษาต่อเนื่อง)

การเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมประชาชน (การศึกษาต่อเนื่อง)





หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ลว 18 เม.ย.59

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ







2 มิถุนายน 2559

กศน.อำเภอ/เขตไม่มีอำนาจจ้างเหมาบริการรายเดือนทุกตำแหน่ง

แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งมอบอำนาจ เป็น กศน.อำเภอ/เขตไม่มีอำนาจจ้างเหมาบริการรายเดือนทุกตำแหน่ง

ให้ของที่ระลึกวิทยากรแทนการจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร ไม่ถูกต้อง

1.ให้ของที่ระลึกวิทยากรแทนการจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร ไม่ถูก, 2.การเปลี่ยนชื่อ

ตอบว่า  ไม่มีระเบียบให้ใช้เงินงบประมาณซื้อของที่ระลึกให้วิทยากร

ถามต่อว่า แล้วค่าของสมนาคุณ มันแตกต่างจากของที่ระลึกตรงไหน

ตอบว่า “ค่าสมนาคุณวิทยากร” ( ไม่ใช่ค่า ของ สมนาคุณวิทยากร ไม่มีคำว่า ของ ) ก็คือค่าตอบแทนวิทยากรนั่นเอง มีเกณฑ์การจ่ายเป็นเงิน ( บาท ) 

ที่เขาให้ของที่ระลึกกับวิทยากรกันนั้น เขาใช้เงินนอกระบบซื้อของที่ระลึกกัน หรือเป็นของที่ระลึกที่ไม่ต้องซื้อใหม่
แต่ถ้าหมายถึง ในการฝึกอบรมนั้นมีการไปดูงาน จึงจะจ่าย “ค่าของสมนาคุณในการดูงาน” โดยเบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง แห่งละ ( ไม่ใช่คนละ ) ไม่เกิน 1,500 บาท ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ ( ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555 ข้อ 8 (11)
ดูระเบียบฉบับปี 55 นี้ได้ที่ http://www.audit.moi.go.th/pdf_new/3-2555.pdf

ส่วนค่าสมนาคุณวิทยากร อยู่ในข้อ 8 (12)

ผู้ถาม เขียนต่อ ว่า เชิญวิทยากร ไม่มีค่าตอบแทนวิทยากร แต่ซื้อของที่ระลึกมอบให้วิทยากร ในโครงการเขียนไว้ว่าซื้อของที่ระลึกมอบให้วิทยากร
ผมตอบว่า ถึงแม้โครงการจะเขียนไว้ และโครงการได้รับอนุมัติแล้ว แต่ถ้าไม่มีระเบียบรองรับก็เบิกจ่ายไม่ได้ ต้องขอแก้ไขโครงการจากผู้อนุมัติโครงการ เปลี่ยนเป็นค่าสมนาคุณวิทยากรซึ่งวิทยากรต้องเซ็นชื่อรับเงินสมนาคุณเป็นหลักฐาน

การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...