18 มิถุนายน 2557

คณะกรรมการสถานศึกษา กรมบัญชีกลางแจ้งว่า ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0210.117/11047 ลงวันที่ 24 ต.ค.56 ซึ่งสรุปได้ว่า
1) คณะกรรมการและอนุกรรมการ ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ของเรา มีเพียง 2 คณะ คือ
- “คณะกรรมการส่งเสริมและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด” หมายถึง “คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด” 

(เดิม 1,200 เปลี่ยนเป็น 1,600 บาท)

- “คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย” แต่งตั้งโดยคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยส่วนกลาง 
(เดิม 800เปลี่ยนเป็น 1,000 บาท)

2) สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา กรมบัญชีกลางแจ้งว่า ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม จึงขอให้ชะลอการเบิกจ่ายไปก่อน จนกว่าจะได้รับแจ้งจากกรมบัญชีกลางต่อไป



วันที่ 18 เม.ย. ผมถามกลุ่มงานคลัง ( อ.ปนัดดา ) กับ กป. ( อ.สร้อยทิพย์ ) ได้รับคำตอบว่ายังเบิกจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการสถานศึกษาไม่ได้ ส่งบทบาทหน้าที่ไปให้กรมบัญชีกลางพิจารณาอยู่

อายุสูงสุดของผู้ สมัครเข้ารับการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการในสังกัดสำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2555 รายละเอียดดังแนบ


คู่มือการประเมินข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยาฐานะครูชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชียวชาญพิเศษ สายการสอน

คู่มือการประเมินข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยาฐานะครูชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชียวชาญพิเศษ สายการสอน

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๒

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน
พ.ศ. ๒๕๕๒

เพื่อ ให้การดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน มุ่งสร้างโอกาส และให้บริการการเรียนรู้อย่างหลากหลายวิธี สนองตอบความต้องการ และเสนอทางเลือกในการพัฒนาตนเองอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยยึดหลักการชุมชนเป็นรากฐานของการพัฒนา

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน ไว้ดังนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ?ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๒?

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
บรรดา ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หลักเกณฑ์หรือข้อตกลงอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
?หมู่ บ้าน? หมายความว่า บ้านหลายบ้านที่อยู่รวมกันในท้องถิ่นอันหนึ่งและอยู่ในความปกครองเดียวกัน ถ้ามีจำนวนบ้านน้อยให้ถือเอาจำนวนคนประมาณสองร้อยคนเป็นหนึ่งหมู่บ้านถ้ามี การตั้งบ้านเรือนห่างไกลกันถึงจำนวนจะน้อยถ้าบ้านไม่ต่ำกว่าห้าบ้านจะจัด เป็นหนึ่งหมู่บ้าน
?ตำบล? หมายความว่า ตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น และในกรณีที่ตำบลใดมีพื้นที่อยู่ทั้งในและนอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่นให้หมายความถึงเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่น
?ชุมชน? หมายความว่า หมู่บ้าน หรือชุมชนในเขตเทศบาล หรือกรุงเทพมหานคร
?ศูนย์ การเรียนรู้ชุมชน? หมายความว่า ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ การถ่ายทอด และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิทยาการตลอดจนภูมิปัญญาของชุมชน
?ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล? หมายความว่า ศูนย์การเรียนชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสาน งานกับศูนย์การเรียนชุมชนและหน่วยงานหรือองค์กรหรือกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในตำบล

ข้อ ๔ ศูนย์การเรียนชุมชน จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
(๑) เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต
(๒) เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
(๓) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน
(๔) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และจัดการศึกษาให้กับชุมชนเอง

ข้อ ๕ การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน
ศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขตแล้วแต่กรณี การประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน ให้พิจารณาถึงความพร้อมและความเหมาะสมของสถานที่ การมีส่วนร่วมของประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การคาดประมาณผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งศูนย์การเรียนชุมชนนั้นตั้งอยู่
ในตำบลหนึ่ง ๆ อาจจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนได้มากกว่าหนึ่งแห่ง ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงพื้นที่การให้บริการที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน
ศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขตคัดเลือกศูนย์การเรียน ชุมชนหนึ่งแห่ง โดยความเห็นชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยในตำบล
การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขต จัดทำเป็นประกาศของสถานศึกษา ส่วนการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลให้จัดทำเป็นประกาศของจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงนามในประกาศจัดตั้ง

ข้อ ๖ การยุบเลิกศูนย์การเรียนชุมชน
(๑) ศูนย์การเรียนชุมชน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนโดยจัดทำเป็นประกาศของสถานศึกษา
(๒) ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล โดยจัดทำเป็นประกาศของจังหวัด

ข้อ ๗ ศูนย์การเรียนชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้
(๑) ส่งเสริมและจัดการศึกษาพื้นฐาน
(๒) ส่งเสริมและจัดการศึกษาต่อเนื่อง
(๓) ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
(๔) ส่งเสริมกิจกรรม และกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

ข้อ ๘ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขตแล้วแต่กรณีต้อง จัดให้มีครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนเพื่อปฏิบัติงานประจำหนึ่งคน

ข้อ ๙ ศูนย์การเรียนชุมชนต้องจัดให้มีคณะกรรมการ ดังนี้
(๑) ศูนย์การเรียนชุมชน ประกอบด้วยผู้แทนในชุมชนนั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน โดยให้เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
(๒) ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ประกอบด้วยผู้แทนในชุมชนนั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน โดยให้เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และมีครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ
วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการตามข้อ ๙ (๑) และ (๒) คราวละสี่ปี นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชน ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แต่งตั้ง
คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง

ข้อ ๑๐ คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแผนการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน
(๒) จัดประชาสัมพันธ์งานศูนย์การเรียนชุมชน
(๓) จัดหาวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์พื้นฐานให้กับศูนย์การเรียนชุมชน
(๔) บริหารและจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน
(๕) กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน

ข้อ ๑๑ คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลมีหน้าที่ตามข้อ ๑๐ และยังมีหน้าที่เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
(๑) ประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับศูนย์การเรียนชุมชนแห่งอื่น ๆ ในตำบล
(๒) ประสานกับส่วนราชการในตำบลและเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
(๓) ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อนำแผนชุมชนในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาปฏิบัติ

ข้อ ๑๒ ศูนย์การเรียนชุมชนต้องมีอาคาร สถานที่ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับชุมชน

ข้อ ๑๓ ศูนย์การเรียนชุมชนจัดให้มีสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่จำเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน

ข้อ ๑๔ เกณฑ์มาตรฐาน การพัฒนา การประเมินมาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน ให้เป็นไปตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด

ข้อ ๑๕ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขตอาจจัดตั้งศูนย์ การเรียนชุมชนขึ้นในสถานประกอบการ ศาสนสถาน หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ตลอดจนบ้านของภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกก็ได้ ทั้งนี้ โดยใช้หลักเกณฑ์การดำเนินงานตามระเบียบนี้โดยอนุโลม

ข้อ ๑๖ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด

การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด
การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด มีความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องให้
ความร่วมมือในการเข้ารับการประเมิน เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ที่ ต้นสังกัดจะต้องติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี  ซึ่งสำนักงาน กศน.ได้พัฒนาระบบ วิธีการและขั้นตอนการประเมินขึ้น เริ่มดำเนินการประเมินเป็นปีแรก ในปีงบประมาณ 2554 การประเมินที่ผ่านมามีข้อค้นพบจากการวิจัย เรื่อง
แนวทางการนำรูปแบบการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยต้นสังกัด
ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาสำนักงาน กศน.จังหวัด และศูนย์ กศน.อำเภอ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าสถานศึกษาที่รับการประเมินต้องการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการ ขั้นตอนการประเมิน เพื่อจะได้เตรียมการรองรับการประเมินได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับการประเมินของคณะกรรมการประเมิน และเพื่อให้บรรลุ
ตามเจตนารมณ์ดังกล่าว โดยการให้การอบรมหรือจัดทำเป็นเอกสารแนวทางเพื่อเตรียมความพร้อม
ของตนเองในการรับการประเมินโดยต้นสังกัด และจากการประชุมเสนอผลการวิจัย ระหว่างวันที่
12 – 13 กรกฎาคม 2554 ณ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้
ที่ประชุมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โดยส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรมีการพัฒนาบุคลากรสถานศึกษาที่รับการประเมิน โดยจัดทำเอกสารแนวทางการ
รับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด เพื่อให้บุคลากรสถานศึกษาได้ศึกษาและนำไป
เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินโดยต้นสังกัด ดังนั้น สำนักงาน กศน.
จึงได้จัดทำเอกสารแนวทางการรับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ขึ้น

หวังว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นแนวทางให้แก่ผู้ปฏิบัติงานของสถานศึกษา กศน.อำเภอ
ได้ศึกษา ด้วยตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงความเป็นมา วิธีการขั้นตอนการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด และสามารถดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน นัดหมาย ผู้เกี่ยวข้อง ประสานงานกับผู้จัดกิจกรรมในพื้นที่ และดำเนินการต่าง ๆเพื่อให้การประเมินคุณภาพสถานศึกษา
โดยต้นสังกัด ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

ในการนี้ สำนักงาน กศน. ขอขอบคุณ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์) ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักวิชาการศึกษาที่เข้าร่วมประชุม พิจารณาตรวจสอบ ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปรับแก้ไขร่างแนวทางการรับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด สำหรับสถานศึกษา

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 
พ.ศ. ๒๕๕๑

โดย ที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน ในชุมชนเอง โดยเฉพาะการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อ ๒ ในระเบียบนี้ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  หมายความว่า บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและสมัครใจทำงานเพื่อสังคมในด้านการศึกษา โดยไม่รับค่าตอบแทนในหมวดเงินเดือนและได้รับการฝึกอบรมก่อนได้รับการแต่ง ตั้งให้เป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ศูนย์การเรียนชุมชน หมายความว่า สถานที่ ที่ชุมชนกำหนดหรือร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของชุมชน ซึ่งจัดขึ้นตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
?สถานศึกษา? หมายความว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต

ข้อ ๓ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรียกชื่อโดยย่อว่า อาสาสมัคร กศน. มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Non-Formal and Informal Education Volunteer และเรียกชื่อโดยย่อว่า NIEV

ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การดำเนินงานของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของแต่ละจังหวัด
(๒) ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการบริหารจัดการและการพัฒนาอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย
(๓) ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย ตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพ มหานครเสนอ
(๔) เพิกถอนการเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรณีในข้อ ๑๑ (๔)
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง

ข้อ ๕ ผู้ที่เป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๒) เป็นผู้ที่สมัครใจและเสียสละเพื่อช่วยเหลืองานการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน
(๓) เป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในหมู่บ้านหรือชุมชน
(๔) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและสามารถอ่านออก เขียนได้
(๕) เป็นบุคคลที่กรรมการหมู่บ้านหรือประชาชนรับรองว่าเป็นผู้ที่มีความประพฤติ อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี ได้รับความไว้วางใจและยกย่องจากประชาชน


ข้อ ๖ ในกรณีที่คุณสมบัติไม่ครบตามนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีโดยยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก

ข้อ ๗ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร อาจเสนอผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกิตติมศักดิ์ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีก็ได้

ข้อ ๘ การกำหนดจำนวนอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กำหนดจากจำนวนหลังคาเรือนในชุมชนจำนวนไม่เกินห้าสิบหลังคาเรือน มีอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหนึ่งคน ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา แล้วรายงานให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด หรือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีทราบ

ข้อ ๙ วิธีการสรรหา คัดเลือก อบรมและแต่งตั้ง ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้สถานศึกษา ร่วมกับชุมชนดำเนินการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๕ เพื่อเข้ารับการอบรมและแต่งตั้งเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย
(๒) ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและสำนัก งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จัดให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ ๙ (๑) เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด**
(๓) ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและสำนัก งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ผ่านการอบรมเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และออกบัตรประจำตัวให้ตามแบบที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย กำหนด

ข้อ ๑๐ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีาระการดำรงตำแหน่งครั้งละสามปี

ข้อ ๑๑ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สิ้นสุดสภาพเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้
(๔) มีความประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีเห็นว่าทำความเสื่อมเสียต่อเกียรติของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ข้อ ๑๒ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีดังนี้
(๑) เสนอความต้องการในการเรียนรู้ของประชาชน โดยประสานงานกับครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน
(๒) ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ของประชาชน
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
(๔) ร่วมกับครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนในการติดตามผลและดูแลการจัดกิจกรรมการศึกษาในชุมชน
(๕) ส่งเสริมสนับสนุน การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของประชาชนในชุมชน

ข้อ ๑๓ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อาจได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ ตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด

ข้อ ๑๔ สิทธิประโยชน์ที่อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจะได้รับมีดังนี้
(๑) สิทธิที่จะได้รับการบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามประกาศ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(๒) สิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามที่กระทรวงการคลัง กำหนด
(๓) สิทธิที่จะได้รับเกียรติคุณและรางวัล ตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
(๔) สิทธิที่จะได้รับการศึกษา อบรม พัฒนาที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดโดยเบิกค่าใช้จ่ายได้ ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้

ข้อ ๑๕ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต สามัคคี รักษามาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีความเสียสละ และใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่เสมอ

ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
และ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จัดทำรายงานการฏิบัติงานของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีเป็นประจำทุกปีงบประมาณ

ข้อ ๑๗ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑


ศรีเมือง เจริญศิริ 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงิน หลักสูตรระยะสั้น (การศึกษาต่อเนื่อง)

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงิน หลักสูตรระยะสั้น (การศึกษาต่อเนื่อง)




หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนหลักสูตรระยะสั้น ให้กับข้าราชการ ลูกจ้างสำนักงาน กศน. นอกเวลาราชการ และ ข้าราชการลูกจ้าง สังกัด อื่นๆ (ประกาศ 11 ม.ค.54 นายเฉลี่ยว สีมารักษ์)


1.ผู้เรียนต่ำกว่า 6 คน ชั่วโมงละไม่เกิน 50 บาท
2.ผู้เรียนต่ำกว่า 6-10 คน ชั่วโมงละไม่เกิน 100 บาท
3.ผู้เรียน 11 คน ขึ้นไป ชั่วโมงละไม่เกิน 200 บาท


หลักเกณฑ์ค่าเหมาจ่ายในการบริหารจัดการเรียนการสอนนอกโรงเรียนของพัธมิตร/ภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน หลักสูตรระยะสั้น

1.เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวจากเดิมชั่วโมงละ 7 บาท เป็น 10 บาท
2.ปรับหลักสูตรจากเดิมไม่เกิน 100 ชั่วโมง เป็นตั้งแต่ 30-100 ชั่วโมง
3.การโอนเงินจากเดิมให้โอนครั้งเดียว เปลี่ยนเป็นโอน 2 งวด คือ
3.1 งวดที่ 1 ให้จ่ายเมื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนไปแล้ว 50% ของหลักสูตร
3.2 งวดที่ 2 ให้จ่ายเมื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนจบหลกสูตรอีก 50%

หลักเกณฑ์ค่าสมนาคุณให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความรู้ในแหล่งประกอบการเป็นเวลา ครั้งละไม่เกิน 3 ชั่วโมง ในอัตราครั้งละไม่เกิน 1500 บาท
- ค่าสาธารณูปโภคได้เท่าที่จ่ายจริงโดยใช้หลักฐานการจ่ายเป็นหลักฐานประกอบในการเบิก
- ค่าวัสดุ อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการในการพิจารณาเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด เพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่ต้องข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง

กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย พ.ศ. 2555

กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย พ.ศ. 2555

กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ฉ.2)



17 มิถุนายน 2557

แบบสำรวจแหล่งข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพ กศน.อำเภอ(ม.3)

แบบสำรวจแหล่งข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพ กศน.อำเภอ



คู่มือประกันคุณภาพ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

คู่มือประกันคุณภาพ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย


เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้อยู่เวร-ยามและผู้ตรวจเวร-ยาม รักษาความปลอดภัย

เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้อยู่เวร-ยามและผู้ตรวจเวร-ยาม รักษาความปลอดภัย           

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดวางและประเมินผลระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง

คำสั่ง กศน.อำเภอ.............ที่............./ ๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดวางและประเมินผลระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง

ประกาศสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรื่อง ปรับเกณฑ์การวัดและประเมินผล และการกำหนดระยะเวลาในการมีสิทธิ์เข้าสอบปลายภาคเรียน หลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


ซักซ้อมความเข้าใจในการงดรับนักเรียนในระบบโรงเรียนเข้าเรียนในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน และนักศึกษาที่จบหลักสูตรแล้วมาขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่

นักศึกษาเรียนจบ ม.ปลาย ไปแล้ว ไม่สามารถลงเรียนใหม่ได้

"ถ้าสถานศึกษาใดมิได้ปฏิบัติ หากมีความผิดพลาดใด ๆ เกิดขึ้น ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติจะต้องรับผิดชอบ และถือเป็นความบกพร่องในการปฏิบัติงาน"



การถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์

การถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ ถ่ายหน้าเดียวได้



16 มิถุนายน 2557

บทบาทภารกิจของครูอาสาสมัคร กศน.


การเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ซ้อมความเข้าใจการดำเนินงานและการเก็บเงินห้องสมุดของสถานศึกษาในสังกัด


ซ้อมความเข้าใจในการเบิกจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนครูผู้สอนในสังกัด สำนักงาน กศน.



ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548

ตารางกำหนดจำนวนเจ้าหน้าที่และกรรมการดำเนินการสอบ



หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าชดเชยสนามสอบ

ค่าใช้จ่ายค่าบำรุงสนามสอบ



แนวทางการดำเนินงาน ASEAN (ศูนย์ภาษาอาเซียน) กศน.เขต/อำเภอ

แนวทางการดำเนินงาน ASEAN (ศูนย์ภาษาอาเซียน)กศน.เขต/อำเภอ

แผนปฏิบัติงานและแนวปฏิบัติการประเมินเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน



15 มิถุนายน 2557

ระเบียบกระทรวจศึกษาธิการว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง พ.ศ.2553





ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ.2552





มาตรฐานตำแหน่ง ครูผู้ช่วย



หนังสือสำนักงาน กศน.ด่วนที่สุด ที่ศว0210.03/4890 เรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1.ผู้เรียน 60 คน
2.สอน 9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
3.กพช. 200 ชั่วโมง
4.ครู กศน.ครบทุกตำบล


ตารางเงินเดือนแรกบรรจุ ข้าราชการ 1 ม.ค.56, 1 ม.ค.57

ตารางเงินเดือนแรกบรรจุ ข้าราชการ 1 ม.ค.56 เปรียบเทียบ 1 ม.ค.57

แบบคำร้องขอโอนย้ายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน.

แบบคำร้องขอโอนย้ายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน.


เรื่อง ทบทวนแผนการลงทะเบียนเรียนรายวิชาบังคับในภาคเรียนที่ 2/2553


ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวจศึกษาธิการ : เพิ่มจำนวนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551


การจัดตั้งกลุ่มที่ 2

หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...