รวมความรู้ กศน.,คำสั่ง กศน.,นโยบาย กศน.,ข้อมูลน่ารู้จาก FB กลุ่มครูนอกระบบ และสาระความรู้ที่มีประโยชน์จากประสบการณ์และอื่น ๆ
21 กรกฎาคม 2557
5 กรกฎาคม 2557
การเบิกค่าชุมชุมลูกเสือ
การเบิกค่าชุมชุมลูกเสือ
1.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ/ชุมนุมลูกเสือ กศน.
1.1 ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาเบิกเงินของทางราชการได้ สำหรับ นักศึกษา.กศน.
- ค่าพาหนะรถจ้างเหมา สำหรับพา นศ.เข้าร่วมกิจกรรม (เบิกตามระเบียบพัสดุ แนบโครงการด้วย)
- ค่าอาหาร กรณี กศน.อำเภอจัดโครงการเอง สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบ ค่าเช่าที่พัก จ่ายจริง แนบใบเสร็จรับเงิน
ส่วนกรณีการชุมชนลูกเสือ กศน.ที่ค่ายวชิราวุธ จ.ชลบุรี โครงการได้จัดอาหารพร้อมที่พักไว้เรียบร้อยแล้ว
1.2 ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเบิกได้ สำหรับนักศึกษา คือ ค่าเบี้ยเลี้ยง
1.3 ค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับ ผู้บริหาร กศน./ครูผู้ดูแล นักศึกษา
- สำหรับครู เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงในวันเดินทาง / ค่าที่พัก พักจริง จ่ายจริง แนบใบเสร็จ
กรณี จำเป็นต้องพักระหว่างเดินทาง / ส่วนในระหว่างชุมนุมลูกเสือ อยู่ในโครงการ พักกับนักศึกษา จะเบิกค่าที่พักไม่ได้
- ผู้บริหาร เบิกเบี้ยเลี้ยงได้ทุกวัน เพราะไม่ได้อยู่ในโครงการ / ค่าที่พัก พักจริง จ่ายจริง แนบใบเสร็จ / นอนเดี่ยว เบิกได้ไม่เกิน 1,200 บาท / นอนคู่เบิกได้ไม่เกิน 750 บาท
-ค่าพาหนะ เบิกได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยประหยัด
1.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ/ชุมนุมลูกเสือ กศน.
1.1 ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาเบิกเงินของทางราชการได้ สำหรับ นักศึกษา.กศน.
- ค่าพาหนะรถจ้างเหมา สำหรับพา นศ.เข้าร่วมกิจกรรม (เบิกตามระเบียบพัสดุ แนบโครงการด้วย)
- ค่าอาหาร กรณี กศน.อำเภอจัดโครงการเอง สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบ ค่าเช่าที่พัก จ่ายจริง แนบใบเสร็จรับเงิน
ส่วนกรณีการชุมชนลูกเสือ กศน.ที่ค่ายวชิราวุธ จ.ชลบุรี โครงการได้จัดอาหารพร้อมที่พักไว้เรียบร้อยแล้ว
1.2 ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเบิกได้ สำหรับนักศึกษา คือ ค่าเบี้ยเลี้ยง
1.3 ค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับ ผู้บริหาร กศน./ครูผู้ดูแล นักศึกษา
- สำหรับครู เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงในวันเดินทาง / ค่าที่พัก พักจริง จ่ายจริง แนบใบเสร็จ
กรณี จำเป็นต้องพักระหว่างเดินทาง / ส่วนในระหว่างชุมนุมลูกเสือ อยู่ในโครงการ พักกับนักศึกษา จะเบิกค่าที่พักไม่ได้
- ผู้บริหาร เบิกเบี้ยเลี้ยงได้ทุกวัน เพราะไม่ได้อยู่ในโครงการ / ค่าที่พัก พักจริง จ่ายจริง แนบใบเสร็จ / นอนเดี่ยว เบิกได้ไม่เกิน 1,200 บาท / นอนคู่เบิกได้ไม่เกิน 750 บาท
-ค่าพาหนะ เบิกได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยประหยัด
ขอบคุณข้อมูล อ.เอกชัย ยุติศรี
2 กรกฎาคม 2557
สรุปสาระการประชุม วันที่ 10/6/57 โดยเลขาธิการ กศน
สรุปสาระการประชุม วันที่ 10/6/57 โดยเลขาธิการ กศน.ประธาน
1. ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ปรับงบเพื่อใช้การขับเคลื่อนนโยบายสร้างความรัก สามัคคีปรองดองและสมานฉันท์
2. ซีดีเดินหน้าประเทศไทย นำไปมอบบ้านหนังสืออัจฉริยะ และทุกหมู่บ้าน ให้ถึงภายใน 1 สัปดาห์
3. ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย นำร่องแต่ละ จ. หารือ กกต.จ.ต้องมีอะไรบ้าง ให้นำ กศน.ตำบลไปศึกษาดูงานที่ตำบลนำร่อง
4. มอบหมาย กศน.ตำบล สอนวิชาหน้าที่พลเมือง ประวัติศาสตร์
5. โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ 60 พรรษา
. . 5.1 ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี ครบ 100 แห่งภายในปี 2558
. . 5.2 ประชุมวิชาการ กพด.
. . 5.3 ศว.ร้อยเอ็ด
. . 5.4 ยุวกาชาด กศน.
. . 5.5 สร้างป่า สร้างรายได้ ( เชียงใหม่/แม่ฮ่องสอน/ตาก/น่าน เจ้าภาพ )
. . 5.6 ให้ครูสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เริ่มเทอมนี้เลย
6. การจัดงานชุมนุมลูกเสือ กศน.ครั้งที่ 2 วันที่ 17-21 กค 57
7. สุดยอดกศน.ชิงชนะเลิศ 23 กค 57 ณ เมืองทองธานี
8. มหกรรมกีฬากศน.เกมส์ 5-7 กย 57 เปิด 6 ปิด 7
9. งานเกษียณ
10. งานรับเข็ม
11. การคัดเลือก กศน.ดีเด่น มอบโล่ 4 มีค.58 ต้องผ่าน 70%
12. 20 มิย.58 ทำ MOU เรื่องพลังงาน ที่มิราเคิลแกรนด์ เวลา 08.00 น. ผอ.จ.มาร่วมทุกคน
13. การสอนภาษาสู่อาเชียนเพื่อความปรองดอง
14. ออกข้อสอบผู้บริหาร 3 กค. ศูนยวิทยรังสิต วันที่ 6 บ่ายสองเสร็จภารกิจ ( สอบ 6 กค.)
15. ดูงาน ออสเตรเลีย/นิวซีแลน ประมาณ 15 สค. 57 .....
ที่มา : สรุปโดยผู้เข้าประชุมคนหนึ่ง
........................................................
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กล่าวว่า กศน.ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการ 4 เรื่อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย คือ
1.ให้ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจัดสอนอาชีพให้แก่ประชาชนให้ประกอบอาชีพและมีรายได้ได้ด้วย
1. ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ปรับงบเพื่อใช้การขับเคลื่อนนโยบายสร้างความรัก สามัคคีปรองดองและสมานฉันท์
2. ซีดีเดินหน้าประเทศไทย นำไปมอบบ้านหนังสืออัจฉริยะ และทุกหมู่บ้าน ให้ถึงภายใน 1 สัปดาห์
3. ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย นำร่องแต่ละ จ. หารือ กกต.จ.ต้องมีอะไรบ้าง ให้นำ กศน.ตำบลไปศึกษาดูงานที่ตำบลนำร่อง
4. มอบหมาย กศน.ตำบล สอนวิชาหน้าที่พลเมือง ประวัติศาสตร์
5. โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ 60 พรรษา
. . 5.1 ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี ครบ 100 แห่งภายในปี 2558
. . 5.2 ประชุมวิชาการ กพด.
. . 5.3 ศว.ร้อยเอ็ด
. . 5.4 ยุวกาชาด กศน.
. . 5.5 สร้างป่า สร้างรายได้ ( เชียงใหม่/แม่ฮ่องสอน/ตาก/น่าน เจ้าภาพ )
. . 5.6 ให้ครูสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เริ่มเทอมนี้เลย
6. การจัดงานชุมนุมลูกเสือ กศน.ครั้งที่ 2 วันที่ 17-21 กค 57
7. สุดยอดกศน.ชิงชนะเลิศ 23 กค 57 ณ เมืองทองธานี
8. มหกรรมกีฬากศน.เกมส์ 5-7 กย 57 เปิด 6 ปิด 7
9. งานเกษียณ
10. งานรับเข็ม
11. การคัดเลือก กศน.ดีเด่น มอบโล่ 4 มีค.58 ต้องผ่าน 70%
12. 20 มิย.58 ทำ MOU เรื่องพลังงาน ที่มิราเคิลแกรนด์ เวลา 08.00 น. ผอ.จ.มาร่วมทุกคน
13. การสอนภาษาสู่อาเชียนเพื่อความปรองดอง
14. ออกข้อสอบผู้บริหาร 3 กค. ศูนยวิทยรังสิต วันที่ 6 บ่ายสองเสร็จภารกิจ ( สอบ 6 กค.)
15. ดูงาน ออสเตรเลีย/นิวซีแลน ประมาณ 15 สค. 57 .....
ที่มา : สรุปโดยผู้เข้าประชุมคนหนึ่ง
........................................................
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กล่าวว่า กศน.ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการ 4 เรื่อง เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย คือ
1.ให้ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจัดสอนอาชีพให้แก่ประชาชนให้ประกอบอาชีพและมีรายได้ได้ด้วย
2.ให้บ้านหนังสืออัจฉริยะที่มีอยู่ 41,800 แห่ง ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ
3.ให้ปรับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งประจำตำบล เป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งเพื่อความปรองดอง เพื่อสอนเนื้อหาการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงวิชาหน้าที่พลเมือง ให้แก่ประชาชน
4.ให้ กศน.ตำบลรับผิดชอบการทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งต้องเข้าค่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเน้นเนื้อหาเรื่องการสร้างความรัก ความสามัคคีปรองดองและสนามฉันท์ รวมถึงสอนเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองและประวัติศาสตร์ชาติไทย
ซึ่งได้มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงาน กศน.ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรระดับ ม.ต้น ม.ปลาย ให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ชัดเจนมากขึ้น โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน จากนั้นให้นำขึ้นเว็บไซต์เพื่อให้ กศน.ตำบลดาวน์โหลดไปใช้จัดการเรียนการสอนก่อน
โดยภาคเรียนนี้จะยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนแบบเรียน แต่จะปรับเปลี่ยนในภาคเรียนหน้า
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
"การรักษาราชการแทน" "รักษาการในตำแหน่ง"
คำว่า "การรักษาราชการแทน" เป็นถ้อยคำที่ใช้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ในหมวด ๕ ตั้งแต่มาตรา ๔๘ ถึงมาตรา ๕๔ โดยบทบัญญัติในมาตราต่างๆ ดังกล่าวได้กล่าวถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายได้กำหนดให้มีตำแหน่งใดบ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นผู้รักษาราชการแทนในกรณีดังกล่าวนั้นได้ เริ่มตั้งแต่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ(มาตรา ๔๘) ไปจนถึงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา(ตามมาตรา ๕๔) ส่วนคำว่า "รักษาการในตำแหน่ง" เป็นถ้อยคำที่ใช้ในมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้กล่าวถึงกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งใดว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ก็ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไป "รักษาการในตำแหน่ง" นั้นได้ ปัญหาว่า เมื่อใดจะใช้คำว่า "รักษาราชการแทน" หรือ "รักษาการในตำแหน่ง" ถ้าดูในบทบัญญัติมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ใช้ถ้อยคำความตอนต้นว่า "ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ..." โดยนัยดังกล่าวก็คือ ต้องไปดูกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการก่อนว่า ตำแหน่งใดบ้างที่กฎหมายกำหนดให้ "รักษาราชการแทน" ได้ เช่น กรณีตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายกำหนดให้รองผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้รักษาราชการแทน แต่ถ้าไม่มีตำแหน่งใดที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการกำหนดไว้ เช่น กรณีตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้กำหนดให้มีการรักษา ราชการแทนในตำแหน่งนี้ไว้ กรณีนี้ก็ต้องใช้ "รักษาการในตำแหน่ง" ตามมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทาง การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้น... ........................................................................ เอกศักดิ์ คงตระกูล รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย สำนักงาน ก.ค.ศ.
1 กรกฎาคม 2557
การรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน
การรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน
--------------------------------------------------------------------------------
ในหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานนั้น ย่อมจะมีผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่แตกต่าง กันในงานหลายด้าน และผู้ที่มีอำนาจเหล่านั้นก็เป็นเฉกเช่นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ที่ย่อม จะต้องมีการเจ็บป่วย มีกิจส่วนตัว หรือมีความจำเป็นบางอย่างทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานใน หน้าที่ของตนได้ ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการกฎหมายจึงกำหนดให้มีการ มอบอำนาจกันได้ ในการมอบอำนาจนั้น ก็มักจะมีคำ 2 คำ ที่ใช้กันคือ 1.ปฏิบัติราชการแทน และ 2. รักษาราชการแทน
ซึ่งคำทั้ง 2. คำดังกล่าวมีกรณีให้ใช้ไม่เหมือนกัน ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าจะใช้คำ เหล่านี้กับกรณีอย่างไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งหลายท่านคาดว่าเรื่องดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นเพียง
งานสารบรรณเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วมีความสำคัญเป็นการแสดงถึงที่มาของ การใช้อำนาจแทนกัน ซึ่งจะได้อธิบายดังนี้ คำ 2 คำดังกล่าวข้างต้นปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งหน่วยงานทางราชการต่างๆ ต้องถือปฏิบัติเป็นกฎหมายแม่บท หากไม่ มีกฎหมายเฉพาะ หรือหากมีแล้วขัดแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ก็ต้องใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับ
การปฏิบัติราชการแทน อยู่ในหมวด 5 ตั้งแต่มาตรา 38 ถึงมาตรา 40 เกิดขึ้นใน กรณีที่ผู้ใช้อำนาจเดิมนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่แต่เห็นว่าการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นแล้ว เป็นการทำให้เกิดความรวดเร็ว กระจายความรับผิดชอบ และสะดวกแก่ประชาชน ซึ่งในการ มอบอำนาจนี้จะคงมีอยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการถอนคืนอำนาจนั้น โดยมีความคิดเห็นของนัก นิติศาสตร์ในขณะนี้เป็นสองฝ่ายฝ่ายที่ 1 เห็นว่าระหว่างที่มอบอำนาจนั้นเจ้าของอำนาจเดิมก็ ยังคงมีอำนาจนั้นอยู่เพียงแต่เป็นลักษณะการกระจายผู้ใช้อำนาจความเห็นได้รับการสนับสนุน จากคณะกรรมการกฤษฎีกา ฝ่ายที่ 2 เห็นว่าเมื่อมอบแล้วเจ้าขอเดิมหมดอำนาจลงทันทีเพราะ ป้องกันการใช้อำนาจซ้อน อำนาจซ้ำ ฝ่ายนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักกฎหมายมหาชนใน ประเทศไทย อย่างไรก็ตามในขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติในเรื่องดังกล่าว
การรักษาราชการแทน อยู่ในหมวด 6 ตั้งแต่มาตราที่ 41 ถึงมาตราที่ 50 เกิดขึ้น ในกรณีที่ไม่มีผู้มาดำรงตำแหน่งและกรณีที่มีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายจึงให้มีผู้รักษา ราชการแทน ซึ่งการรักษาราชการแทนนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายทันที โดยไม่จำเป็นต้องทำ เป็นคำสั่งหรือหนังสือแต่งตั้งอีก และเมื่อมีผู้มาดำรงตำแหน่งแล้วหรือมาปฏิบัติหน้าที่ ได้แล้วการ รักษาราชการแทนสิ้นสุดลง 2
ตัวอย่าง
การปฏิบัติราชการแทนนายกฯ ใช้ในกรณีที่นายกฯ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่ เพียงแต่เพื่อความเหมาะสมจึงมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน อยู่ในวรรคห้า ของมาตรา 60 ได้แก่
มอบอำนาจให้รองนายกฯ การมอบในกรณีนี้ต้องทำเป็นหนังสือไม่ต้องทำ เป็นคำสั่งก็ได้ แต่หากจะทำเป็นคำสั่งก็ใช้ได้เพราะคำสั่งก็เป็นหนังสือเช่นกัน
มอบอำนาจให้ปลัด อบต. หรือรองปลัด อบต. การมอบในกรณีนี้ต้องทำเป็น คำสั่งอย่างเดียวเท่านั้นและต้องประกาศให้ประชาชนทราบด้วย ซึ่งในทาง ปฏิบัติแล้วหากมีรองนายกอยู่ควรมอบให้รองนายกก่อน เว้นแต่ความ เหมาะสมเฉพาะกรณี
ทั้งสองกรณีนี้แม้จะเป็นการมอบอำนาจแต่ผู้รับมอบก็ต้องปฏิบัติตามโดยถือ เสมือนเป็นเช่นคำสั่งภายในจะปฏิเสธไม่รับมอบไม่ได้ และใช้คำว่าปฏิบัติราชการแทน
การรักษาราชการแทน ใช้ในกรณีที่นายกฯไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่ง หมายความรวมถึงไม่อยู่ด้วย อยู่ในวรรคสองของมาตรา 60 ได้แก่
ให้รองนายกฯ รักษาการแทนเป็นลำดับแรก ในกรณีที่มีหลายคนต้องมีคำสั่ง แต่งตั้งผู้รักษาการตามลำดับ
อบต.นั้นซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
และในกรณีไม่มีตำแหน่งรองปลัดให้นายกฯแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลที่ดำรง ตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการ
ข. ในกรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง(คือมีตำแหน่งแต่ไม่มีคน) ผู้อำนวยการกอง หรือ หัวหน้าส่วนราชการ ให้นายกฯ แต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลในกองหรือส่วนราชการนั้น เป็นผู้รักษา ราชการแทน หรือจะแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลนอกกองหรือสวนนั้นก็ได้ ในกรณีนี้จะแต่งตั้งได้ เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนเท่านั้น
*ข้อสังเกต การรักษาราชการแทนในกรณีผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วน ราชการตามข้อ ข. นั้นแตกต่างจากข้อ ก.การรักษาราชการแทนปลัดฯ คือตามประกาศระบุเฉพาะ กรณีที่มีตำแหน่งแต่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเท่านั้น หากมีผู้ดำรงตำแหน่งแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการ ได้ เห็นว่านายกฯจะแต่งตั้งให้ผู้ใดรักษาการก็ได้ แต่หากจะใช้การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการ แทน ก็ได้เช่นกัน (และการมอบในกรณีนี้อาจเป็นใบลาก็ได้) และตามข้อ ก.และ ข.นั้น ก็มีข้อสังเกต เพิ่มเติมคือ 3
1. ผู้รักษาราชการแทน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
2. ผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบอำนาจหรือ มอบหมาย
และหากโดยตำแหน่งแล้วผู้ซึ่งตนแทน หรือผู้ที่มอบออำนาจหรือมอบหมายเป็น กรรมการใด โดยตำแหน่ง ผู้รักษาราชการแทน และผู้ปฏิบัติราชการแทนก็เป็นกรรมการนั้นด้วย และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันทุกประการไม่ต้องเปลี่ยนคำสั่งแต่งตั้งกรรมการในเรื่องนั้น
*สำหรับ เฉพาะการรักษาราชการแทน นายกฯ อาจแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลอื่น ที่เห็นว่าเหมาะสมแตกต่างจากที่ระบุไว้ข้างต้นก็ได้
การรักษาการ เกิดขึ้นได้ในสองกรณี
1. กรณีที่ตำแหน่งพนักงานส่วนตำบลในตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งปลัด ฯ ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการ ว่างลง
2. หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามข้อ 1. ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ทั้งสองกรณีดังกล่าวข้างต้นหากมิได้มีการกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทน และรักษาการแทน นายกฯมีอำนาจสั่งให้พนักงานส่วนตำบลที่เห็นสมควรเป็นผู้ รักษาการ
*หากมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือมีคำสั่งภายในกันไว้อย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์นั้น
ข้อสังเกต ในกรณีมีตำแหน่งแต่ไม่มีผู้มาดำรงตำแหน่งสำหรับพนักงานส่วน ตำบลอื่นตามข้อ 1. ก็ใช้การ รักษาการ
กล่าวโดยสรุปในองค์การบริหารส่วนตำบลแยกพิจารณาออกเป็นสองส่วน
1. ส่วนผู้บริหาร(นายก อบต.ฯ) ใช้อยู่สามกรณีคือ ปฏิบัติราชการแทน ,รักษา ราชการแทน, และปฏิบัติหน้าที่แทน
2. ส่วนพนักงานส่วนตำบลใช้สามกรณีเช่นกันคือ ปฏิบัติราชการแทน, รักษา ราชการแทน,และรักษาการ
และการรักษาราชการในกรณีผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการนั้น ใช้ใน กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น และใช้ในกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ด้วย หรืออาจใช้การ มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนไว้ล่วงหน้าก็ได้ คือการมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ พนักงานส่วนตำบลในกองหรือส่วนราชการนั้น(ใบลาก็ใช้ได้) 4
การรักษาราชการแทน หมายถึง การให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งหนึ่ง มีอำนาจ หน้าที่และรับผิดชอบ ในตำแหน่งอื่น อีกเป็นการชั่วคราว กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น หรือมี แต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้รักษาราชการแทน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
การปฏิบัติราชการแทน หมายถึง การมอบอำนาจสั่งการ การอนุมัติ การอนุญาต ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้แก่ผู้อื่น เป็นผู้ปฏิบัติงานแทนตน โดยต้องทำเป็นหนังสือ (ลายลักษณ์อักษร)
เมื่อมีการมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ จะมอบต่อให้ผู้อื่นไม่ได้ ยกเว้น มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการ จังหวัด ผู้ว่าฯ จะมอบอำนาจต่อไปให้กับรองผู้ว่าฯ ก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้มอบอำนาจทราบ หากผู้ว่าฯ จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ให้กระทำได้โดยต้องได้รับความ เห็นชอบจาก ผู้มอบอำนาจก่อน
ผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจหน้าที่ในคณะกรรมการ ต่างๆ เช่นเดียวกับ ผู้ดำรงตำแหน่ง นั้น ๆ ถ้าตำแหน่งใด ๆ ไม่มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เช่น ผู้ตรวจราชการ เสมียนตราจังหวัด ปลัดอำเภอ เมื่อไม่มีผู้ดำรง ตำแหน่งนั้น ๆ จะให้มีผู้ทำการแทนจะต้องออกคำสั่ง ให้ข้าราชการพลเรือน เป็นผู้ รักษาการใน ตำแหน่ง
การพิจารณาจัดลำดับอาวุโสในราชการ ตามที่ ก.พ. เคยกำหนดไว้ มีดังนี้
(1) ตำแหน่งเดียวกัน คนมีซีสูงกว่า เป็นผู้มีอาวุโสกว่า
(2) หากระดับเดียวกัน ผู้ใดได้รับแต่งตั้งในระดับนั้นก่อน ถือว่าอาวุโสกว่า
(3) หากได้รับแต่งตั้งในระดับนั้น ๆ พร้อมกัน ให้ผู้มีเงินเดือนมากกว่า เป็นผู้มีอาวุโสสูงกว่า
(4) หากเงินเดือนเท่ากัน ให้ผู้มีอายุราชการมากกว่า เป็นผู้อาวุโสสูงกว่า
(5) หากอายุราชการเท่ากัน ให้พิจารณาจากเครื่องราชฯ
(6) หากเครื่องราชฯ เท่ากัน ให้ดูอายุ ใครแก่กว่า อาวุโสกว่า
มีปัญหาสงสัยคาใจกันมานานกับคำว่า "ปฏิบัติราชการแทน" และคำว่า "รักษา ราชการแทน" ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 และหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ว่าในโอกาสใดจะใช้คำว่า "ปฏิบัติราชการแทน" และในโอกาสใด จะใช้คำว่า "รักษาราชการแทน" ซึ่งปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติราชการอยู่ มิใช่น้อย
คำว่า "ปฏิบัติราชการแทน" หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบอำนาจในการ บริหารราชการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติราชการแทน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการ การอนุญาต การ 5
การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นเรื่องของการกระจายความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้งานของราชการมีความคล่องตัว สามารถให้บริการสนองตอบต่อ ประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และทำให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ผู้อำนวยการสถานศึกษาเห็นว่าตนมีภารกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นอันมาก จึงต้องมอบอำนาจให้ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาปฏิบัติราชการแทนในเรื่องบางเรื่อง เช่น การอนุมัติการลา หรือการเบิก เงินสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น
ในการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนดังกล่าว จะต้องทำเป็นหนังสือแสดงการ มอบอำนาจว่าให้ปฏิบัติราชการแทนในเรื่องใด และที่สำคัญแม้ว่าผู้มอบอำนาจจะได้มอบอำนาจ ของตนให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทนแล้วก็ตาม แต่ผู้มอบอำนาจก็ยังคงต้องรับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบ ดูแล และแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจให้เป็นไปโดยถูกต้องอยู่เสมอ มิเช่นนั้นแล้วผู้มอบอำนาจก็ยังคงต้องรับผิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้รับมอบอำนาจให้ ปฏิบัติราชการแทนได้ก่อให้เกิดขึ้น
สำหรับคำว่า "การรักษาราชการแทน" นั้นหมายถึง กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจ ได้มีการแต่งตั้งให้บุคคลใดบุคคล หนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดเข้าไปรักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้น เช่น กรณีในสถานศึกษาที่ไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายกำหนดให้รอง ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้รักษาราชการแทน แต่ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือมีแต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ก็ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการใน สถานศึกษาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนได้ จะเห็นได้ว่าการเข้าไปรักษาราชการแทน ดังกล่าว เป็นการเข้าไปกระทำการในตำแหน่งแทนผู้ทรงอำนาจในขณะที่ผู้ทรงอำนาจนั้นไม่อยู่ หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งการเข้าไปกระทำการแทนในลักษณะดังกล่าวนั้น ทำให้ผู้ ที่เข้าไปกระทำการแทนมีอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งนั้นเสมือนกับผู้ทรงอำนาจซึ่งตนแทนทุก ประการ มีข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือว่า ในการรักษาราชการแทนดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นไป ตามที่กฎหมายกำหนดหรือได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจให้รักษาราชการแทน จึงจะทำให้ผู้นั้นมี อำนาจเช่นเดียวกันกับผู้ทรงอำนาจที่ตนเข้าไปแทน มิเช่นนั้นแล้วการเข้าไปรักษาราชการแทน ดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นการรักษาประโยชน์ของทางราชการก็ตาม การกระทำนั้นย่อมไม่มีผลผูกพัน ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการ "ปฏิบัติราชการแทน" หรือการ "รักษาราชการแทน" ย่อมล้วนแล้วแต่เป็นการเข้าไปใช้อำนาจของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งการใช้อำนาจ 6
--------------------------------------------------------------------------------
ในหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานนั้น ย่อมจะมีผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่แตกต่าง กันในงานหลายด้าน และผู้ที่มีอำนาจเหล่านั้นก็เป็นเฉกเช่นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ที่ย่อม จะต้องมีการเจ็บป่วย มีกิจส่วนตัว หรือมีความจำเป็นบางอย่างทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานใน หน้าที่ของตนได้ ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการกฎหมายจึงกำหนดให้มีการ มอบอำนาจกันได้ ในการมอบอำนาจนั้น ก็มักจะมีคำ 2 คำ ที่ใช้กันคือ 1.ปฏิบัติราชการแทน และ 2. รักษาราชการแทน
ซึ่งคำทั้ง 2. คำดังกล่าวมีกรณีให้ใช้ไม่เหมือนกัน ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าจะใช้คำ เหล่านี้กับกรณีอย่างไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งหลายท่านคาดว่าเรื่องดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นเพียง
งานสารบรรณเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วมีความสำคัญเป็นการแสดงถึงที่มาของ การใช้อำนาจแทนกัน ซึ่งจะได้อธิบายดังนี้ คำ 2 คำดังกล่าวข้างต้นปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งหน่วยงานทางราชการต่างๆ ต้องถือปฏิบัติเป็นกฎหมายแม่บท หากไม่ มีกฎหมายเฉพาะ หรือหากมีแล้วขัดแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ก็ต้องใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับ
การปฏิบัติราชการแทน อยู่ในหมวด 5 ตั้งแต่มาตรา 38 ถึงมาตรา 40 เกิดขึ้นใน กรณีที่ผู้ใช้อำนาจเดิมนั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่แต่เห็นว่าการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นแล้ว เป็นการทำให้เกิดความรวดเร็ว กระจายความรับผิดชอบ และสะดวกแก่ประชาชน ซึ่งในการ มอบอำนาจนี้จะคงมีอยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการถอนคืนอำนาจนั้น โดยมีความคิดเห็นของนัก นิติศาสตร์ในขณะนี้เป็นสองฝ่ายฝ่ายที่ 1 เห็นว่าระหว่างที่มอบอำนาจนั้นเจ้าของอำนาจเดิมก็ ยังคงมีอำนาจนั้นอยู่เพียงแต่เป็นลักษณะการกระจายผู้ใช้อำนาจความเห็นได้รับการสนับสนุน จากคณะกรรมการกฤษฎีกา ฝ่ายที่ 2 เห็นว่าเมื่อมอบแล้วเจ้าขอเดิมหมดอำนาจลงทันทีเพราะ ป้องกันการใช้อำนาจซ้อน อำนาจซ้ำ ฝ่ายนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักกฎหมายมหาชนใน ประเทศไทย อย่างไรก็ตามในขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติในเรื่องดังกล่าว
การรักษาราชการแทน อยู่ในหมวด 6 ตั้งแต่มาตราที่ 41 ถึงมาตราที่ 50 เกิดขึ้น ในกรณีที่ไม่มีผู้มาดำรงตำแหน่งและกรณีที่มีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายจึงให้มีผู้รักษา ราชการแทน ซึ่งการรักษาราชการแทนนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายทันที โดยไม่จำเป็นต้องทำ เป็นคำสั่งหรือหนังสือแต่งตั้งอีก และเมื่อมีผู้มาดำรงตำแหน่งแล้วหรือมาปฏิบัติหน้าที่ ได้แล้วการ รักษาราชการแทนสิ้นสุดลง 2
ตัวอย่าง
การปฏิบัติราชการแทนนายกฯ ใช้ในกรณีที่นายกฯ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อยู่ เพียงแต่เพื่อความเหมาะสมจึงมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน อยู่ในวรรคห้า ของมาตรา 60 ได้แก่
มอบอำนาจให้รองนายกฯ การมอบในกรณีนี้ต้องทำเป็นหนังสือไม่ต้องทำ เป็นคำสั่งก็ได้ แต่หากจะทำเป็นคำสั่งก็ใช้ได้เพราะคำสั่งก็เป็นหนังสือเช่นกัน
มอบอำนาจให้ปลัด อบต. หรือรองปลัด อบต. การมอบในกรณีนี้ต้องทำเป็น คำสั่งอย่างเดียวเท่านั้นและต้องประกาศให้ประชาชนทราบด้วย ซึ่งในทาง ปฏิบัติแล้วหากมีรองนายกอยู่ควรมอบให้รองนายกก่อน เว้นแต่ความ เหมาะสมเฉพาะกรณี
ทั้งสองกรณีนี้แม้จะเป็นการมอบอำนาจแต่ผู้รับมอบก็ต้องปฏิบัติตามโดยถือ เสมือนเป็นเช่นคำสั่งภายในจะปฏิเสธไม่รับมอบไม่ได้ และใช้คำว่าปฏิบัติราชการแทน
การรักษาราชการแทน ใช้ในกรณีที่นายกฯไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่ง หมายความรวมถึงไม่อยู่ด้วย อยู่ในวรรคสองของมาตรา 60 ได้แก่
ให้รองนายกฯ รักษาการแทนเป็นลำดับแรก ในกรณีที่มีหลายคนต้องมีคำสั่ง แต่งตั้งผู้รักษาการตามลำดับ
อบต.นั้นซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
และในกรณีไม่มีตำแหน่งรองปลัดให้นายกฯแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลที่ดำรง ตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วนราชการ
ข. ในกรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง(คือมีตำแหน่งแต่ไม่มีคน) ผู้อำนวยการกอง หรือ หัวหน้าส่วนราชการ ให้นายกฯ แต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลในกองหรือส่วนราชการนั้น เป็นผู้รักษา ราชการแทน หรือจะแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลนอกกองหรือสวนนั้นก็ได้ ในกรณีนี้จะแต่งตั้งได้ เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนเท่านั้น
*ข้อสังเกต การรักษาราชการแทนในกรณีผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าส่วน ราชการตามข้อ ข. นั้นแตกต่างจากข้อ ก.การรักษาราชการแทนปลัดฯ คือตามประกาศระบุเฉพาะ กรณีที่มีตำแหน่งแต่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเท่านั้น หากมีผู้ดำรงตำแหน่งแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการ ได้ เห็นว่านายกฯจะแต่งตั้งให้ผู้ใดรักษาการก็ได้ แต่หากจะใช้การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการ แทน ก็ได้เช่นกัน (และการมอบในกรณีนี้อาจเป็นใบลาก็ได้) และตามข้อ ก.และ ข.นั้น ก็มีข้อสังเกต เพิ่มเติมคือ 3
1. ผู้รักษาราชการแทน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
2. ผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบอำนาจหรือ มอบหมาย
และหากโดยตำแหน่งแล้วผู้ซึ่งตนแทน หรือผู้ที่มอบออำนาจหรือมอบหมายเป็น กรรมการใด โดยตำแหน่ง ผู้รักษาราชการแทน และผู้ปฏิบัติราชการแทนก็เป็นกรรมการนั้นด้วย และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันทุกประการไม่ต้องเปลี่ยนคำสั่งแต่งตั้งกรรมการในเรื่องนั้น
*สำหรับ เฉพาะการรักษาราชการแทน นายกฯ อาจแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลอื่น ที่เห็นว่าเหมาะสมแตกต่างจากที่ระบุไว้ข้างต้นก็ได้
การรักษาการ เกิดขึ้นได้ในสองกรณี
1. กรณีที่ตำแหน่งพนักงานส่วนตำบลในตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งปลัด ฯ ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการ ว่างลง
2. หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามข้อ 1. ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ทั้งสองกรณีดังกล่าวข้างต้นหากมิได้มีการกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการแทน และรักษาการแทน นายกฯมีอำนาจสั่งให้พนักงานส่วนตำบลที่เห็นสมควรเป็นผู้ รักษาการ
*หากมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือมีคำสั่งภายในกันไว้อย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์นั้น
ข้อสังเกต ในกรณีมีตำแหน่งแต่ไม่มีผู้มาดำรงตำแหน่งสำหรับพนักงานส่วน ตำบลอื่นตามข้อ 1. ก็ใช้การ รักษาการ
กล่าวโดยสรุปในองค์การบริหารส่วนตำบลแยกพิจารณาออกเป็นสองส่วน
1. ส่วนผู้บริหาร(นายก อบต.ฯ) ใช้อยู่สามกรณีคือ ปฏิบัติราชการแทน ,รักษา ราชการแทน, และปฏิบัติหน้าที่แทน
2. ส่วนพนักงานส่วนตำบลใช้สามกรณีเช่นกันคือ ปฏิบัติราชการแทน, รักษา ราชการแทน,และรักษาการ
และการรักษาราชการในกรณีผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าส่วนราชการนั้น ใช้ใน กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น และใช้ในกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ด้วย หรืออาจใช้การ มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนไว้ล่วงหน้าก็ได้ คือการมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ พนักงานส่วนตำบลในกองหรือส่วนราชการนั้น(ใบลาก็ใช้ได้) 4
การรักษาราชการแทน หมายถึง การให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งหนึ่ง มีอำนาจ หน้าที่และรับผิดชอบ ในตำแหน่งอื่น อีกเป็นการชั่วคราว กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น หรือมี แต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้รักษาราชการแทน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
การปฏิบัติราชการแทน หมายถึง การมอบอำนาจสั่งการ การอนุมัติ การอนุญาต ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้แก่ผู้อื่น เป็นผู้ปฏิบัติงานแทนตน โดยต้องทำเป็นหนังสือ (ลายลักษณ์อักษร)
เมื่อมีการมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ จะมอบต่อให้ผู้อื่นไม่ได้ ยกเว้น มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการ จังหวัด ผู้ว่าฯ จะมอบอำนาจต่อไปให้กับรองผู้ว่าฯ ก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้มอบอำนาจทราบ หากผู้ว่าฯ จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ให้กระทำได้โดยต้องได้รับความ เห็นชอบจาก ผู้มอบอำนาจก่อน
ผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน มีอำนาจหน้าที่ในคณะกรรมการ ต่างๆ เช่นเดียวกับ ผู้ดำรงตำแหน่ง นั้น ๆ ถ้าตำแหน่งใด ๆ ไม่มีบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เช่น ผู้ตรวจราชการ เสมียนตราจังหวัด ปลัดอำเภอ เมื่อไม่มีผู้ดำรง ตำแหน่งนั้น ๆ จะให้มีผู้ทำการแทนจะต้องออกคำสั่ง ให้ข้าราชการพลเรือน เป็นผู้ รักษาการใน ตำแหน่ง
การพิจารณาจัดลำดับอาวุโสในราชการ ตามที่ ก.พ. เคยกำหนดไว้ มีดังนี้
(1) ตำแหน่งเดียวกัน คนมีซีสูงกว่า เป็นผู้มีอาวุโสกว่า
(2) หากระดับเดียวกัน ผู้ใดได้รับแต่งตั้งในระดับนั้นก่อน ถือว่าอาวุโสกว่า
(3) หากได้รับแต่งตั้งในระดับนั้น ๆ พร้อมกัน ให้ผู้มีเงินเดือนมากกว่า เป็นผู้มีอาวุโสสูงกว่า
(4) หากเงินเดือนเท่ากัน ให้ผู้มีอายุราชการมากกว่า เป็นผู้อาวุโสสูงกว่า
(5) หากอายุราชการเท่ากัน ให้พิจารณาจากเครื่องราชฯ
(6) หากเครื่องราชฯ เท่ากัน ให้ดูอายุ ใครแก่กว่า อาวุโสกว่า
มีปัญหาสงสัยคาใจกันมานานกับคำว่า "ปฏิบัติราชการแทน" และคำว่า "รักษา ราชการแทน" ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 และหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ว่าในโอกาสใดจะใช้คำว่า "ปฏิบัติราชการแทน" และในโอกาสใด จะใช้คำว่า "รักษาราชการแทน" ซึ่งปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติราชการอยู่ มิใช่น้อย
คำว่า "ปฏิบัติราชการแทน" หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบอำนาจในการ บริหารราชการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติราชการแทน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการ การอนุญาต การ 5
การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นเรื่องของการกระจายความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้งานของราชการมีความคล่องตัว สามารถให้บริการสนองตอบต่อ ประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และทำให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ผู้อำนวยการสถานศึกษาเห็นว่าตนมีภารกิจที่จะต้องทำอยู่เป็นอันมาก จึงต้องมอบอำนาจให้ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาปฏิบัติราชการแทนในเรื่องบางเรื่อง เช่น การอนุมัติการลา หรือการเบิก เงินสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น
ในการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนดังกล่าว จะต้องทำเป็นหนังสือแสดงการ มอบอำนาจว่าให้ปฏิบัติราชการแทนในเรื่องใด และที่สำคัญแม้ว่าผู้มอบอำนาจจะได้มอบอำนาจ ของตนให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทนแล้วก็ตาม แต่ผู้มอบอำนาจก็ยังคงต้องรับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบ ดูแล และแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจให้เป็นไปโดยถูกต้องอยู่เสมอ มิเช่นนั้นแล้วผู้มอบอำนาจก็ยังคงต้องรับผิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้รับมอบอำนาจให้ ปฏิบัติราชการแทนได้ก่อให้เกิดขึ้น
สำหรับคำว่า "การรักษาราชการแทน" นั้นหมายถึง กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจ ได้มีการแต่งตั้งให้บุคคลใดบุคคล หนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดเข้าไปรักษาราชการแทนในตำแหน่งนั้น เช่น กรณีในสถานศึกษาที่ไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายกำหนดให้รอง ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้รักษาราชการแทน แต่ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือมีแต่ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ก็ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการใน สถานศึกษาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนได้ จะเห็นได้ว่าการเข้าไปรักษาราชการแทน ดังกล่าว เป็นการเข้าไปกระทำการในตำแหน่งแทนผู้ทรงอำนาจในขณะที่ผู้ทรงอำนาจนั้นไม่อยู่ หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งการเข้าไปกระทำการแทนในลักษณะดังกล่าวนั้น ทำให้ผู้ ที่เข้าไปกระทำการแทนมีอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งนั้นเสมือนกับผู้ทรงอำนาจซึ่งตนแทนทุก ประการ มีข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือว่า ในการรักษาราชการแทนดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นไป ตามที่กฎหมายกำหนดหรือได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจให้รักษาราชการแทน จึงจะทำให้ผู้นั้นมี อำนาจเช่นเดียวกันกับผู้ทรงอำนาจที่ตนเข้าไปแทน มิเช่นนั้นแล้วการเข้าไปรักษาราชการแทน ดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นการรักษาประโยชน์ของทางราชการก็ตาม การกระทำนั้นย่อมไม่มีผลผูกพัน ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการ "ปฏิบัติราชการแทน" หรือการ "รักษาราชการแทน" ย่อมล้วนแล้วแต่เป็นการเข้าไปใช้อำนาจของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งการใช้อำนาจ 6
18 มิถุนายน 2557
คณะกรรมการสถานศึกษา กรมบัญชีกลางแจ้งว่า ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม
หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0210.117/11047 ลงวันที่ 24 ต.ค.56 ซึ่งสรุปได้ว่า
1) คณะกรรมการและอนุกรรมการ ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ของเรา มีเพียง 2 คณะ คือ
- “คณะกรรมการส่งเสริมและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด” หมายถึง “คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด”
1) คณะกรรมการและอนุกรรมการ ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม ของเรา มีเพียง 2 คณะ คือ
- “คณะกรรมการส่งเสริมและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด” หมายถึง “คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด”
(เดิม 1,200 เปลี่ยนเป็น 1,600 บาท)
- “คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย” แต่งตั้งโดยคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยส่วนกลาง
- “คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย” แต่งตั้งโดยคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยส่วนกลาง
(เดิม 800เปลี่ยนเป็น 1,000 บาท)
2) สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา กรมบัญชีกลางแจ้งว่า ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม จึงขอให้ชะลอการเบิกจ่ายไปก่อน จนกว่าจะได้รับแจ้งจากกรมบัญชีกลางต่อไป
วันที่ 18 เม.ย. ผมถามกลุ่มงานคลัง ( อ.ปนัดดา ) กับ กป. ( อ.สร้อยทิพย์ ) ได้รับคำตอบว่ายังเบิกจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการสถานศึกษาไม่ได้ ส่งบทบาทหน้าที่ไปให้กรมบัญชีกลางพิจารณาอยู่
2) สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา กรมบัญชีกลางแจ้งว่า ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม จึงขอให้ชะลอการเบิกจ่ายไปก่อน จนกว่าจะได้รับแจ้งจากกรมบัญชีกลางต่อไป
วันที่ 18 เม.ย. ผมถามกลุ่มงานคลัง ( อ.ปนัดดา ) กับ กป. ( อ.สร้อยทิพย์ ) ได้รับคำตอบว่ายังเบิกจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการสถานศึกษาไม่ได้ ส่งบทบาทหน้าที่ไปให้กรมบัญชีกลางพิจารณาอยู่
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๒
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน
พ.ศ. ๒๕๕๒
เพื่อ ให้การดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน มุ่งสร้างโอกาส และให้บริการการเรียนรู้อย่างหลากหลายวิธี สนองตอบความต้องการ และเสนอทางเลือกในการพัฒนาตนเองอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยยึดหลักการชุมชนเป็นรากฐานของการพัฒนา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ?ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๒?
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
บรรดา ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หลักเกณฑ์หรือข้อตกลงอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
?หมู่ บ้าน? หมายความว่า บ้านหลายบ้านที่อยู่รวมกันในท้องถิ่นอันหนึ่งและอยู่ในความปกครองเดียวกัน ถ้ามีจำนวนบ้านน้อยให้ถือเอาจำนวนคนประมาณสองร้อยคนเป็นหนึ่งหมู่บ้านถ้ามี การตั้งบ้านเรือนห่างไกลกันถึงจำนวนจะน้อยถ้าบ้านไม่ต่ำกว่าห้าบ้านจะจัด เป็นหนึ่งหมู่บ้าน
?ตำบล? หมายความว่า ตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น และในกรณีที่ตำบลใดมีพื้นที่อยู่ทั้งในและนอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่นให้หมายความถึงเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วน ท้องถิ่น
?ชุมชน? หมายความว่า หมู่บ้าน หรือชุมชนในเขตเทศบาล หรือกรุงเทพมหานคร
?ศูนย์ การเรียนรู้ชุมชน? หมายความว่า ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ การถ่ายทอด และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิทยาการตลอดจนภูมิปัญญาของชุมชน
?ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล? หมายความว่า ศูนย์การเรียนชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสาน งานกับศูนย์การเรียนชุมชนและหน่วยงานหรือองค์กรหรือกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในตำบล
ข้อ ๔ ศูนย์การเรียนชุมชน จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
(๑) เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต
(๒) เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
(๓) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน
(๔) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และจัดการศึกษาให้กับชุมชนเอง
ข้อ ๕ การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน
ศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขตแล้วแต่กรณี การประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน ให้พิจารณาถึงความพร้อมและความเหมาะสมของสถานที่ การมีส่วนร่วมของประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การคาดประมาณผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งศูนย์การเรียนชุมชนนั้นตั้งอยู่
ในตำบลหนึ่ง ๆ อาจจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนได้มากกว่าหนึ่งแห่ง ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงพื้นที่การให้บริการที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน
ศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขตคัดเลือกศูนย์การเรียน ชุมชนหนึ่งแห่ง โดยความเห็นชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยในตำบล
การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขต จัดทำเป็นประกาศของสถานศึกษา ส่วนการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลให้จัดทำเป็นประกาศของจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงนามในประกาศจัดตั้ง
ข้อ ๖ การยุบเลิกศูนย์การเรียนชุมชน
(๑) ศูนย์การเรียนชุมชน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนโดยจัดทำเป็นประกาศของสถานศึกษา
(๒) ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล โดยจัดทำเป็นประกาศของจังหวัด
ข้อ ๗ ศูนย์การเรียนชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนี้
(๑) ส่งเสริมและจัดการศึกษาพื้นฐาน
(๒) ส่งเสริมและจัดการศึกษาต่อเนื่อง
(๓) ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
(๔) ส่งเสริมกิจกรรม และกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
ข้อ ๘ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขตแล้วแต่กรณีต้อง จัดให้มีครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนเพื่อปฏิบัติงานประจำหนึ่งคน
ข้อ ๙ ศูนย์การเรียนชุมชนต้องจัดให้มีคณะกรรมการ ดังนี้
(๑) ศูนย์การเรียนชุมชน ประกอบด้วยผู้แทนในชุมชนนั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน โดยให้เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
(๒) ศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ประกอบด้วยผู้แทนในชุมชนนั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน โดยให้เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และมีครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ
วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการตามข้อ ๙ (๑) และ (๒) คราวละสี่ปี นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชน ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แต่งตั้ง
คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง
ข้อ ๑๐ คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแผนการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน
(๒) จัดประชาสัมพันธ์งานศูนย์การเรียนชุมชน
(๓) จัดหาวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์พื้นฐานให้กับศูนย์การเรียนชุมชน
(๔) บริหารและจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน
(๕) กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลมีหน้าที่ตามข้อ ๑๐ และยังมีหน้าที่เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
(๑) ประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับศูนย์การเรียนชุมชนแห่งอื่น ๆ ในตำบล
(๒) ประสานกับส่วนราชการในตำบลและเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
(๓) ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อนำแผนชุมชนในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาปฏิบัติ
ข้อ ๑๒ ศูนย์การเรียนชุมชนต้องมีอาคาร สถานที่ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับชุมชน
ข้อ ๑๓ ศูนย์การเรียนชุมชนจัดให้มีสื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่จำเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ข้อ ๑๔ เกณฑ์มาตรฐาน การพัฒนา การประเมินมาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน ให้เป็นไปตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
ข้อ ๑๕ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหรือเขตอาจจัดตั้งศูนย์ การเรียนชุมชนขึ้นในสถานประกอบการ ศาสนสถาน หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ตลอดจนบ้านของภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกก็ได้ ทั้งนี้ โดยใช้หลักเกณฑ์การดำเนินงานตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด
การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด
การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด มีความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องให้ความร่วมมือในการเข้ารับการประเมิน เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ที่ ต้นสังกัดจะต้องติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี ซึ่งสำนักงาน กศน.ได้พัฒนาระบบ วิธีการและขั้นตอนการประเมินขึ้น เริ่มดำเนินการประเมินเป็นปีแรก ในปีงบประมาณ 2554 การประเมินที่ผ่านมามีข้อค้นพบจากการวิจัย เรื่อง
แนวทางการนำรูปแบบการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยต้นสังกัด
ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาสำนักงาน กศน.จังหวัด และศูนย์ กศน.อำเภอ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าสถานศึกษาที่รับการประเมินต้องการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการ ขั้นตอนการประเมิน เพื่อจะได้เตรียมการรองรับการประเมินได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับการประเมินของคณะกรรมการประเมิน และเพื่อให้บรรลุ
ตามเจตนารมณ์ดังกล่าว โดยการให้การอบรมหรือจัดทำเป็นเอกสารแนวทางเพื่อเตรียมความพร้อม
ของตนเองในการรับการประเมินโดยต้นสังกัด และจากการประชุมเสนอผลการวิจัย ระหว่างวันที่
12 – 13 กรกฎาคม 2554 ณ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้
ที่ประชุมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โดยส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรมีการพัฒนาบุคลากรสถานศึกษาที่รับการประเมิน โดยจัดทำเอกสารแนวทางการ
รับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด เพื่อให้บุคลากรสถานศึกษาได้ศึกษาและนำไป
เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินโดยต้นสังกัด ดังนั้น สำนักงาน กศน.
จึงได้จัดทำเอกสารแนวทางการรับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด ขึ้น
หวังว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นแนวทางให้แก่ผู้ปฏิบัติงานของสถานศึกษา กศน.อำเภอ
ได้ศึกษา ด้วยตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงความเป็นมา วิธีการขั้นตอนการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด และสามารถดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน นัดหมาย ผู้เกี่ยวข้อง ประสานงานกับผู้จัดกิจกรรมในพื้นที่ และดำเนินการต่าง ๆเพื่อให้การประเมินคุณภาพสถานศึกษา
โดยต้นสังกัด ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ในการนี้ สำนักงาน กศน. ขอขอบคุณ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์) ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักวิชาการศึกษาที่เข้าร่วมประชุม พิจารณาตรวจสอบ ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปรับแก้ไขร่างแนวทางการรับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด สำหรับสถานศึกษา
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พ.ศ. ๒๕๕๑
โดย ที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน ในชุมชนเอง โดยเฉพาะการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ในระเบียบนี้ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หมายความว่า บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและสมัครใจทำงานเพื่อสังคมในด้านการศึกษา โดยไม่รับค่าตอบแทนในหมวดเงินเดือนและได้รับการฝึกอบรมก่อนได้รับการแต่ง ตั้งให้เป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ศูนย์การเรียนชุมชน หมายความว่า สถานที่ ที่ชุมชนกำหนดหรือร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของชุมชน ซึ่งจัดขึ้นตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
?สถานศึกษา? หมายความว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต
ข้อ ๓ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรียกชื่อโดยย่อว่า อาสาสมัคร กศน. มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Non-Formal and Informal Education Volunteer และเรียกชื่อโดยย่อว่า NIEV
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การดำเนินงานของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของแต่ละจังหวัด
(๒) ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการบริหารจัดการและการพัฒนาอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย
(๓) ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย ตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพ มหานครเสนอ
(๔) เพิกถอนการเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรณีในข้อ ๑๑ (๔)
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อ ๕ ผู้ที่เป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๒) เป็นผู้ที่สมัครใจและเสียสละเพื่อช่วยเหลืองานการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน
(๓) เป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในหมู่บ้านหรือชุมชน
(๔) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและสามารถอ่านออก เขียนได้
(๕) เป็นบุคคลที่กรรมการหมู่บ้านหรือประชาชนรับรองว่าเป็นผู้ที่มีความประพฤติ อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี ได้รับความไว้วางใจและยกย่องจากประชาชน
ข้อ ๖ ในกรณีที่คุณสมบัติไม่ครบตามนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีโดยยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก
ข้อ ๗ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร อาจเสนอผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกิตติมศักดิ์ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีก็ได้
ข้อ ๘ การกำหนดจำนวนอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กำหนดจากจำนวนหลังคาเรือนในชุมชนจำนวนไม่เกินห้าสิบหลังคาเรือน มีอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหนึ่งคน ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา แล้วรายงานให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัด หรือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีทราบ
ข้อ ๙ วิธีการสรรหา คัดเลือก อบรมและแต่งตั้ง ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้สถานศึกษา ร่วมกับชุมชนดำเนินการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๕ เพื่อเข้ารับการอบรมและแต่งตั้งเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย
(๒) ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและสำนัก งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จัดให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ ๙ (๑) เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด**
(๓) ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและสำนัก งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ผ่านการอบรมเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และออกบัตรประจำตัวให้ตามแบบที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย กำหนด
ข้อ ๑๐ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละสามปี
ข้อ ๑๑ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สิ้นสุดสภาพเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้
(๔) มีความประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีเห็นว่าทำความเสื่อมเสียต่อเกียรติของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ข้อ ๑๒ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีดังนี้
(๑) เสนอความต้องการในการเรียนรู้ของประชาชน โดยประสานงานกับครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน
(๒) ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ของประชาชน
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
(๔) ร่วมกับครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนในการติดตามผลและดูแลการจัดกิจกรรมการศึกษาในชุมชน
(๕) ส่งเสริมสนับสนุน การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของประชาชนในชุมชน
ข้อ ๑๓ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อาจได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ ตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
ข้อ ๑๔ สิทธิประโยชน์ที่อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจะได้รับมีดังนี้
(๑) สิทธิที่จะได้รับการบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามประกาศ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(๒) สิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามที่กระทรวงการคลัง กำหนด
(๓) สิทธิที่จะได้รับเกียรติคุณและรางวัล ตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
(๔) สิทธิที่จะได้รับการศึกษา อบรม พัฒนาที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดโดยเบิกค่าใช้จ่ายได้ ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้
ข้อ ๑๕ อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต สามัคคี รักษามาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีความเสียสละ และใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่เสมอ
ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
และ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จัดทำรายงานการฏิบัติงานของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณีเป็นประจำทุกปีงบประมาณ
ข้อ ๑๗ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ศรีเมือง เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงิน หลักสูตรระยะสั้น (การศึกษาต่อเนื่อง)
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงิน หลักสูตรระยะสั้น (การศึกษาต่อเนื่อง)
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนหลักสูตรระยะสั้น ให้กับข้าราชการ ลูกจ้างสำนักงาน กศน. นอกเวลาราชการ และ ข้าราชการลูกจ้าง สังกัด อื่นๆ (ประกาศ 11 ม.ค.54 นายเฉลี่ยว สีมารักษ์)
1.ผู้เรียนต่ำกว่า 6 คน ชั่วโมงละไม่เกิน 50 บาท
2.ผู้เรียนต่ำกว่า 6-10 คน ชั่วโมงละไม่เกิน 100 บาท
3.ผู้เรียน 11 คน ขึ้นไป ชั่วโมงละไม่เกิน 200 บาท
หลักเกณฑ์ค่าเหมาจ่ายในการบริหารจัดการเรียนการสอนนอกโรงเรียนของพัธมิตร/ภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน หลักสูตรระยะสั้น
1.เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวจากเดิมชั่วโมงละ 7 บาท เป็น 10 บาท
2.ปรับหลักสูตรจากเดิมไม่เกิน 100 ชั่วโมง เป็นตั้งแต่ 30-100 ชั่วโมง
3.การโอนเงินจากเดิมให้โอนครั้งเดียว เปลี่ยนเป็นโอน 2 งวด คือ
3.1 งวดที่ 1 ให้จ่ายเมื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนไปแล้ว 50% ของหลักสูตร
3.2 งวดที่ 2 ให้จ่ายเมื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนจบหลกสูตรอีก 50%
หลักเกณฑ์ค่าสมนาคุณให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความรู้ในแหล่งประกอบการเป็นเวลา ครั้งละไม่เกิน 3 ชั่วโมง ในอัตราครั้งละไม่เกิน 1500 บาท
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนหลักสูตรระยะสั้น ให้กับข้าราชการ ลูกจ้างสำนักงาน กศน. นอกเวลาราชการ และ ข้าราชการลูกจ้าง สังกัด อื่นๆ (ประกาศ 11 ม.ค.54 นายเฉลี่ยว สีมารักษ์)
1.ผู้เรียนต่ำกว่า 6 คน ชั่วโมงละไม่เกิน 50 บาท
2.ผู้เรียนต่ำกว่า 6-10 คน ชั่วโมงละไม่เกิน 100 บาท
3.ผู้เรียน 11 คน ขึ้นไป ชั่วโมงละไม่เกิน 200 บาท
หลักเกณฑ์ค่าเหมาจ่ายในการบริหารจัดการเรียนการสอนนอกโรงเรียนของพัธมิตร/ภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน หลักสูตรระยะสั้น
1.เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวจากเดิมชั่วโมงละ 7 บาท เป็น 10 บาท
2.ปรับหลักสูตรจากเดิมไม่เกิน 100 ชั่วโมง เป็นตั้งแต่ 30-100 ชั่วโมง
3.การโอนเงินจากเดิมให้โอนครั้งเดียว เปลี่ยนเป็นโอน 2 งวด คือ
3.1 งวดที่ 1 ให้จ่ายเมื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนไปแล้ว 50% ของหลักสูตร
3.2 งวดที่ 2 ให้จ่ายเมื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนจบหลกสูตรอีก 50%
หลักเกณฑ์ค่าสมนาคุณให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความรู้ในแหล่งประกอบการเป็นเวลา ครั้งละไม่เกิน 3 ชั่วโมง ในอัตราครั้งละไม่เกิน 1500 บาท
- ค่าสาธารณูปโภคได้เท่าที่จ่ายจริงโดยใช้หลักฐานการจ่ายเป็นหลักฐานประกอบในการเบิก
- ค่าวัสดุ อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการในการพิจารณาเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด เพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่ต้องข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง
- ค่าวัสดุ อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการในการพิจารณาเบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด เพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่ต้องข้อตกลงกับกระทรวงการคลัง
17 มิถุนายน 2557
ซักซ้อมความเข้าใจในการงดรับนักเรียนในระบบโรงเรียนเข้าเรียนในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน และนักศึกษาที่จบหลักสูตรแล้วมาขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาใหม่
นักศึกษาเรียนจบ ม.ปลาย ไปแล้ว ไม่สามารถลงเรียนใหม่ได้
"ถ้าสถานศึกษาใดมิได้ปฏิบัติ หากมีความผิดพลาดใด ๆ เกิดขึ้น ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติจะต้องรับผิดชอบ และถือเป็นความบกพร่องในการปฏิบัติงาน"
16 มิถุนายน 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
การจัดตั้งกลุ่มที่ 2
หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 0210.03/14360 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 - จัดตั้งกลุ่มที่ 2 ขออนุญาตมาสำนักงานส่งเสริมการเรียนร...